Skip to content

114: 0456: CPF

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF มีพันธกิจหลักที่จะมุ่งไปสู่การเป็นครัวของโลก ซึ่งหมายถึงการขยายธุรกิจทั้งการส่งออกและการลงทุนด้านธุรกิจอาหารไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เพื่อผลิตอาหารแต่ละชนิดจากแหล่งที่มีข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบในการผลิตอาหารนั้นๆ มากที่สุด แล้วส่งไปขายในประเทศที่มีความต้องการนั้นมากที่สุด [premium level=”1″ teaser=”yes” message=”โปรดล็อกอินเพื่ออ่านบทความเต็ม หรือสมัครสมาชิกรายปี”]

ประเทศที่ CPF เลือกไปลงทุนสร้างฐานการผลิตมักเป็นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ตุรุกี รัสเซีย เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีกฏระเบียบที่ไม่ยุ่งยาก (CPF เคยมีประสบการณ์ลงทุนในสหรัฐฯ มาก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) ในขณะที่ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการส่งออก เพราะเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมาก ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่อีกด้วย

ณ ปัจจุบัน CPF ยังคงมีรายได้จากการทำธุรกิจในประเทศไทยมากกว่าครึ่ง แต่เนื่องจากการรุกลงทุนขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนรายได้ที่มาจากต่างประเทศสูงขึ้นทุกปีตามพันธกิจครัวของโลก (หลักๆ ได้แก่ ตุรุกี ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย และในอนาคตยังมีรัสเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามอีกด้วย) และธุรกิจในต่างประเทศนี่เองที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างการเติบโตให้กับกำไรของบริษัทในอนาคต

ธุรกิจของ CPF นั้นทำทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ (สัดส่วน 75:25) แต่ถ้าหากจะแบ่งออกเป็นมิติของสายผลิตภัณฑ์ จะแบ่งได้สามส่วนหลัก ได้แก่ FEED หมายถึง ธุรกิจขายอาหารสัตว์ FARM หมายถึง ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ และ FOOD หมายถึงธุรกิจอาหารแปรรูป (สำหรับคน)

ธุรกิจขายอาหารสัตว์ หรือ FEED นั้น คือการเอาวัตถุดิบ ที่สำคัญได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพด และปลาป่น มาแปรรูป เพื่อให้กลายเป็นอาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับขายให้เกษตรกรนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ (ไก่ เป็ด หมู กุ้ง ปลา)

ธุรกิจเลี้ยวสัตว์ หรือ FARM ได้แก่การทำฟาร์มเลี้ยงเป็ด ไก่ หมู และกุ้ง โดยมีการวิจัยปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต และเป็นการเลี้ยงแบบฟาร์มปิดทำให้ปลอดภัยจากโรคระบาด โดยมีทั้งส่วนที่บริษัทเป็นผู้ลงทุนเลี้ยงเอง และส่วนที่ทำสัญญาเลี้ยงกับเกษตรกร (Contract Farming)

ธุรกิจแปรรูปอาหาร หรือ FOOD เป็นพวกอาหารคน เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้งแช่แข็ง ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น การมีแพจเกจจิ้งที่สวย การใช้กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ การมีตราสินค้า รวมไปถึงการมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง (CP Fresh Mart, Chester Grills, ไก่่ย่างห้าดาว เป็นต้น)

การส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ยังเป็นการรับจ้างผลิต (OEM) เนื่องจากประเทศเหล่านี้เจาะตลาดได้ยากมากหาบริษัทไม่มีตราสินค้าที่แข็ง นอกจากนี้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ยังเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจอาหารอีกด้วย ส่วนในตลาดเกิดใหม่นั้น บริษัทพยายามส่งออกในรูปของสินค้าที่ใช้แบรนด์ CP ให้มากที่สุด เนื่องจากการขายโดยใช้ตราสินค้าของตัวเองนั้น ถ้าหากทำได้สำเร็จจะมีมาร์จิ้นที่มากขึ้นอีกในอนาคต

แต่เดิม FARM คือสายธุรกิจหลักที่ทำรายได้ให้ CPF มากที่สุด แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง (เงินจมอยู่ในปุศสัตว์ที่กำลังขุนเพื่อให้โต) และต้องคอยรับความผันผวนของราคาอาหารสัตว์ ที่ต้องลงทุนไปก่อนล่วงหน้า แต่ไม่รู้ว่า เมื่อขายสัตว์ได้แล้ว ราคาสัตว์ในช่วงเวลาที่ขายได้จะดีหรือไม่ ธุรกิจนี้จึงให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำที่สุด ทำให้ที่ผ่านมาในอดีต CPF เป็นธบริษัทที่มีมาร์จิ้นที่บางมาก และมีโอกาสขาดทุนได้ด้วย

ด้วยเหตุนี้ CPF จึงมียุทธศาสตร์ที่จะลดสัดส่วนรายได้ที่มาจาก FARM ลง หันมาไปเน้นทำธุรกิจด้าน FOOD และ FEED ให้มากขึ้นแทน เพื่อช่วยให้ CPF กลายเป็นบริษัทที่มีมาร์จิ้นรวมสูงกว่าเดิม รวมทั้ง FARM เองก็ทำ Contract Farming เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยลดการลงทุนใน FARM ลงได้ และยังทำให้ขายอาหารสัตว์ให้กับเกษตรกรที่ตกลงทำสัญญากับบริษัทได้อีก ในขณะที่ตัวเกษตรกรเอง ก็เสี่ยงน้อยลง เพราะบริษัทช่วยรับประกันราคารับซื้อให้ เนื่องจากบริษัทมีศักยภาพในการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงของราคาปุศสัตว์ได้ดีกว่าเกษตรกรนั่นเอง

กล่าวโดยสรุปแล้ว CPF มีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้ให้เติบโตไปเรื่อยๆ อย่างน้อยปีละ  10% ทุกปี โดยอาศัยการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน การพยายามเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจจากธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำไปยังธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูงกว่า ซึ่งในยุทธศาสตร์ส่วนหลังนี้ถือว่าสำคัญต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของ CPF ในอนาคตเป็นอย่างมาก เนื่องจาก โดยปกติแล้ว ธุรกิจปุศสัตว์มักทำกำไรได้ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากราคาปศุสัตว์ที่มีความผันผวน แต่ถ้าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก โดยมากแล้วจะสามารถรักษาผลประกอบการให้มีกำไรได้อย่างต่อเนื่องได้ ก็เนื่องมาจาก บริษัทเหล่านั้นมีตราสินค้าที่แข็งแรง ทำให้มีมาร์จิ้นที่สูงพอ ที่จะรองรับผลกระทบต่างๆ ของธุรกิจนี้ได้นั่นเอง[End]

2 thoughts on “114: 0456: CPF”

    1. มันมี bug จริงๆ ด้วยล่ะครับ ช่วงนี้ login เสร็จแล้ว มันอาจมีอาการแปลกๆ ต้องรีเฟรชบ้างไรบ้าง กำลังหา solution อยู่ ขออภัยทุกท่านด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *