Skip to content

121: 0458: วัดมูลค่าหุ้นเติบโตด้วยวิธี implied growth

สำหรับหุ้นเติบโตนั้น มีทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ใช้พิจารณาประกอบว่าหุ้นมีราคาตลาดที่แพงไปแล้วหรือยัง เรียกว่า วิธี implied growth valuation [premium level=”1″ teaser=”yes” message=”โปรดล็อกอินเพื่ออ่านบทความเต็ม หรือสมัครสมาชิกรายปี”]

หลักการของวิธีนี้คือการหาว่าราคาตลาดในปัจจุบันของหุ้นมีความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตของกิจการซ่อนอยู่ในราคามากแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้พิจารณาว่าความคาดหวังนั้นเป็นความคาดหวังที่เป็นไปได้เพียงใด ถ้าหากเป็นความคาดหวังที่บริษัทน่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยไม่ยาก ราคานั้นก็ยังน่าลงทุน แต่ถ้าเป็นความคาดหวังที่มีโอกาสเป็นไปได้ได้น้อยมาก เราจะได้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าลงทุนที่ราคานั้นๆ

วิธีนี้เริ่มต้นด้วยการลองสมมติขึ้นมาก่อนว่า ราคาหุ้นในปัจจุบันได้สะท้อนมูลค่าของกิจการนั้นเมื่่อเติบโตจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว โดยกำหนดค่าพีอีและ net profit margin ที่เหมาะสมให้กับกิจการนั้นโดยดูจากหุ้นของกิจการที่ใกล้เคียงกันแต่โตเต็มที่แล้วเป็นเกณฑ์ แล้วคำนวณออกมาว่า รายได้ของธุรกิจนั้นเมื่อโตเต็มที่แล้วจะเป็นเท่าไร

ตัวอย่างเช่น โฮมโปร ณ 15/11/2554 มีมูลค่าตลาดประมาณ 57, 000 ล้านบาท ธุรกิจค้าปลีกแบบ specialty store ควรมี net profit margin ประมาณ 5% ในภาวะปกติ สมมติให้พีอีที่เหมาะสมของหุ้นค้าปลีกที่อิ่มตัวแล้วเท่ากับ 15 เท่า จะได้ว่า ที่จุดอิ่มตัว ตลาดคาดว่าโฮมโปรจะมีรายได้เท่ากับ 57, 000/5%/15 หรือเท่ากับ 76, 000 ล้านบาทต่อปี

เมื่อได้ตัวเลขนี้มาแล้วก็ลองเปรียบเทียบกับรายได้ในปีปัจจุบันของโฮมโปรที่ราว 26, 000 ล้านบาท (ปี 2010) แสดงว่า ตลาดเชื่อว่าโฮมโปรน่าจะยังขยายกิจการได้อีก 192% จากปัจจุบันเมื่อเติบโตจนสุดความสามารถแล้ว

ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเชื่อว่าเป็นไปได้หรือไม่ ปัจจุบันกิจการภายในประเทศของโฮมโปรได้ขยายตัวเต็มจังหวัดขนาดใหญ่ไปหมดแล้ว และกำลังเริ่มขยายตัวในจังหวัดขนาดรองๆ อยู่ ซึ่งแม้จะยังมีให้ขยายได้อีกพอสมควร แต่ก็คงยากที่จะขยายได้อีกเกื่อบสองเท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน เพราะจังหวัดรองกำลังซื้อน้อยกว่าจังหวัดหลักมาก เราอาจคิดได้่ว่า ความคาดหวังดังกล่าวของตลาดเป็นความคาดหวังที่่ “ไม่หมู” ถ้าหากบริษัทจะหวังพึ่งธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น แสดงว่าตลาดคาดหวังไปถึงการเติบโตในต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว

ถ้าหากเรามองว่าการขยายไปยังต่างประเทศคงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในทันที เหมือนอย่างที่ประเทศไทยที่ต้องใช้เวลานานนับสิบปีกว่าโฮมโปรจะมีทุกวันนี้ได้ ก็ถือได้ว่า ตลาดคาดหวังความสำเร็จในต่างประเทศเร็วเกินไป เช่นนี้ เราก็อาจฟันธงได้ว่า ราคาปัจจุบันนี้แพงเกินไปแล้ว เพราะต่อให้เติบโตจนสุดความสามารถภายในสิบปีข้างหน้าก็ยังไม่สามารถทำตามความคาดหวังของตลาดได้ง่ายๆ เช่นนี้เราจึงอาจหลีกเลี่ยงที่จะซื้อหุ้นตัวนี้ไปก่อนถ้าจะซื้อมาเพื่อถือลงทุนระยะยาว เพราะราคานี้แพงเกินไปเสียแล้ว เช่นนี้เป็นต้น

ข้อดีของวิธี implied growth คือ ไม่ยุ่งยากเท่ากับวิธี DCF แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่หยาบเท่ากับวิธี P/E ratio อย่างเดียวที่สนใจแค่กำไรเพียงปีนี้หรือปีหน้าเท่านั้น แต่ข้อด้อยของวิธีนี้คือเราต้องประมาณ net profit margin และ p/e ที่จุดอิ่มตัวได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่สมเหตุผล

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ใช้ดูประกอบกับวิธีอื่นๆ เพื่อให้รัดกุมมากขึ้นได้ แทนที่จะพึ่งพาวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงแค่วิธีเดียวในการวัดมูลค่าหุ้น[End]

10 thoughts on “121: 0458: วัดมูลค่าหุ้นเติบโตด้วยวิธี implied growth”

  1. พอจะเข้าใจ idea ในบทความนี้ครับ แต่ผมยังงงๆวิธีคำนวนอะครับ รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมถึงที่มาที่ไปและรายละละเอียดได้ไหมครับ ว่าทำไม ถึงต้องเอา market cap/net profit margin/PE พอดีเป็นมือใหม่อะครับขอบพระคุณครับ

    1. market cap คือ price x จำนวนหุ้นทั้งหมด

      ดังนั้น market cap หารด้วย PE เลยเท่ากับ e x จำนวนหุ้นทั้งหมด หรือเท่ากับกำไรทั้งหมดของบริษัทนั่นเอง

      เมื่อเอากำไรทั้งหมดมาหารด้วยมาร์จิ้นก็จะได้เป็นรายได้ทั้งหมด เช่น กำไร 5 บาท มาร์จิ้น 5% แสดงว่า รายได้เท่ากับ 100 บาท (5/5%)

      ดังนั้น market cap/PE แล้วหารด้วย มาร์จิ้น จึงเท่ากับรายได้ทั้งหมด

  2. ผมลองเอาวิธีนี้มาคำนวนหุ้นสองตัวคือ synex, sis ทั้งสองตัวอยู่ในกลุ่มขายส่งสินค้า IT, ให้ pe ตอนโตเต็มที่แล้ว 7 เท่า profit margin 1.5% (ไม่แน่ใจว่าตัวเลขนี้เหมาะสมมั้ย?) ได้ผลดังข้างล่างครับ

    synex:
    4200/7/1.5% = 40,000
    รายได้ ณ 2011 = 20,000
    sis:
    2600/7/1.5% = 24,700
    รายได้ ณ 2011 = 22,000

    วิธีนี้ผมว่าใช้กับพวก margin บางๆจะผันผวนมาก แต่เป็นวิธีที่น่าสนใจมากครับ

  3. คือยังไม่ค่อยเข้าใจ เรื่อง Market Cap / PE / NPM แล้วเท่ากับรายได้อ่ะครับ คือเข้าใจตามสูตรคณิตศาสตร์ ว่า มันเท่ากับรายได้ แต่ทำไม เราต้องดู มาร์เก็ตแคป กับ พีอี ด้วยหล่ะครับ

    สมมติว่าเราไม่ได้ดูราคาตลาดเลย แต่เราำประเมิณจากตัวธุรกิจว่า ในห้าปีข้างหน้าบริษัทจะมีแผนเปิดสาขาตามหัวเมืองจังหวัดต่างๆ จนมี x สาขา แล้วจะทำให้มีรายได้ y โดยมี กำไร z และ ประมาณว่า อีกห้าปี ตลาดจะให้พีอี บริษัทนี้เวลาิอิ่มตัวแล้วที่ a แล้วเราประมาณว่าที่ราคาปัจจุบัน บริษัทยังให้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือป่าวหากเราถือไปห้าปีแล้ว ซึ่งอาจจะแพงหรือถูกไปก็ได้ตามที่เราประมาณการ อย่างงี้ คุณ สุมาอี้ คิดว่าไงครับ

  4. อยากถามเพิ่มเติมกับวิธีนี้หน่อยฮะ
    เรื่องระยะเวลาไปสู่การอิ่มตัว
    ว่าสมมุติฐานเรื่องเวลามีหรือเปล่าครับ
    เพราะแต่ละคนคงคาดเรื่องเวลาไม่เท่ากัน
    อย่างในตัวอย่าง หวังโตอีก 192% นี่เราจะรู้ได้อย่างไร
    ว่าคนส่วนใหญ่คาดหวังให้โตในระยะเวลาเท่าไหร่ครับ

  5. ตามสูตรนี้คือคิดด้วยสมมุติฐานที่ว่าเมื่ออิ่มตัวmcapควรมีค่า=salesใช่ไหมครับ

    1. ไม่จำเป็นครับ ขึ้นกับมาร์จิ้นด้วย ถ้ามาร์จิ้นระดับ 5% แล้ว mkt cap = sale ก็คือ pe 20 เท่า แต่ถ้าธุรกิจนั้น มาร์จิ้น 10% ก็เท่ากับ pe 10 เท่า

Leave a Reply to Green Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *