สามปีที่ผ่านมา เราอยู่ในยุคเงินกระดาษล้นโลก แบบรุนแรงที่สุดเท่าที่โลกเคยเป็นมา และก็มีความเป็นไปได้สูงว่า เราจะยังอยู่ในสภาวะแบบนี้ต่อไปอีกสามปีข้างหน้า เพราะภาระหนี้ของรัฐบาประเทศที่พัฒนาแล้วสูงมากและไม่น่าจะลดลงได้ง่ายๆ ด้วย เพราะต่อให้ไม่มีวิกฤตซับไพร์ม มันก็เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เพราะเรื่อง aging ฉะนั้นต่อให้เศรษฐกิจโลกฟื้น ดอกเบี้ยก็ปรับขึ้นได้บ้าง แต่ก็คงยังอยู่ในระดับที่ถือว่าต่ำต่อไป เพื่อช่วยลดภาระของรัฐบาลเหล่านี้ในการแบกหนี้
สถานการณ์นี้ผมถือว่า เป็นสถานการณ์พิเศษที่ไม่อยู่ในตำราการลงทุน เพราะไม่มีใครเคยเจอมาก่อน ดังนั้นแม้ว่าเราจะยังคงยึดหลักการลงทุนส่วนใหญ่ได้อยู่ แต่คงยึดถือแบบ 100% ไม่ได้ ต้องมีการคิดนอกกรอบร่วมด้วยบ้าง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงๆ มากๆ ตามตำรา ผมว่าอาจไม่ได้ซื้ออะไรเลยจนเกษียณก็ได้ กลายเป็นการขาดทุนเรื่อง time value of money แต่ถ้าปรับแนวคิดใหม่เป็นซื้อหุ้นที่ราคาเหมาะสมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องถูกเกินจริงเสมอไป ก็อาจเป็นวิธีคิดที่ยังยึดหลักการลงทุนไว้อยู่ แต่ว่าเหมาะกับภาวะเงินล้นโลกมากขึ้น เป็นต้น
ตอนที่เขียนบทความนี้ มีแนวโน้มเป็นไปได้สูงว่า เศรษฐกิจโลกในช่วงข้างหน้าน่าจะชะลอตัวลง แต่ผมก็ยังมองว่า แม้จะเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่ถ้าให้เวลาปรบตัวสักพัก เศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่น่าจะกลับมาเติบโตได้ใหม่ เพราะการขยับฐานะของคนในประเทศเหล่านี้เป็นเมกกะเทรนด์ที่รุนแรงมาก และจะสร้างกำลังซื้อใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ประกอบกับ ประเทศเหล่านี้ยังมีฐานะทางการเงินที่ค่อนข้างดีทีเดียว เพียงแต่ที่ผ่านมายังเสพติดกับการส่งออก จึงต้องใช้เวลาปรับโครงสร้างเพื่อให้กลับมาเติบโตด้วยการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ดังนั้นผมมองว่า ธุรกิจที่มีลูกค้าเป็นผู้บริโภคในประเทศ โดยเฉพาะเป็น end-consumers และยิ่งถ้ามีวัตถุดิบเป็นสินค้านำเข้าด้วยแล้ว จะยิ่งอยู่ในจุดที่ดีที่สุดในช่วงต่อไป หรืออย่างน้อยน่าจะดูดีกว่ากลุ่มอื่นๆ นี่คือว่าเป็นหุ้นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกที่น่ามองครับ
กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็น่าสนใจ เพราะทุกวันนี้เงินล้นโลกทำให้ financial assets แพงขึ้นไปมากแล้ว แต่พวกอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้แพงขึ้นมากเท่าไร (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ liquidity มันต่ำ) ทำให้มันยังเป็นทางเลือกของการเก็บเงินของคนที่เงินเหลือใช้ที่ยังไม่แพง ผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้จึงน่าจะยังมีโอกาสที่ดีต่อเนื่อง แน่นอนว่าภาวะ oversupply อาจเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ แต่ในระยะยาวน่าจะเป็นขาขึ้นได้
อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะมีการเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจโดยรวมคือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต พวกผู้ให้บริการมือถือน่าจะได้รับประโยชน์เต็มๆ เพราะดูเหมือนคู่แข่งรายใหม่ๆ จะเข้ามาได้ยากแล้ว ทำให้รายเดิมๆ ที่มีลูกค้าอยู่ในมือซึ่งมีกันอยู่แค่ไม่กี่รายได้รับประโยชน์เต็มๆ รวมทั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็น่าจะดีมาก เพราะคนใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การจราจรก็ติดขัด ติดที่ว่าบจ.บ้านเรายังมีหุ้นทำนองนี้ให้เลือกน้อย แต่ถ้าคุณจะลงทุนในธุรกิจอะไร เรื่องหนึ่งที่น่าจะพิจารณาคือบริษัทเป็นบริษัทที่รับมือกับเทคโนโลยีได้เร็วแค่ไหน
กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่เคยโดดเด่นมากในช่วงสามปีที่ผ่านมา ผมมองว่าถ้าหากไม่ได้แย่ลงก็คงไม่ได้ฟู่ฟ่าเท่าไรด้วยเช่นกัน เพราะแม้ว่าการพิมพ์เงินจะยังคงมีอยู่มาก แต่ในแง่ของ supply ที่แท้จริงของสินค้าพวกนี้ ดูเหมือนจะเริ่มเพียงพอมากขึ้น เพราะอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่ได้สูงมากเหมือนสมัยก่อนทำให้อุปทานโตได้ทันมากขึ้น อีกทั้งเราได้ให้เวลากับบริษัทเหล่านี้ที่จะหาวิธีจัดการกับต้นทุนพลังงานมานานมากพอแล้ว รถยนต์ไฮบริดจะแพร่หลายมากขึ้น โรงงานไฟฟ้าพลังแสงผุดขึ้นมามากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ดังนั้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีคงไม่โดดเด่นเท่ากับช่วงสามปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่คิดว่าจะถึงขึ้นย่ำแย่ด้วยเช่นกัน
เรื่องที่กังวลกันว่าจะเกิดวิกฤตฟองสบู่เอเชียรอบใหม่เพราะเงินล้นโลกทำให้ตลาดสินทรัพย์เกิดฟองสบู่แตกเร็วๆ นี้อีกหรือไม่นั้น ผมยังให้น้ำหนักเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เพราะฐานะการเงินของภาครัฐและเอกชนของไทยตอนนี้ถือว่าค่อนข้างเข้มแข็งมาก โอเคว่าอาจจะเกิดฟองสบู่แตกในตลาดทองคำหรือมีิวิกฤตรอบใหม่ที่มาจากนอกประเทศแล้วมาดูด fund flow ของเราออกไป ไม่ได้ปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้ แต่คิดว่าถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ มันอาจลงลึก แต่ก็จะกลับมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะถ้าจริงๆ แล้ว เศรษฐกิจภาคจริงมันไม่ได้มีปัญหาอะไร (ผมค่อนข้างเชื่อว่าจริงๆ เอเชียโตด้วยตัวเองได้ แต่ที่ผ่านมาเราไม่กล้าทำกันเอง) มันน่าจะกลับมาได้ไม่ยาก ดังนั้นถ้ามันจะเกิดเลย์แมนสอง หรืออะไรทำนองนั้น ก็ปล่อยมันเถอะ ยอมรอแป๊บนึงให้มันกลับมาใหม่ได้ ดีกว่ากลัวว่ามันจะมีก็เลยไม่ยอมลงทุนอะไรเลย คิดแล้วกลับจะได้ไม่คุ้มเสียครับ แต่ยังไงๆ ขอให้เลือกซื้อหุ้นที่ธุรกิจมันมั่นคงจริงๆ โดยไม่ขึ้นกับภาวะตลาดหุ้น อย่าไปซื้อพวกที่ขึ้นได้โดยพึ่งพา mood ตลาดเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วกลวงก็แล้วกัน
