Skip to content

110: 0391: The Dark Side of Overtrading

Robert Kirby ผู้ก่อตั้ง Capital Guardian Trust เล่าให้ฟังว่า ในช่วงปี 1950 เขาเคยดูแลพอร์ตให้กับชายคนหนึ่งเป็นเวลาประมาณสิบปี ด้วยความที่ลูกค้ารายนี้ต้องการให้ลงทุนในแบบอนุรักษ์ เขาจึงเพียงแต่เลือกหุ้นตามบทวิเคราะห์ของบริษัท ซื้อและขายตามคำแนะนำของบทวิเคราะห์เหล่านั้น ลูกค้ายังได้ขอให้เขาเปิดบัญชีในนามของภรรยาอีกด้วย

สิบปีต่อมา ชายคนนี้ก็เสียชีวิตลงกะทันหัน ภรรยาของเขาได้โทรมาบอก Kirby ว่า เธอต้องการนำหุ้นจากพอร์ตในชื่อของสามี มารวมเข้ากับพอร์ตในชื่อของเธอ ที่ Kirby บริหารอยู่

Kirby ต้องพบกับความประหลาดใจอย่างมากเมื่อพบว่า เมื่อสิบปีก่อน ชายผู้นี้ได้เปิดพอร์ตอีกพอร์ตหนึ่งไว้ที่อื่น โดยซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งตามที่บทวิเคราะห์ของบริษัทที่ Kirby ได้แนะนำให้เขาตัวละประมาณ $5000 แล้วชายผู้นี้ก็ไม่เคยซื้อหรือขายหุ้นเหล่านั้นอีกเลยจนเสียชีวิต แต่พอร์ตดังกล่าว กลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตที่ Kirby บริหารให้ในชื่อของภรรยาอย่างมาก

เมื่อตรวจดูในรายละเอียด Kirby พบว่า ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมของพอร์ต เกิดจากหุ้นเพียงแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นคือ หุ้นหนึ่งตัวที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง $800, 00o ได้แก่ หุ้น Xerox และหุ้นอีกสองสามตัว ที่มูลค่าเพิ่มขึ้นเกิน $100, 000 เหรียญ ในขณะที่ หุ้นส่วนใหญ่ในพอร์ตกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่มากนักและยังมีหุ้นบางตัวที่มีมูลค่าตกต่ำเหลือเพียงแค่ $2000 อีกด้วย แต่รวมกันแล้วพอร์ตก็ยังทำผลตอบแทนได้สูงกว่าพอร์ตที่ Kirby บริหารมาก

กรณีศึกษาของ Kirby เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ผมจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง บทเรียนจากเรื่องนี้นั้นไม่ได้บอกให้เราพยายามหาหุ้นหลายๆ เด้งอย่าง Xerox ให้เจอ เพราะนั่นเป็นเรื่องที่ยากมาก พอร์ตของชายผู้นี้เพียงแต่ซื้อหุ้นเอาไว้หลายตัว แล้วบังเอิญหุ้นตัวหนึ่งกลายเป็นหุ้นหลายเด้งในอีกหลายปีต่อมาเท่านั้น แต่ข้อคิดที่สำคัญของกรณีศึกษานี้คือ บ่อยครั้งเรามักเชื่อว่าการซื้อๆ ขายๆ หุ้นนั้นจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตให้สูงได้ แต่ที่จริงแล้ว มันอาจช่วยได้น้อยกว่าที่คิด หรือในทางตรงกันข้าม มันอาจทำให้ผลตอบแทนของพอร์ตลดลง นักลงทุนหลายท่านคงเคยเจอสถานการณ์ที่ เราได้ขายหุ้นบางตัวที่เราเชื่อว่า มันมีราคาปรับตัวขึ้นมากเกินไป จึงควรขายทิ้งเพื่อรักษากำไรไว้ แต่กลับพบว่า หุ้นเหล่านั้นกลับมีราคาเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมายหลังจากนั้น อยู่บ่อยๆ ทำให้พลาดโอกาสได้อย่างน่าเสียดาย

นี่ไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนไม่ควรจะขายหุ้นเลย แต่เราควรลองทบทวนดูว่า การซื้อขายหุ้นบ่อยๆ ของเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วก่อให้เกิดประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน บ่อยครั้งที่การซื้อและขายของเรานั้นเกิดมาจากการใช้ความรู้สึกมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของข้อมูล คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะซืื้อและขายหุ้นบ่อยกว่าที่ควรจะเป็นและทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะได้ คำแนะนำของกูรูที่บอกว่าให้ Let the profits run นั้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนน้อยคนนักจะบังคับตัวเองให้กระทำได้ เพราะว่ามันฝืน Psychology ของเราอย่างมาก

มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ซื้อกองทุนรวม จะได้ผลตอบแทนส่วนตัวต่ำกว่าผลตอบแทนของกองทุนรวมที่ตนเลือกซื้อ อันเนื่องมาจาก นักลงทุนมักพยายามจับจังหวะซื้อและขายกองทุนเพื่อทำกำไรให้มากขึ้น แทนจะที่ซื้อกองทุนแล้วทิ้งไว้เฉยๆ นั่นเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่บ่งชี้ว่าการพยายามซื้อๆ ขายๆ เพื่อทำกำไรของนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นทำให้ผลตอบแทนของนักลงทุนลดลงมากกว่าจะเพิ่มขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

12 thoughts on “110: 0391: The Dark Side of Overtrading”

  1. เป็นบทความที่เตือนสติผมเลยครับพี่ เพราะตอนนี้ผมคิดว่าจะขายหุ้นแล้วครับ

    เพราะตลาดหุ้นขึ้นมากจนผมกลัวเลยครับ

    แต่เห็นบทความพี่ทำให้ผมคิดได้ว่า ถ้าเราบริษัทที่ดีที่เราเข้าใจแล้วมีการเติบโตถึงตลาดจะลง

    หุ้นอาจจะลงแต่บริษัทก็เติบโตต่อไป

  2. ขอบคุณครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกมาก หนังสือเล่มใหม่ที่จะออกมาเป็นแนวด้านใดครับ อยากอ่านแล้วครับ

  3. ที่จริงตอนนี้หนังสือใหม่อยู่ในมือผมแล้วล่ะครับ แต่การกระจายหนังสือไปที่ร้านหนังสือคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็เลยตั้งใจว่าีอีกสองอาทิตย์ค่อยเขีัยนแนะนำ

    แต่ถ้าใครอยากอ่านก่อนก็สั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้แล้วล่ะครับ https://dekisugi.net/books หนังสือชื่อ มนุษย์เศรษฐกิจ 3.0

  4. @Dekisugi
    ลองเข้าไปสั่งดูแล้วครับพี่
    ชื่อกับนามสกุลสามารถกรอกเป็นภาษาไทยได้
    แต่ address กับ City/District ต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษ
    หวังว่าไปรษณีย์ไทยคงส่งถูกนะ…-_-“

  5. เห็นหนังสือที่ B2S ปิ่นเกล้าแล้วครับวันนี้ 🙂

  6. มี Dark Side สำหรับนักลงทุนที่ไม่ค่อย active รึเปล่าครับ 🙂

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *