Skip to content

140: 0465: All about Gross Margin

Gross Margin เป็นข้อมูลสำคัญตัวถัดมาจากบรรทัดของรายได้ในงบการเงิน เกิดจากการเอากำไรขั้นต้น (Gross Profit) มาเทียบกับ (หารด้วย) รายได้

ในเบื้องต้นที่สุด GM ช่วยบอกเราว่า บริษัทตั้งราคาสินค้าได้สูงกว่าต้นทุนมากเท่าไร (โดยยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องค่าโสหุ้ยอื่นๆ ในการทำธุรกิจ) หรือชาวบ้านเรียกว่า “Mark up” ราคาขายได้แค่ไหนนั้นเอง บริษัทที่ยิ่งมี GM สูง ก็แปลว่า Markup ราคาสูง[premium level=”1″ teaser=”yes” message=”โปรดล็อกอินเพื่ออ่านบทความเต็ม หรือสมัครสมาชิกรายปี”]

บางคนบอกว่า GM บอกเราเกี่ยวกับ “ต้นทุน” ซึ่งนั่นก็อาจมีส่วนอยู่บ้าง แต่โดยมากแล้ว ผมมองว่า GM มักบอกเราเกี่ยวกับอำนาจของบริษัทในการ “ตั้งราคา” สินค้ามากกว่า  ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของฝั่งลูกค้ามากกว่าฝั่งซัพพลายเออร์ ธุรกิจที่มี GM สูงเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มมาก หรือถ้า GM ล่าสุดของบริษัทสูงขึ้นกว่างวดที่แล้ว ก็มักหมายถึง บริษัทกำลังมีอำนาจต่อรองลูกค้ามากขึ้น อาจเกิดจากการขายสินค้าที่พรีเมี่ยมขึ้น สินค้ากำลังขาดตลาด หรีอลูกค้าเยอะขึ้น เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณที่แสดงว่า ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทอาจกำลังดีขึ้นด้วย

เรื่องที่ต้องระวังเวลาวิเคราะห์ GM คือ เราควรใช้ GM เพื่อเปรียบเทียบพื้นฐานของบริษัทเดียวกันเทียบกับในอดีตเป็นหลัก ไม่ควรใช้ GM เปรียบเทียบข้ามบริษัทแม้จะขายสินค้าใกล้เคียงกันก็ตาม เพราะวิธีคำนวณ Cost of Good Sold (COGS) เพื่อเอามาใช้เป็นต้นทุนสินค้าในทางบัญชีของแต่ละบริษัทนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันได้มาก ทั้งที่ขายสินค้าอย่างเดียวกัน เพราะมาตรบัญชีเปิดทางเลือกไว้ให้สามารถคำนวณต้นทุนได้หลายวิธี ที่สำคัญได้แก่ วิธีคิดค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร วิธึคิดต้นทุนเฉลี่ยของสต็อกสินค้า (เมื่อก่อนมีเรื่อง FIFO vs. LIFO ด้วย แต่มาตรฐานการบัญชีล่าสุดเหมือนจะยกเลิก LIFO ไปแล้ว) การเปรียบเทียบ GM ข้ามบริษัทจึงให้ภาพที่ผิดเพี้ยนได้ง่าย

นอกจากนี้ เวลาเทียบ GM ของบริษัทเดียวกันระหว่างงวด ควรตรวจดูในหมายเหตุประกอบงบด้วยว่า บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีที่เกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนในงวดนั้นๆ ด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็จะทำให้เปรียบเทียบข้ามงวดไม่ได้อีก ทั้งที่เป็นบริษัทเดียวกันก็ตาม

GM จึงเป็นตัวเลขที่หาตัวจับตัวยากตัวหนึ่ง…

มีบางคนเข้าใจว่า ต้นทุนสินค้าขาย คือต้นทุนแปรผัน ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารคือต้นทุนคงที่ ก็เลยเข้าใจว่าบริษัทที่มี GM ต่ำๆ แสดงว่าเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนแปรผันสูง แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะที่จริงแล้ว สิ่งที่รวมอยู่ในต้นทุนสินค้าขายนั้น มีทั้งต้นทุนแปรผันและต้นทุนคงที่ด้วย เราจึงไม่อาจใช้ GM เป็นเครื่องชี้ว่าธุรกิจของบริษัทมี Fixed Cost มากหรือน้อย ที่จริงแล้ว ถ้าเราอยากรู้โครงสร้างต้นทุนจริงๆ ของบริษัทต้องดูจาก บัญชีต้นทุน (Cost Accounting)  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว บริษัทจะจัดทำต่างหากเพื่อไว้ใช้วางแผนกันเองภายในบริษัทเท่านั้น คนภายนอกดูไม่ได้

บางคนเข้าใจว่าต้นทุนสินค้าขายไม่มีค่าเสื่อมราคา หรือค่าแรงพนักงานปนอยู่ นั่นก็เป็นความเข้าใจผิดอีกเช่นกัน ธุรกิจประเภทโรงงานผลิตสินค้าจะทั้งค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรและค่าแรงของคนงานฝ่ายผลิตรวมอยู่ในต้นทุนสินค้าขายเป็นจำนวนมาก

ถ้าอยากรู้ว่าในงวดปัจจุบัน บริษัทมีค่าเสื่อมราคา ทั้งหมดเท่าไร ต้องดูจาก งบกระแสเงินสด เท่านั้น ดูจากงบกำไรขาดทุนไม่ได้เลย

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เวลาผมวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท ผมจะดูเพียงแค่ GM ของงวดล่าสุดเทียบกับงวดที่แล้วว่าเปลี่ยนไปแค่ไหนเท่านั้น โดยเช็คดูด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดต้นทุนขายในงวดนั้นด้วยรึเปล่า ถ้า GM ล่าสุดเพิ่มขึ้นก็เป็นสัญญาณบวกว่าพื้นฐานของบริษัทอาจกำลังดีขึ้นด้วย (ดูควบคุมกับการเติบโตของรายได้ เพื่อดูว่ารายได้เติบโตแบบมีคุณภาพแค่ไหน) ส่วนอะไรที่มากไปกว่านี้เกี่ยวกับ GM ผมจะไม่เอาไปตีความเพิ่มเลย เพราะเสี่ยงต่อการแปลความผิดเพี้ยนได้

เราควรใช้ตัวเลขในงบการเงินแค่เท่าที่มันยังสื่อความหมายได้ดีก็เพียงพอแล้ว ไม่ควรให้มากหรือน้อยกว่านั้น การดูลึกมากๆ ไม่ได้แปลว่าจะดีเสมอไปครับ เหมือนอย่างที่เขาพูดกันว่า “Simply because we have it doesn’t mean we have to use it.” เป็นหลักที่ใช้ได้ดีสำหรับ Gross Margin ครับ[End]

17 thoughts on “140: 0465: All about Gross Margin”

  1. สอบถามคุณ นรินทร์ 3 เรื่อง ครับ
    1.เข้าใจว่า รายการค่าเสื่อมราคา ให้ไปดูที่ รายการสว่นของรายที่ บวกกลับที่คิดเป็นเงินสดเข้าไปที่งบกระแสเงินสด ใข่ไหม ครับ
    2. ส่วนต้นทุนสินค้าขายผมเข้าใจว่า มีแต่ ค่าแรง ค่าของ กับค่าโสหุ้ย 3 ตัวที่รวมอยู่ด้วยกัน แต่ยังสับสนที่คุณนรินทร์บอกว่าใน ต้นทุนขาย ยังมีค่าเสือ่มราคารวมอยู่ด้วยครับ
    3.ระหว่าง Gross profit margin กับ NOPAT เราควรจะให้น้ำหนักของอะไรมากกว่ากันในการวัดผลการดำเนินงาน ครับ

  2. นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

    1. ใช่ครับ
    2. ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) มี ค่าของ (หรือวัตถุดิบ) ค่าแรงและค่าเสื่อมของฝ่ายผลิต รวมอยู่ ส่วนค่าโสหุ้ย ค่าเสื่อมสำนักงาน กับเงินเดือนของพนักงานแผนกอื่น จะอยู่ใน SG&A
    3. ขึ้นอยู่กับต้องการตีความอะไรเกี่ยวกับบริษัท ทั้งสองตัวต่างมีที่ใช้ของมัน

