Ralph Wanger อดีตผู้จัดการกองทุน Acorn Fund เป็นผู้จัดการกองทุนคนแรกที่ได้รับรางวัล Fund Manager Lifetime Achievement Award โดย Morning Stars และหนึ่งในห้าของ Fund Manager of the decade (90’s) โดย USA Today แนวการลงทุนหลักของเขาคือ หุ้นเติบโตขนาดเล็ก
Ralph เปรียบปรัชญาการลงทุนของเขาเหมือนตัวเขาเป็นม้าลาย ถ้าหากเราไปรุมกันแย่งกินหญ้าในทุ่งหญ้าเขียวขจีแต่ม้าลายทุกตัวไหนฝูงก็แย่งกันกินหญ้าในทุ่งเดียวกันเพราะเห็นว่ามันเป็นทุ่งที่เขียวที่สุด เราย่อมต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากม้าลายตัวอื่นๆ ที่อาจจะฉลาดกว่าเรา ฉะนั้น ทางที่ดีกว่าคือ การออกไปหาหญ้ากินในทุ่งอื่น ที่แม้ว่าจะเสี่ยงกว่า เพราะยืนอยู่ตัวเดียว อาจทำให้เป็นที่สังเกตโดยสิงโตได้ง่าย แต่โอกาสที่เราจะได้หญ้าที่ดี เพราะการแข่งขันในตลาดมีน้อยนั้นจะมีสูงกว่าด้วย และทุ่งหญ้าที่ว่านั้นก็คือ small-cap stocks เขาเป็นผู้จัดการกองทุนคนแรกๆ ที่เน้นการลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ซึ่งกองทุนและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เพิกเฉย
Ralph เน้นการขุดหาโอกาสดีๆ ในหุ้นตัวเล็ก เขามองว่าหุ้นตัวเล็กมีโอกาสเติบโตที่ดีกว่าเนื่องจาก
[list style=”1″ underline=”1″]
- มันยังมี room to grow ในตลาดเหลือเยอะกว่า
- หุ้นตัวเล็กยังมีข้อดีคือการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า
- หุ้นตัวเล็กมักมีธุรกิจแค่ไม่กี่อย่างทำให้โฟกัสกว่า และวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า
- มีบทวิจัยมากมายที่พบว่า หุ้นตัวเล็ก ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ต่อให้คิดถึงผลของความเสี่ยงแล้ว
- หุ้นตัวเล็กมีโอกาสสูงกว่าที่จะถูก Acquire
- หุ้นตัวเล็กมีโอกาสสูงกว่าที่นักลงทุนสถาบันจะเข้ามาถือหุ้นจำนวนมากขึ้นในอนาคต[/list]
Ralph มองว่าแหล่งของโอกาสสำหรับธุรกิจนั้นอยู่ที่[list style=”1″ underline=”1″]
- long-term trends เขาเริ่มสแกนหาหุ้นจากการมองเทรนด์ในระยะยาวของผู้บริโภคก่อน
- change เมื่อใดก็ตามที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขึ้นในอุตสาหกรรม มักมีโอกาสทองซ่อนอยู่[/list]
ในเวลาเดียวกัน เขาบอกว่า ในเมื่อเราเลือกมาอยู่ในทุ่งที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เราต้องรู้จักให้ความสำคัญกับการลิมิตความเสี่ยงให้ตัวเองด้วย ไม่ใช่อยู่ในที่เสี่ยงมากกว่าคนอื่นแล้ว ยังเสี่ยงมากขึ้นอีก วิธีลิมิตของความเสี่ยงของ Ralph คือ[list style=”1″ underline=”1″]
- Focus เพราะ ความเสี่ยงสำคัญของหุ้นตัวเล็กคือการมองหุ้นผิดพลาด พยายามเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดเพียงไม่กี่ตัวดีกว่าลงทุนสะเปะสะปะไปหมด อย่างไรก็ตามต้องมีหุ้นในพอร์ตอย่างน้อย 12 ตัว
- ลงทุนในบริษัทที่มีฐานะการเงินที่แข็งแรง (Strong balance sheet)
- ไม่ลงทุนในบริษัทที่ยังมีประวัติที่น้อยเกินไป เช่น หุ้น IPO หรือ Startups เป็นนักลงทุนที่อนุรักษ์นิยมในหมวดหุ้นตัวเล็ก
- อย่าซื้อหุ้นที่แพงมากๆ[/list]
หุ้นที่จะผ่านตะแกรงร่อนหุ้นของ Ralph ได้มี 3 ด่าน[list style=”1″ underline=”1″]
- ด่านแรกคือ Growth Prospect คือ ธุรกิจต้องไปกันได้กับแนวโน้มผู้บริโภคในระยะยาว ไม่ใช่ธุรกิจของอดีต สินค้าของบริษัทต้องดีกว่าคู่แข่่ง และมีความสามารถในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าสินค้ามี niche market ที่คู่แข่งเข้าไปไม่ได้ด้วยจะยิ่งเป็นจุดแข็งของธุรกิจ
- ด่านที่สองคือ Financial Strengths บริษัทต้องมีฐานะการเงินที่แข็งแรง เขาไม่ชอบหุ้นที่มีหนี้สูงผิดปกติ กำไรควรจะมีคุณภาพกล่าวคือกำไรเงินสดต้องแข็งแรงด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนต้องเพิ่มในสัดส่วนที่ไม่มากกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น
- ด่านที่สามคือ Fundamental Value ราคาหุ้นต้องยังไม่แพงโดยดูจาก ratio หลายๆ ตัวประกอบกัน เช่น P/E, P/CF, PEG ไม่ใช่ตัดสินจากเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแค่เกณฑ์เดียว ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงจุดด้อยของ ratio แต่ละตัวด้วย เช่น ถ้า P/E สูง ก็ต้องดูว่า เป็นเพราะมีรายได้พิเศษรึเปล่า หรือในภาวะดอกเบี้ยต่ำก็ต้องเข้าใจว่า P/E ที่เหมาะสมอาจจะสูงกว่าปกติได้ ไม่ใช่มองแค่ตัวเลขตัวเดียวตรงๆ[/list]
Ralph บอกว่า เวลาบริหารพอร์ตหุ้นตัวเล็กให้ยึดนโยบาย ถือให้ยาวที่สุดเอาไว้ก่อน ถ้าจะขายหุ้นก็ต่อเมื่อหุ้นนั้นไม่มีเหตุที่ทำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นเหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การจะคิดว่าจะขายหุ้นหรือไม่ทุกครั้งจะต้อง evaluate ใหม่เสมอ ราวกับว่าเราไม่มีหุ้นตัวนั้น ว่ามันเป็นหุ้นที่น่าซื้อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม พยายามบอกตัวเองให้ let profit run เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากการขายหุ้นเติบโตเร็วเกินไป
Ralph เค้าให้เหตุผลเรื่อง ต้องถือ “อย่างน้อย” 12 ตัวหรือเปล่าครับ ?
ป.ล. ส่วนตัวผมจะเป็นเกณฑ์ “อย่างมาก” คือ อย่างมาก 10 ตัว (เพราะ CIMB .ให้ออมเต็มที่ 10 ตัว อิอิ)
ค้นดูไม่เห็นเหตุผลที่เฉพาะเจาะจงนอกจากการกระจายความเสี่ยงให้เพียงพอครับ
Hello colleagues, fastidious article and fastidious urging commented
here, I am genuinely enjoying by these.
Stop by my weblog … Ralph