[W:Jim Simons] คือเจ้าของ [W:Renaisance Technologies] เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน (Equity Category) (สินทรัพย์ $35 billions)
กองทุน Medallion ที่ Simons บริหารเป็นเฮ็ดจ์ฟันด์จำพวก Quantitative กล่าวคือ อาศัยโมเดลทางคณิตศาสตร์ในการเทรดล้วนๆ แทนที่จะอาศัยการวิเคราะห์ข่าวหรือปัจจัยพื้นฐาน ทุกอย่างจะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งพยายามค้นหาช่องว่างในการทำกำไรจากหลักทรัพย์อะไรก็ได้ที่หาได้จากทุกตลาดที่มี correlation ที่ต่างกัน โดยโมเดลและธุรกรรมทั้งหมดจะถูกปกปิดเป็นความลับสุดยอด เพื่อป้องกันมิให้มีคนเลียนแบบ (ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทำกำไรหายไป)
ผลตอบแทนเฉลี่ยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาของกองทุนคือ 38.5% ต่อปี แต่เดิม Simons รับจ้างบริหารเงินให้กับคนอื่น (ค่าบริหาร 5% ต่อปี บวก profit-sharing 36% ของกำไร) แต่ได้ปิดรับเงินใหม่ไปตั้งแต่ปี 1993 และสามารถทยอยคืนเงินลูกค้าเก่าจนหมดได้ในอีก 12 ปีต่อมา ปัจจุบัน สินทรัพย์ทั้งหมดของกองทุนจึงเป็นเงินของ Simons และทีมงานเองล้วนๆ ไปแล้ว
Simons จบ ป.ตรี ด้านคณิตศาสตร์จาก MIT ที่นั่นเขามีความสุขมากกับไขปัญหาคณิตศาสตร์กับเพื่อนๆ อย่างจริงจังในช่วงกลางวัน และเป็นนักโป๊กเกอร์ตัวฉกาจในตอนกลางคืน หลังจากนั้นเขาก็ไปทำปริญญาเอกที่ Berkeley และแต่งงานกับภรรยาคนแรก เขาเอาเงินที่ได้จากงานแต่งงานไปลองเทรดอนุพันธ์ของถั่วเหลืองเป็นครั้งแรก และทำกำไรได้เป็นเท่าตัวภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน ก่อนที่จะกลายเป็นขาดทุนในอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นอาจารย์ที่ Harvard และมีโอกาสได้ทำธุรกิจโรงงานกระเบื้องพื้นร่วมกัับบิดาและเพื่อนๆ อีกสองคน ซึ่งทำให้เขาเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็ได้งานที่ Institute for Defense Analyses ของเพนตากอน ทำหน้าที่เป็นนักคณิตศาสตร์ด้านการไขรหัสลับ จากนั้นก็กลับไปเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์อีกครั้งที่ Stony Brook University ที่นี่ เขากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการในฐานะนักคณิตศาสตร์ที่คิดค้น Chen-Simons Model ซึ่งนักฟิสิกส์ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา [W:String Theory] ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น Simons เริ่มเบื่อวงการวิชาการ จึงได้ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งเฮ็ดฟันด์ที่พยายามหากำไรในตลาดคอมโมและอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นมาโดยใช้เงินเก็บที่ได้มาจากธุรกิจโรงงานราว $600k แต่ดูเหมือนการใช้โมเดลเทรดจะหากำไรได้ยากมาก ในขณะที่การอาศัยปัจจัยพื้นฐานกลับทำเงินได้มากกว่า สุดท้ายแล้วกองทุนจึงเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก และสามารถทำกำไรได้ถึง 10 เท่าตัว ในช่วงเวลานี้ เขาได้แต่งงานอีกเป็นครั้งที่สองกับภรรยาคนปัจจุบัน
Simons ยังไม่ละความคิดเรื่องการใช้โมเดลคณิตศาสตร์ในการหากำไร เพราะสิ่งที่เขารักมากที่สุดคือคณิตศาสตร์ ในที่สุดก็ได้ก่อตั้ง Medallion Fund ขึ้นมาใหม่กับเพื่อนนักคณิตศาสตร์คนหนึ่งของเขา ซึ่งภายหลังเพื่อนของเขาได้เลิกลาไปเพราะเบื่อหน่ายโลกการเงินที่มีแต่การหาเงิน เพราะยังไงเสียเพื่อนของเขาก็ยังชอบ pure math มากกว่า
Simons ยังคงบริหาร Medallion ต่อไป โดยปรับปรุงโมเดลให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันเขามีเพื่อนร่วมงานถึง 148 คน ซึ่งหนึ่งในสามจบปริญญาเอก ถือได้ว่า Simons เป็น [W:Quant] ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลก และทำให้แนวทางนี้กลายมาเป็นแนวทางที่ทำกำไรได้มากที่สุดในตลาดในปัจจุบันด้วย
ไม่รู้สิครับ ผมว่าประวัติของคุณคนนี้ ทำเป็นหนังฮอลลีวู้ดได้สบายๆ …
“ทำให้แนวทางนี้กลายมาเป็นแนวทางที่ทำกำไรได้มากที่สุดในตลาดในปัจจุบันด้วย”
จริงหรือครับ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หละครับ
ผลตอบแทนเฉลี่ย 20 ปีของ Simons คือสิ่งที่ prove อยู่แล้วครับ
สุดยอดครับ
โครตเทพ
เค้าเก่งมากๆที่สามารถสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ให้เป็นโมเดลที่สามารถทำเงินได้มากขนาดนี้ช
“อาศัยโมเดลทางคณิตศาสตร์ในการเทรดล้วนๆ” คือไม่อาศัยบัญชีหรือพื้นฐานอื่นๆเลย อย่างนี้ก็คือ technical ดีๆนี้เองหรือเปล่าครับ?
ไม่ใช่เทคนิคคัลครับ
quant เป็นพวก hedging strategy เป็น system trade จำพวกหนึ่ง
ผลตอบแทน 38.5 % ต่อปี นี่สูงกว่า บัฟเฟต์อีกนะครับ ถึงระยะเวลาในการลงทุน 20 ปี จะยังน้อยกว่าระยะเวลาที่บัฟเฟต์ลงทุนก็เถอาะ
สุดยอดอัจฉริยะ
เทพจริงๆ
เพราะไม่ใส่ถุงเท้าเหมือน เทพ โพธิ์งาม
มันมีสอนที่ไหนครับเนี่ย Quantitative analyst
excellent results indeed!! จริงๆหลังจากผมอ่านหนังสือแนวการลงทุนในหุ้นมาประมาณ 3-4 เดือนทำให้ผมไม่เชื่อว่าจะมี mathematical model ไหนเลยที่จะ beat the street ได้ แต่นายคนนี้กลับทำมาแล้ว 20 ปี ซึ่งน่าจะพิสูจน์ว่ามันใช้ได้จริง ผมเองก็เป็นวิศวกร ชอบ maths มากก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาจะใช้วิธีพวก probabilistic model หรือ random walk อะไรพวกนั้นหรือป่าว และเป็นการ model based on fundamental factors ด้วย คุณสุมาอี้คิดว่าไงครับ
ผมไม่ทราบรายละเอียดของวิธีการเท่าไรนัก แต่พอจะทราบว่าเขาซื้อหลักทรัพย์ของหลายๆ ตลาดผูกกันโดยพิจารณาจาก correlation ของราคา เมื่อได้พอร์ตของหลักทรัพย์ที่มี correlation ที่หักล้างกันมากๆ เพื่อให้เกิดผลตอบแทนสุทธิที่เป็นค่าบวกน้อยๆ แต่โอกาสมี big loss แทบไมมีเลย จากนั้นก็ใช้ leverage ทวีคูณผลตอบแทนที่เป็นบวกนั้น
ประมาณนี้นะครับ แต่รายละเอียดจริงๆ ซับซ้อนกว่านี้มาก ต้องใช้ทีมโปรแกรมเมอร์พัฒนาระบบเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อปิดความเสี่ยงทุกอย่าง
มีคนเคยตามรายงานซื้อขายชองเขาในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พบว่ากเป็นหุ้นบิ๊กแคบจำนวนหนึ่ง ซึ่งดูไม่แปลกอะไร เพราะเขาเลือกเทรดหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงๆ เป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงเรื่อง liquidity risk โดยที่ไม่ต้องสนใจเลยว่าหลักทรัพย์เหล่านั้นมีพื้นฐานเป็นอย่างไร
น่าสนใจดีครับ แต่ผมขอใช้แนวที่เราจะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าก็แล้วกันครับ คือแนวพื้นฐานและแนว growth ดีกว่า เชื่อเหตุและผลของคุณสุมาอี้เพราะว่า logic ในการอธิบายดีและเข้าใจง่ายครับ
เจ้าพ่อคณิตศาสตร์ในวงการหุ้นคนแรก ๆน่าจะเป็น Edward Thorp ตำนานแห่งวงการ blackjack
ผลตอบแทนทบต้นประมาณ 20% ต่อปีในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีของเขา ถือว่ายอดทีเดียว เอามาทำ
หนังฮอลีวูดได้เหมือนกันนะเนี่ย ^^
Jim Simons นี่ มีหลายๆค่าย ไม่ค่อยเชื่้อถือ Return ของแกเท่าไหร่นะครับ
ผมอ่านใน SeekingAlpha มีนักลงทุน มา comment ว่า กองทุนของแกคือ RIEF ขาดทุน ในช่วงเวลาเดียวกัน Medallion Fund ที่ว่าทำกำไรได้ต่อเนื่องและยาวนาน และตัวโฆษณาของแก แต่ว่า Medallion Fund ไม่เปิดให้คนใหม่ๆลงทุนแล้ว แต่ RIEF เปิด อยู่ รวมทั้งมี Charge ของ SEC กับกองทุนแกด้วยในเรื่องของ Trading Practices
http://seekingalpha.com/article/244313-best-hedge-funds-jim-simons-medallion-fund
http://www.xamplifysucks.com/james-simons.html
ผลตอบแทน 38.5% ต่อปี คือผลตอบแทนของ Medallon Fund ระหว่างปี 1989-2006, net of fee ตัวเลขแบบนี้คงพูดลอยๆ ไม่ได้นะครับ http://phy.ntnu.edu.tw/~linfengli/articles/COVER.pdf
link ที่แปะมาเขียนว่า Simons ไม่ได้เกี่ยวข้องได้กับคดีนี้มิใช่หรือครับหรือว่าผมอ่านผิดไป
มันเป็น link ประมาณว่า เสียดสีนะครับ แล้วเว็บนั้นก็เป็นเว็บ Exposed พวกนี้ อยู่แล้ว
มีคุยเรื่องของ Jim Simons ที่อีกเว็บบอร์ดหมือนกัน ซึ่งเป็นที่คุยกันของพวก Fund Manger และนักลงทุน Canada ที่คุยกันก็เหมือนที่ SeekingAlpha พูดคือ กองทุนอื่นของ Jim มีผลประกอบการไม่ขนาด Medallion Fund และ Former Employee ก็รายการว่า System ที่เขียน กองทุน ใช้ “Advantage of Information ”
http://cornerofberkshireandfairfax.ca/forum/index.php?topic=2753.150
จริงๆแล้ว การที่มีคนมา Question ผลประกอบการของ Medallion Fund ก็ไม่แปลกอะไร เพราะผลตอบแทนนั้นดีมาก ก็เลยเกิดคำถามว่าทำได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งถูกจริงไม่ถูกจริงก็อีกเรื่องแต่โดนตั้งคำถามไปก่อนแล้ว ยิ่งมีกรณีของ Madoff ซึ่งเมื่อก่อน คนก็เชื่อถือ Madoff มากเหมือนกัน ขนาดของกองทุนที่บริหารก็ใหญ่โต แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นโดนเปิดโปงว่าเป็น Fraud ไปซะได้ครับ
Simons เป็นคนระดับที่ฟอร์บส์สำรวจให้เป็นมหาเศรษฐีติดอันดับโลกแล้วนี่ ไม่น่าจะสามารถคุยโวผลตอบแทนได้ง่ายๆ ถ้าเป็นแค่ระดับเซียนหุ้นบ้านเราก็อาจเป็นไปได้นะครับ ถ้าหากจะคิดว่า Simons อาจเป็นโจรแบบ Madoff ก็คิดได้ครับ เว็บซุบซิบนินทาแบบที่ไม่มีมูลก็มีอยู่มากมาย แต่โอกาสที่จะเป็นแบบนั้นอีกก็คงมี แต่ว่ามันน้อยมากนะครับ
เมื่อก่อนผมทำใจยอมรับได้ยากว่า ในโลกนี้มีคนที่สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าบัฟเฟตอยู่ด้วย แต่สุดท้ายแล้วผมก็คิดว่า คงต้องยึดตามข้อมูลเป็นหลักครับ
ผมว่าถ้าดูผลตอบแทนของกองทุนที่เป็น quantitative ทั้งหมดโดยรวม การลงทุนแนวทางนี้ไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ทำกำไรมากที่สุดในตลาดปัจจุบันหรือเปล่าครับ
คือผมไปหาข้อมูล ใช่คนเดียวกับที่ชื่อ James Simons ปะครับ?
แล้วผมอยากให้พี่นรินทร์หาข้อมูลของ Tepper กับ John Poulson ให้หน่อยอ่ะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับพี่ 🙂
@Impulse
ใช่ครับ