  3. เป็นบทความที่อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้น ดีครับ

  4. ขอบคุณครับ เมื่อก่อนเปิดดูงบผมมักจะดูบรรทัดสุดท้ายก่อนเลย และคิดว่าทั่วๆไปก็คงดูเหมือนผมไม่น้อยครับ

  5. พี่โจ๊กจะมีการสอนอ่านงบการเงินไหมครับ?

    เนื่องจากผมอ่านแล้วยังมึนๆ อยู่ (ดูในหนังสือวัดมูลค่าหุ้น)

  6. โดยส่วนตัวผมดูงบการเงินค่อนข้างน้อย เพราะผมชอบมองอนาคตมากกว่า และผมลงทุนในหุ้้นทีละหลายๆ ตัว เป็นการกระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว จึงไม่ได้ตรวจงบการเงินแบบละเอียดมากๆ

    หนังสือสอนวิเคราะห์งบการเงินก็เห็นพอจะมีอยู่บ้างในแผงหนังสือ ส่วนตัวคงไม่คิดจะเขียนเป็นหนังสือออกมาครับ

  7. ผมสมัครสมาชิกไปแล้ว
    จะขอ User และ Password ยังไงครับ
    ID การทำรายการ ID576088347U482460J
    จะเข้าอ่านยังไงครับของคำแนะนำด้วยครับ
    [email protected]

  8. account นี้ active แล้ว ใช้งานได้เลย

    เร่ิมใช้งานโดยการล็อกอินที่นี่ครับ
    https://dekisugi.net/wp-login.php

    (ใช้ username/password ที่ได้เลือกไว้ตอนที่สมัครครับ)

    เมื่อล็อกอินผ่านแล้ว ก็เลือกอ่านบทความได้ที่นี่ครับ
    https://dekisugi.net/member

    กรณีลืมพาสเวิร์ด ให้กรอกอีเมลที่ใช้จ่ายเงินเพื่อขอรับพาสเวิร์ดทางอีเมลที่นี่ครับ
    https://dekisugi.net/wp-login.php?action=lostpassword

    ถ้าทำแล้วไม่ได้รบกวนติดต่อ [email protected] อีกทีครับ

  9. ขอบคุณครับ
    อ่านได้แล้วและจะติดตามบทความดีๆตลอดไปครับ
    อยากให้ออกหนังสือเกี่ยวกับ ” การวัดมุลค่าหุ้น ” อีกรอบ
    เกี่ยวกับหุ้นที่เลือกใน 7thLTG และหุ้นที่จะเลือกเข้า 7thLTG
    อยากจะทราบวิธีการคำนวณและแนวคิด

    1. ผมเช็คดู user Istyle active แล้ว ควรจะใช้งานได้

      ลองล็อกอินที่่ https://dekisugi.net/wp-login.php

      เมื่อผ่านแล้ว น่าจะอ่านบทความใน https://dekisugi.net/member ได้ทุกบทความ

      ถ้าไม่ได้ยังไงรบกวนติดต่อ [email protected] อีกทีครับ

  10. ได้แล้วครับ ทีแรกเหมือน login ได้แต่ยังอ่านไม่ได้
    ขอบคุณครับ : )

  11. เรียนถามพี่โจ๊ก แล้วเราสามารถเทียบ SG&A ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันได้ไหมครับว่า บริษัทนี้ได้เปรียบในเรื่องบริหาร SG&A ได้ดีกว่าคู่แข่ง

  12. @oongis

    ถ้าสองบริษัททำธุรกิจที่คล้ายกันมากจริงๆ ก็พอเทียบกันได้ครับ
    ถ้าเป็นพวกกลุ่มธุรกิจจะเทียบกันได้ยาก เพราะธุรกิจมักเหมือนกันแค่ส่วนเดียว ทำให้ไม่เป็น apple-to-apple comparison

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *