ได้อ่านบทความชื่อ Not so expert ในนิตยสาร the Economist ฉบับล่าสุด เป็นบทความที่ดีมาก อยากให้นักลงทุนทุกท่านอ่านกันครับ
Buttonwood: Not so expert | The Economist
เขาเขียนได้ดีมาก เลยอยากให้อ่านตัวต้นฉบับเลย ครั้นจะแปลไทยให้อ่านก็กลัวจะละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับใครที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง ผมสรุปใจความสำคัญไว้ให้ข้างล่างตามนี้ครับ (แต่ถ้าเป็นไปได้อยาก ผมให้อ่านจากต้นฉบับกันมากกว่า)
- ถ้าคุณถามกูรูหลายๆ คนไปเรื่อยๆ ในที่สุดคุณก็ได้จะคำตอบแบบที่ใจคุณอยากได้ คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อกูรูสูง แม้การวิจัยจะพบว่า กูรูมีความสามารถในการคาดการณ์อนาคตต่ำ และยิ่งกูรูดูมีความมั่นใจมากเท่าไรก็ยิ่งแม่นยำน้อยลงเท่านั้น
- ในการทดลองที่มีนักศึกษาชาวไทยและสิงคโปร์เป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้กลุ่มตัวอย่างทายผลของการทอยเหรียญ โดยที่กลุ่มตัวอย่างสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อคำทำนายล่วงหน้าได้ ทั้งที่การทอยเหรียญเป็นการสุ่มที่ไม่มีทางทำนายล่วงหน้าได้เลย แต่กลุ่มตัวอย่างก็ยังมีแนวโน้มที่จะซื้อคำทำนายที่ทายได้ถูกต้องในการทอยเหรียญครั้งก่อน ชี้ให้เห็นว่า คนเรามีความต้องการที่จะรู้อนาคตล่วงหน้ามากกว่าเรื่องของเหตุผล
- วอเรน บัฟเฟต กล่าวว่า มันไม่คุ้มค่าที่จะพยายามทำนายตลาดในระยะสั้น แต่คนในแวดวงการเงินจำนวนมากก็มีรายได้มาจากการทำนาย สถิติบอกว่า active funds ชนะตลาดไม่ได้โดยเฉลี่ย แต่นักลงทุนก็ยังเลือกที่จะลงทุนในกองทุนที่ active มากกว่าอยู่ดี
- ความซับซ้อนของข่าวสารในตลาดทำให้นักลงทุนรู้สึกว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และต่อให้รู้ว่าข่าวในตลาดนั้น แท้จริงเป็นเกมของ insiders แต่ก็ยังต้องการมันอยู่ดี
- แรงจูงใจที่จะเชื่อกูรูยังมาจาก “ความกลัวเสียใจ” ของเราเองด้วย ถ้านักลงทุนเลือกหุ้นเองแล้วเจ๊งไป ก็ต้องโทษตัวเองคนเดียว แต่ถ้าลงทุนตามกูรูแล้วพลาด เราก็สามารถโทษกูรูได้
- อย่างไรก็ตาม การฟังคำแนะนำของกูรูก็มีประโยชน์ในบางเรื่อง มีกูรูหลายคนที่แนะนำไม่ให้ลงทุนกับ Madoff หรือคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีประหยัดภาษีจากการลงทุนก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่ปัญหาก็คือว่า เราพึ่งพากูรูมากเกินไป คำแนะนำให้ขายหุ้น A ไปซื้อหุ้น B มีอยู่มากเกินไปในตลาด และทำให้เราเสียค่าคอมเกินจำเป็น
- อุตสาหกรรมที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ได้เพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ชอบอนาคตที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ประโยชน์ของกูรูจึงเป็นเรื่องการช่วยให้รู้สึกสบายใจมากกว่าเป็นเรื่องของการคาดการณ์ เหตุผลเดียวกับที่เราชอบดูดวงนั่นเอง
ผมเคยคุยกับพี่ Mudleygroup เจ้าของเฮดจ์ฟันด์ พูดแบบนี้เปี้ยบเลยครับ ว่า คนเราย่อมมีความอยากรู้อนาคตโดยธรรมชาติ ทำให้อาชีพนักวิเคราะห์ ให้ความเห็น ทำนายตลาดอยู่ได้ เพราะเมื่อมีความต้องการ ก็ต้องมีคนตอบสนองความต้องการ …. ส่วนนักลงทุนชั้นแนวหน้า อย่างบัฟเฟต์ โซรอส หรือคนอื่นๆ ไม่เชื่อเรื่อง predict the market
ให้สติในการลงทุนช่วงที่ตลาดผันผวนอย่างนี้ได้ดีมากเลยครับ ขอบคุณมากครับ
นักวิเคราะห์ ทายเสร็จแล้วต้องพูดว่า ฟันธง ด้วยนะครับ
กูรู จะก้าวหน้าหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าเขาทำให้ port ลูกค้า perform ดี แค่ไหน
แต่อยู่ที่ว่าเขาพูดจาน่าเชื่อถือแค่ไหน