กระทาชายนายหนึ่ง มีเงินที่ตั้งใจจะลงทุนใน TDEX ตั้งแต่ตอนต้นปี ปีละ 120, 000 บาท เป็นประจำทุกปี
เขาเกิดความสงสัยว่า ที่จริงแล้วเขาควรจะซื้ออย่างไรถึงจะดีที่สุด เป็นต้นว่า เขาควรจะซื้อทันที 120, 000 บาททั้งหมดตั้งแต่ต้นปีเลยทุกปี หรือว่าเขาควรจะทยอยซื้อเฉลี่ยเดือนละ 10, 000 บาททุกเดือนตลอดปี หรือว่าเขาควรจะรอให้ TDEX ย่อลงมา 10% จากต้นปีก่อน แล้วค่อยลงทุนรวดเดียว 120, 000 บาท แต่ถ้าหากตลอดทั้งปีตลาดไม่ได้ลงมาถึง 10% ก็ค่อยซื้อรวดเดียว 120, 000 บาท ตอนสิ้นปีเสมอ ไม่ว่าตอนสิ้นปีราคาจะเป็นเท่าไร ไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว วิธีไหนให้ผลดีที่สุดในระยะยาว
เรื่องนี้นับว่าเป็น Dilemma หนึ่ง ที่นักลงทุนเจอตลอดเวลามีเงินก้อนจะลงทุน เรามักลังเลว่า ควรจะซื้อไปทันทีเลย หรือควรจะรอให้มันย่อลงก่อน หรือควรจะซื้อเฉลี่ย ถ้าหากใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า แบบไหนคือ optimal strategy ที่ทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงสุดในระยะยาวก็คงจะดีไม่น้อย
ที่จริงผมก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะพิสูจน์ optimal strategy นี้ได้อย่างไร ตอนแรกคิดว่าทั้งสามวิธีน่าจะดีเท่ากัน แต่ตอนนี้คิดว่าอาจจะไม่ใช่ และถ้าหากใช้คณิตศาสตร์พิสูจน์ได้ก็น่าจะซับซ้อนมากทีเดียว เพราะมี probability distribution มาเกี่ยวข้อง สมการคงยุ่งพอๆ กับ Black-Scholes เลยทีเดียว
ผมคิดไปถึงอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า [W:Monte Carlo Simulation] วิธีนี้ไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูง แต่ใช้การสร้างแบบจำลองตลาดหุ้นขึ้นมาแล้วใช้คอมพิวเตอร์ลุยทดสอบกลยุทธ์การลงทุนเป็นหมื่นๆ ครั้ง แล้ววัดผลตอบแทนเฉลี่ยออกมาเลย โดยอาจสร้างเป็นโมเดลง่ายๆ ของตลาดหุ้นขึ้นมาเป็นต้นว่า สมมติว่า กระทาชายนายนี้มีสิทธิ์ส่งคำสั่งซื้อ TDEX ได้เพียงเดือนละหนึ่งครั้งคือทุกวันที่ 1 ของทุกเดือนเท่านั้น และในแต่ละเดือน SET50 จะมีโอกาสขึ้นหรือลงก็ได้ 1% จากเดือนที่แล้ว ด้วย Probability 50% เท่ากัน (กระทาชายไม่เชื่อว่าใครในโลกนี้จะสามารถทำนายทิศทางราคาหุ้นได้) และทุกๆ เดือนกระทาชายมีต้นทุนของการถือครองเงินสด (ค่าเสียโอกาส) เท่ากับ 1% ต่อเดือนด้วย เช่น ถ้าถือเงินสดไว้เฉยๆ 12 เดือน ถือว่าขาดทุนเดือนละ 1% เพราะเงินไม่ให้ผลตอบแทน วิธีนี้ไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน แต่จะต้องเก่ง Excel มากพอสมควร ถึงจะทำได้ (ทำไม่เป็นเหมือนกัน แหะๆ)
คำตอบที่ได้แม้ว่าจะตอบ Dilemma ไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่น่าจะช่วยให้แนวทางในการตัดสินใจแก่นักลงทุนได้เกี่ยวกับปัญหาโลกแตกข้อนี้ได้ดีทีเดียว
Any idea?
สรุปคือชายคนนั้นควรซื้อทุกเดือนใช้ไหมครับ เพื่อตัดต้นทุน(ค่าเสียโอกาส)อย่างน้อยถ้าถือไปก็ได้
ปันผล
แล้วถ้าเปลี่ยน TDEX เป็น หุ้นที่เราติดตามอยู่ 5 ตัวละครับ เรามีเงินสดอยู่ 2 ล้าน
แล้วมีเงินสดที่จะลงทุนเพิ่ม 1แสน ทุกๆเดือน
เราควรซื้อแบบไหนครับ รอ MOS ที่เรารับได้ หรือว่าซื้อ 5 ตัวนั้นทุกๆเดือน
ทำไมเงินสดมีค่าเสียโอกาส 1% ต่อเดือนด้วยอ่ะครับ
เพราะ ถ้า ถ้าถือเงินสดไว้เฉยๆ 12 เดือน ถือว่าขาดทุนเดือนละ 1% เพราะเงินไม่ให้ผลตอบแทน
แล้ว ถ้าซื้อ TDEX ไว้แล้ว TDEX ไม่ขึ้น TDEX ก็ไม่ให้ผลตอบแทนเหมือนกันนะครับ
ดังนั้น เงินสดควรมีค่าเสียโอกาสเท่ากับความต่างของการซื้อ TDEX กับ การไม่ซื้อ TDEX มากกว่านะครับ
ผมคิดว่า ในการทดลองแบบนี้ เราไม่ควรคิดค่าเสียโอกาสครับ
หรือถ้าจะคิด ก็ควรจะคิดทั้ง ค่าเสียโอกาสของการถือเงินสด และค่าเสียโอกาสของการถือ TDEX ครับ
ผมยังไม่รู้คำตอบที่ถูกต้องของปัญหานี้นะ แต่คิดว่ามันน่าจะต้องมีค่าเสียโอกาสด้วย
เพราะถ้าไม่มี การถือเงินสดรอไปเรื่อยๆ จนกว่าตลาดจะ crash จะกลายเป็นกลยุทธ์เด่นทันที เพราะเป็นทางเลือกที่ไม่มีต้นทุนอะไรเลย
แต่ในความเป็นจริง ถ้าเราเลือกจะรอ crash แล้วเราดันได้เจอ scenario ที่ตลาดขึ้นขาเดียวตลอด 7-8 ปีติดต่อกัน (เช่น ตลาดไทยช่วงก่อนปี 40 หรือ กรณีของ nasdaq bullในอดีต) ทำให้ไม่มี crash เลย การไม่ได้ซื้ออะไรเลย 7 ปีน่าจะเป็นความเสียหาย ไม่น่าจะเสมอตัว
แต่ค่าเสียโอกาสจะเป็นกี่ % ต่อเดือนนั้นแล้วแต่ แต่ไม่น่าจะเป็น 0
ผมว่าปัญหาข้อนี้มันยากตรงการ frame ปัญหานะครับ
ถ้าคิดอะไรได้เพิ่มเติมอีกเอาไว้จะมาบอกครับ
เเชร์ไอเดียนะครับ
ก่อนอื่นผมต้องประเมินกรอบSET ก่อนว่าปีนี้มีโอกาศเเค่ไหน
สมมุติได้กรอบ850-1200
เป็นผมๆจะเเบ่งเงินเป็น 3 ส่วน
ส่วนเเรกซื้อรายอาทิตย์ เป็น DCA ทั้งปีรวมกันไม่เกิน 40000
ส่วนที่2 เเละ 3 รอซื้อไม้ใหญ่ๆถ้าดัชนีเข้ามาโซน ล่างๆ ของกรอบ
เงินส่วนที่2 กับ 3 อาจจะเอาไปซื้อกองอสังหารับปันผลไปพลางๆก่อน
ระยะเวลาเเค่ 1 ปีนะครับ
ปล. พี่ไม่มา Oppday บ้างหรือ ปีนี้บริษัทใหม่ๆเยอะนะ
เช่น บริษัทอะไร?
OFM GUNKUL SMT AS PHOL etc
Thks krab
ผมเคยจำลองใน excel คล้ายๆแบบนี้แต่ไม่สามารถสรุปผลได้ เพราะวิธีที่คิดมาก็ได้ผลเป็นสุ่มตามไปด้วย อีกอย่างถ้าคิดแบบเคลลี่ prob 50-50 ขึ้น1ลง1แบบนี้ เคลลี่ก็ไม่แนะนำให้ลงทุนนี่ครับ เพราะค่าคาดหวังเป็น 0จึงไม่สามารถหา optimal bet ได้
อึม อาจต้องปรับโมเดลของตลาดใหม่เป็น 10% ต่อปี + Random Walk() อะไรทำนองนี้
แนวคิดของ Kelly ยังให้ไอเดียด้วยว่า การลงเงินทั้งหมดในตูมเดียวไม่น่าจะเป็น optimal strategy ด้วยเพราะนั่นคือ optimal bet เท่ากับ 100% ซึ่ง ไม่ใช่ optimal bet size ตามสูตรของเคลลี่แน่นอน (อย่างไรก็ตาม กรณีของ Kelly มีเงินก้อนเดียวตอนเริ่มต้น ซึ่งต่างกับกรณีนี้อยู่บ้างตรงที่มีเงินก้อนใหม่เข้ามาอีกเมื่อถึงปีถัดไป)
ตอนนี้ผมกำลังคิดว่า โมเดลที่ผม Frame ขึ้นมาไม่ค่อย practical เท่าไรด้วย เพราะในความเป็นจริง มนุษย์เงินเดือนทั่วไปมีเงินใหม่เข้ามาทุกปีไม่เท่ากัน เช่น ยิ่งอายุมากขึ้น เงินก้อนใหม่ที่เข้ามาน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย หรือโบนัสหรือเงินที่อยากเอามาลงทุนแต่ละปีก็อาจเหวี่ยงขึ้นลงไม่แน่นอนได้
การมอง money management ในแบบที่ผมว่าน่าจะ simple และ practical มากที่สุด น่าจะเป็นวิธีที่เขาแนะนำให้มองเงินสด+มูลค่าตลาดของหุ้นที่มีอยู่ในมือขณะใดขณะหนึ่งเป็น total port value ของเรา แล้วตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมี เงินสด:หุ้น เป็นเท่าไร เช่น 30:70 จากนั้นทุกสิ้นปี ก็มาดูว่า market cap ของหุ้นในพอร์ตเปลี่ยนไปเท่าไร ก็ปรับพอร์ตให้ได้สัดส่วน 30:70 เท่าเดิม วิธีนี้ไม่ว่าเงินสดใหม่ที่เข้ามาจะเป็นเท่าไรก็ได้ เพราะเราตั้งเป้าหมายไว้เป็น 30:70 ต่อ “มูลค่ารวม” ของเงินสดและหุ้นที่เรามีในขณะนั้นๆ เสมอ ซึ่งจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ได้
จากนั้นงานของเราก็คือการหาสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด (ซึ่งอาจไม่ใช่ 30:70) และคิดว่าควรจะปรับพอร์ตเมื่อไร (เช่น ทุกสิ้นปี ทุกครั้งที่หุ้น crash เกิน x% ฯลฯ) เท่านั้น
(โพสต์นี้ ผมอาจจะเขียนอะไรงงๆ หน่อย เพราะที่จริงผมเองก็ยังไม่ชัดเจนเรื่อง concept asset allocation ที่ถูกต้องว่าต้องเป็นอย่างไร)
เเชร์ อาจารย์นิดนึง ผมกำลังทำ Employee choice รูปเเบบที่คงอัตราส่วนเเน่นอน อาจจะปรับ PORT ทุกๆเดือน หรือ 3 เดือนใช้ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี
1. ใช้ BM เป็น set50 กับ thaibma 1-3 ปี ผลปรากฎว่าอัตราส่วน หุ้น50/ ตราสารหนี้50
ให้return ดีที่สุด
2. ผมลองให้ บลจ เลือกกองหุ้นที่ performace ดีที่สุดมาใช้เเทน SET50
ปรากฏว่า return เฉลี่ยย้อนหลัง10ปี 50/50 สู้set50 ไม่ได้
3.ผมลองเลื่อนปีที่เริ่ม Portไปเรื่อยๆพบว่า จังหวะที่เริ่มลงทุนมีผลมาก ถ้าเริ่มปีที่หุ้นขึ้นมามากๆเเล้ว return สุดท้ายจะต่ำ เเต่ถ้าเริ่มปีที่วิกฤติมากๆ ระยะยาวจะดี
4.ผมเลยเริ่มจัด Port rmf ของผม เเบบ 50/50 โดย 50ตราสารหนี้ผมเลือกใช้ tmbglobalbondrmf อีก 50 หุ้นผมใช้ DCA รายเดือนไปเรื่อยๆโดย เก็บcash ส่วนที่เหลือใน mmm รอจังหวะตลาด clashใหญ่ๆ ค่อยเข้า
5.เงินเดือนใหม่ที่เข้ามาก็จะจัดเข้าตามสัดส่วน50/50 อาจจะปรับ Port ทุกๆ 3 เดือนครับ
Great Information ครับ !!!
ถ้ามีการขยับ ช่วงห่างของการปรับพอร์ตไปเรื่อยๆ เช่น ทุกเดือน ทุกสามเดือน ทุกปี ทุกสามปี เพื่อทดสอบดูว่าอันไหนให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด ด้วยก็จะดีไม่น้อย
ผมเพิ่งลองเอาข้อมูลราคาปิดรายวัน 10 ปีของหุ้นไทยมาจาก Yahoo Finance (ไม่ใช่ SET แต่เป็น Thailand Dow Jones Index นะ เพราะ SET Index ไม่มีบน Y แล้ว)
ผมลองนับจำนวนครั้งที่ Index Crash เกิน 10% ของ high ล่าสุด (ถ้า Crash ถึง 20% นับเป็นสองครั้ง) ปรากฏว่า ในรอบ 10 ปี Index Crash มากถึง 35 ครั้ง
เท่ากับโดยเฉลี่ย ตลาดหุ้นไทยจะมีโอกาส crash ทุกๆ 3.4 เดือน เลยทีเดียว
นั่นอาจทำให้ การรอให้ crash แล้วค่อยซื้อ มีโอกาสได้ซื้อจริงๆ ค่อนข้างจะบ่อยสำหรับตลาดหุ้นไทยเหมือนกัน
บางทีการตั้งใจว่า จะรอ 4 เดือนก่อน ถ้า crash แล้วค่อยซื้อ แต่ถ้าไม่ crash ก็ค่อยซื้อเมื่อครบ 4 เดือน ก็อาจเป็นกลยุทธ์ที่ดีเหมือนกัน
ประมานไตรมาสละครั้งถูกมั้ยคับ ส่วนตัวผมคิดแบบไตรมาสละครั้ง แต่ไม่มีการคำนวนอะไรเลยคับ ผมใช้ความรู้สึกเอา แต่เห็น กระทู้พี่โจ๊กแล้วก็โอเครเลยคับ
เห็นด้วยกับคุณโจ๊ก ที่ 13
เงินต่างประเทศ เดี๋ยวนี้มันเข้ามาพักเงินเป็นหลัก ไม่ได้เข้ามาลงทุน
วัฏจักรเศรษฐกิจ ก็มีรอบเปลี่ยนเร็วกว่าเดิม เพราะโลกาภิวัตน์
ปรับปรุงเลยครับ สถิติมันฟ้อง
ผมเริ่มรู้สึกคึกเรื่อง asset allocation ซะแล้วสิ ชักอยากทำพอร์ตทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาอีกพอร์ต
จัดเลยคับพี่โจ๊ก มันช่วยชี้ทางสว่างให้นักลงทุนมือใหม่ กุศลแท้เลยคับ อิอิ
ว่างๆค่อยทำคับ (จะรอดูคับ) ^___^
เห็นด้วยครับ น่าทำมาก นักลงทุนรุ่นถัดๆไปน่าจะได้ประโยชน์จากตรงนี้มากๆ
แม่ทัพสั่งเดินทัพ พลทหารอย่างผมเตรียมลุยครับ
ใช้ ML (Machine Learning) คิดแทน น่าจะเวิร์คกว่านะพี่โจ๊ก
port RMF ผมเริ่มทำเเล้วครับ เดี๋ยวรอดูปีหน้า Return จะเป็นอย่างไร
7thLTG ใช้ DCA ซึ่งตอบโจทย์ไปได้หลายอย่าง แต่ที่ยังขาดไปคือ port management เพราะ DCA เป็นการซื้อทีละนิด ทำให้เงินสดต้องกองอยู่นานกว่าจะซื้อหมด
ถ้าเลยคิดว่าน่าจะมีอะไรที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ด้วย เลยคิดว่าจะทำพอร์ตทดลอง port management ขึ้นมา โดย equity ที่ซื้อคือ 7LTG นั่นเอง จะได้เป็นการลงทุนตัวอย่างที่ครบสูตรอย่างแท้จริง (อาจเรียกว่าเป็น 7LTG Extended ก็ได้)
แต่ลองนั่นออกแบบดูแล้วพบว่าจะต้องซื้อหุ้นแบบ manual ซึ่งปัญหาจะเกิดทันที่ เพราะพอร์ตทดลองจะต้องใหญ่มาก จึงจะสามารถซื้อหุ้นใน 7LTG แต่ละตัวในสัดส่วนที่ตรงตามต้องการในการซื้อแต่ละหนได้
ก็เลยอาจจะทำพอร์ตทดลองใหม่นี้กับ 7LTG ไม่ได้ equity ที่จะซื้ออาจจะต้องเป็น TDEX หรือ TMBSET50 แทน
แต่ policy จะเป็นยังไงนั้น ยังออกแบบอยู้่ครับ ต้องออกแบบให้รอบคอบหน่อยจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงกันอีกหลังจากลงทุนไปแล้ว เหมือนในกรณีของ 7LTG
รออยู่ครับ แต่ผมว่าถ้าเป็นไปได้ใช้ตัวเหมือน 7LTG ไปเลยไหมครับ
ได้เปลียบเทียบกันไปเลยครับว่าวิธีไหนดีทีี่สุด
7LTG Extended คือการลงทุนหุ้นตัวเดียวกับ 7thLTG แต่เปนทุกครั้งที่ตลาด Crash ใช่หรือป่าวคับหรือ ทุก 3.4 เดือนที่คำนวนไว้คับ
คล้ายๆ แบบนั้น แต่กำลังออกแบบวิธีการทั้้งหมดอยู่
แต่ดูแล้วคงยังใช้ 7LTG เป็น asset ไม่ได้ เพราะการซื้อหุ้นเป็นตัวๆ พอร์ตจะต้องใหญ่มากถึงจะซื้อให้ได้จำนวนหุ้นขั้นต่ำ
แรกสุด ผมสนใจแนวคิดที่ให้ตั้งเป้าหมาย หุ้น:เงินสด เป็นตัวเลขคงที่ค่าหนึ่ง (ขึ้นกับอายุของนักลงทุนด้วย) เช่น หุ้น:เงินสด 70:30 จากนั้น ทุกปลายปีก็ปรับพอร์ตหนึ่งครั้ง เช่น ถ้าหุ้นขึ้นไปเป็น 80 ตอนปลายปีก็ขายหุ้นออกมาให้เหลือ 70 เหมือนเดิม เป็นต้น
วิธีนี้ดีมากตรงที่กำหนดเป้าหมายเป็น % ของ wealth ทั้งหมด ทำให้เวลามีเงินสดใหม่เข้ามา ก็แค่คิดว่าเงินสดในพอร์ตของเราเพิ่มขึ้น แล้วก็ทำตามเป้าหมายเช่นเดิมไปตามปกติ และการปรับพอร์ตปีละหนก็ช่วยให้เราเก็บกำไรไว้ส่วนหนึ่งเวลาตลาดหุ้นขึ้นไปมากๆ ได้ด้วย
ผมว่า 50:50 เป็นตัวเลขที่ดีสำหรับหุ้นไทย ซึ่ง crash บ่อยมาก แต่ข้อเสียของวิธีนี้ที่ผมยังเห็นว่าเป็นจุดอ่อนคือ ถ้าเราอยากซื้อหุ้นให้ได้มากๆ เวลาตลาดพัง เราก็ต้องถือเงินสดในสัดส่วนที่สูงตามไปด้วย ทำให้ในระยะยาว อาจถือเงินสดมากเกินไป เลยกำลังคิดว่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้มั้ย ที่ทำให้เราถือเงินสดน้อยลง แต่เวลาตลาด crash เราซื้อหุ้นได้มากเหมือนเดิม ทำนองว่าเป็นสูตรที่ว่ายิ่ง ตลาด crash มาก ยิ่งซื้อมากขึ้น อะไรทำนองนี้ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะออกมาเป็นแบบไหนดี
ท่านใดมีไอเดียจะเสนอมั้ย?
ถ้า 50:50 crash บ่อย ถ้าจังหวะ crash เสดก็ซื้อเป็น 80:20 แล้วค่อยๆลดลงมาทีละระดับละคับ ดูจากตลาดที่วิ่งขึ้นไปมากเกิน ก็ปรับเปน 70:30 แล้ว 60:40 แบบนี้ระหว่างที่ปรับก็มีจำนวนเงินที่มากขึ้นๆอะคับ ผมคิดง่ายๆไปหน่อยมั้ยคับ
อะไรคล้ายๆ แบบนั้นแหละ แต่กำลังคิดว่ามันจะมีจุดบอดตรงไหนที่ต้องอุดรึเปล่า
ยังคิดไปเรื่อยๆ อยู่นะครับ
ผมนึกถึงสูตรของคนสองคน คนแรกคือ ปีเตอร์ ลินซ์
เขาบอกว่า ถ้านักลงทุนซื้อหุ้นทุกครั้งที่ตลาด crash 10% โอกาสที่นักลงทุนจะเล่นหุ้นแล้วเจ๊งมีน้อยมากๆ
อยากเอาคอนเซปท์นี้มาใช้จัง
อีกคนหนึ่งคือ คุณวิกรม เกษมวุฒิ บอกว่า ปีที่ตลาดให้ผลตอบแทน 100% ควรล้างพอร์ต ปีไหนตลาดลบ 40% ควรทุ่มสุดตัว ทำอยู่แค่นี้ ในรอบสามสิบปี จะมีให้ซื้อขายแค่ 6 ครั้ง แต่ผลตอบแทนจะดีมาก
ตอนนี้ผมกำลังคิดว่า ถ้าเราเริ่มต้นด้วยเงิน 1 แสนบาท แล้วคิดสูตรอะไรสักอย่างขึ้นมา ที่เอาแนวคิดทำนองนี้มาใช้ โดยที่สามารถตั้งโปรแกรมให้ทำได้โดยอัตโนมัติ ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจเฉพาะหน้าของเราอีกต่อไป แล้วลองดูว่า พอร์ตนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีแค่ไหนในระยะยาว และลองให้คนที่ใช้วิธีการต่างๆ ในการ timing ตลาด ลองใช้พอร์ตนี้เป็น benchmark ดูว่าวิธีของตัวเองจะสามารถชนะพอร์ตที่ไม่ต้องออกแรงอะไรเลยนี้ได้จริงหรือไม่
ที่คิดเล่นๆ อยู่ตอนนี้คือ ให้พอร์ตนี้เริ่มต้นด้วย เงินสด 5 หมื่น SET 5 หมื่นก่อนเสมอ จากนั้นทุกหนึ่งปีก็ปรับพอร์ตหนึ่งหน โดยถ้าตลาดขึ้น x% ก็ให้ลดสัดส่วนหุ้นเหลือ 50-(0.5*x) % แต่ถ้าตลาดลง y% ก็ให้เพ่ิ่มหุ้นเป็น 50+y% พอครบหนึ่งปี ก็ใช้เกณฑ์นี้ใหม่ ทำไปเรื่อยๆ แบบนี้ ยิ่งตลาดลงมาก เราก็ยิ่งซื้อเพิ่มมาก ยิ่งตลาดขึ้นมาก เราก็ยิ่งขายเพิ่มมาก น่าจะเป็นสูตรที่ใช้เงินสดได้ efficient มากขึ้น ถ้าตลาดขึ้น 100% จากขายทิ้งหมดเลย แต่ถ้าตลาดลง 50% ก็จะซื้อหุ้นจนเต็มพอร์ตเลยทีเดียว
แต่ยังไม่แน่ใจว่าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้วมันจะไปตันตรงไหนรึเปล่า และอีกอย่างคือ เราควรจะปรับพอร์ตทุกปีแบบคุณวิกรม หรือปรับพอร์ตทุกสามเดือน หรือปรับพอร์ตเมื่อตลาด crash ตามลินซ์ดี
Just throw out ideas…
ค้นไปค้นมาไปเจอบทความนี้พูดถึงหลากหลายวิธีการ rebalancing portfolio น่าสนใจทีเดียว
http://seekingalpha.com/article/178964-10-important-things-to-know-about-portfolio-rebalancing
โอ้ว มีคนเคยทำ simulation แล้วจริงๆ ด้วย
http://siyaqing.public.iastate.edu/research/2008/01s.pdf
เหมือนจะสรุปว่า การ rebalacing ไม่ได้ add value อย่างมีนัยสำคัญมากนัก ถ้าหากความบ่อยในการปรับถี่กว่าสองปีครั้ง หรือ threshold ต่ำกว่า 10%
ใน presentation แรกๆดูเพลินดี พอเริ่มมีสมการโผล่เข้ามาทำเอามึน จนต้องข้ามไปถึงสรุปสองแผ่นสุดท้าย ไม่รู้เค้าพรูฟโมเดลยังไงเหมือนกัน ข้อสรุปเค้าฟังดูขัดๆชอบกล
เข้าใจว่าเค้าสรุปว่า rebalancing ทำบ่อยไปก็ไม่ช่วยอะไรมาก
rebalancing นอกจากใช้รักษาอัตราส่วนของ asset ประเภทต่าง ควรเอามาใช้ตัดสินใจเลือก asset ด้วย due to rebalancing bonus
ประมาณนั้นครับ rebalancing เพิ่มผลตอบแทนได้แค่นิดหน่อย เมื่อทดลองด้วย simulation
แต่ที่ backtesting หลายอันบอกว่าได้ผลตอบแทนเยอะเป็นเพราะ backtest เป็นแค่ scenario เดียวคือตลาดหุ้นในช่วงเวลาที่ test เท่านั้น แต่ตลาดหุ้นในแต่ละยุคนั้นเคลื่อนไหวต่างกัน บางช่วงขาขึ้น บางช่วงขาลง บางช่วงย่ำอยู่กับที่ ดังนั้นหานำสิ่งที่ได้ผลในอดีตไปใช้ก็อาจไม่ได้ผลในช่วงต่อมา ต่างกับการทำ simulation ที่วัดทุกกรณีที่เป็นไปได้ และนี่ยังเป็นเหตุผลที่ทำให้ การวิจัยแต่ละชิ้นในอดีตให้ผลที่ไม่สอดคล้องกันด้วย เพราะช่วงที่เลือกมา backtest ต่างกัน
โดยส่วนตัวผมเลยคิดว่า rebalancing อาจไม่ช่วยอะไรเรา เวลาที่เราเผชิญกับรอบใหญ่ (ไม่ว่าจะรอบขึ้นหรือรอบลง) เพราะมันแย่ทำให้ผลตอบแทนน้อยลงในกรณีหนึ่ง เพื่อแลกกับการลดความเสี่ยงในอีกกรณีหนึ่งเท่านั้น
แต่ rebalancing อาจมีประโยชน์กับตลาดหุ้นที่มี noise สูงๆ ถ้าเรา set จุดปรับพอร์ตเอาไว้พอๆ กับช่วงที่ตลาดหุ้นชอบแกว่ง ก็อาจทำให้เราได้ผลตอบแทนมากขึ้นจากการขึ้นๆ ลงๆ ของมันได้ แต่ rebalancing คงไม่ช่วยให้เรารอดพ้นจาก ขาขึ้น ขาลง ที่เป็นรอบใหญ่ๆ
ประมาณนั้นมังครับ
สรุปว่า ตอนนี้คงยังไม่ทำพอร์ตทดลอง rebalancing นะครับ เพราะดูแล้วยังไม่น่าสนใจเท่าไร
ในความเห็นผม ถ้าใครอยากได้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดหุ้น อาจตั้งจุด rebalance ไว้ที่ 10% สำหรับตลาดหุ้นไทย เช่น ถ้าตั้งเป้าไว้ที่หุ้นต่อเงินสด 50:50 ถ้าตลาดหุ้นขึ้นจนพอร์ตกลายเป็น 55:50 ก็ปรับเป็น 52.5:52.5 แต่ถ้าตลาดหุ้นลงจนเป็น 45:50 ก็ปรับเป็น 47.5:47.5 อย่างนี้เป็นต้น ในระยะยาวน่าจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาจากการแกว่งตัวของตลาดหุ้นไทย แต่ไม่ได้ช่วยป้องกัน crisis
แต่ถ้าใครอยากสร้างพอร์ตที่ทนทานต่อ crisis ไม่ได้เน้นทำกำไรจากความผันผวน ก็อาจเซ็ต policy คล้ายกฏของคุณวิกรม อันนี้จะเน้นหลบ crisis โดยเฉพาะ ก็เป็นวิธีการที่ไม่เลว
แต่ policy ที่ได้ best of both world เลย คงจะไม่มี