เรื่อง AEC ที่หลายคนมองกันว่าจะเป็นธีมหลักของการลงทุนในช่วงต่อไปนั้น โดยส่วนตัวผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก มันไม่ค่อยเชื่อว่าพอถึงปี 2015 แล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน มันออกไปทาง hype มากกว่า ที่จริงบริษัทที่มีศักยภาพที่จะไปต่างประเทศได้ในช่วงที่ผ่านมาก็มีอยู่หลายตัวอยู่แล้ว พวกนี้เค้้าไปเพราะว่าตัวเขาเก่ง ไม่ใช่ไปเพราะรอให้มี AEC บริษัทพวกนี้เป็นบริษัทที่น่าสนใจมานานแล้ว ไม่ต้องรอให้มี AEC ครับ ถ้ามี AEC พวกนี้ก็ยิ่งทำธุรกิจง่ายขึ้นนิดหน่อย ไม่ได้มันนัยสำคัญเพิ่มขึ้นเท่าไร ส่วนพวกที่มี AEC แล้วเพิ่งจะตื่นขึ้น ผมว่าน่ากลัวครับ คงต้องลองผิดลองถูกอีกหลายปีกว่าจะ go inter แล้วเวิร์คจริงๆ หันมามองพวกที่เค้าไปตั้งนานแล้วดีกว่า เพราะเค้าพิสูจน์ตัวเองมาแล้วว่าไปได้จริง
ส่วนธีม M&A growth ไม่รู้ว่าจะดีแค่ไหนแต่ที่แน่ๆ น่าจะยังเป็นธีมการเติบโตที่สำคัญของภาคธุรกิจที่เราจะได้เห็นต่อไปอีก เพราะไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่มีสภาพคล่องเหลือเพราะดอกเบี้ยต่ำ บริษัทเองก็มีปัญหาแบบเดียวกัน บางทีการลงทุนซื้อกิจการขึ้นมายังดีกว่าจอดเงินสดจำนวนมากๆ ไว้ในงบดุลเฉยๆ เราจึงควรมีความรู้ในการมองดีลเหล่านี้ไว้เพื่อมองหุ้นบ้าง เพราะบางดีลอาจจะเป็นดีลที่ดีจริงๆ ก็ได้ บางทีสมัยนี้การเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่ 0 มันอาจจะยากกว่าการไปซื้อเค้ามาเลยในหลายๆ กรณี M&A จึงไม่ได้ถึงกับเป็นการเล่นกลทางการเงินไปหมดทุกกรณี อย่างไรก็ตาม ต้องคอยจับตาดูฐานะการเงินของบริษัทที่ใช้กลยุทธ์เติบโตแบบนี้ให้ใกล้ชิด และบริษัทที่มี EBITDA ดีๆ น่าจะทำได้ดีกว่าบริษัทที่ capital intensive
กลุ่มสุดท้ายที่น่าสนใจคือ พวก B+ Player หรือ บริษัทที่ไม่ได้ถึงกับเป็นผู้นำตลาด แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้ถึงกับมีอะไรไม่ดี บริษัทพวกนี้หลายตัวดูแล้วยังมี Valuation ที่ไม่แพงเกินไปนัก แต่ถ้าตลาดโดยรวมเติบโตดีก็น่าจะเติบโตไปกับเขาได้ ซื้อลงทุนแล้วจึงไม่เสียวเท่ากับซื้อพวก superstock ซึ่งแม้ว่าซื้อ superstock แล้วมักจะวิ่งดี เพราะพิมพ์นิยมมีเม็ดเงินเข้ามาเล่นกันเยอะ แต่ก็ต้องซื้อแพงมาก ทำให้เป็นความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ชนิดหนึ่ง ถ้าหากคิดรวมๆ แล้ว บริษัทระดับ B+ ในอุตสาหกรรมที่มีอนาคตเลยดูกลับจะน่าสนใจกว่า superstock ไปซะแล้ว เพราะน่าจะยังมี Valuation ในระดับกลางๆ อยู่ เหมาะกับยุคที่ของแพงเต็มตลาดอย่างเช่นเวลานี้
ทำไมธุรกิจที่มีวัตถุดิบเป็นสินค้านำเข้าถึงจะดีเป็นพิเศษอะครับ
คุณ Saethavuth ครับ ผมเดาว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับค่าเงินของเราที่แข็งขึ้นจากการที่สภาพคล่องทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้นำเข้าน่าจะได้เปรียบครับ
เห็นตามคุณ kazuya เลยครับ
คุณนรินทร์คิดว่า หากในอนาคตข้างหน้า เศรษฐกิจของชาติที่พัฒนา้วฟื้นตัว จะกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าดูดซับสภาพคล่องของเงินที่ล้นโลกอยู่หรือไม่ และมีวิธีดูดซับสภาพล่องอย่างไร
ถ้าเศรษฐกิจฟื้น ธนาคารอาจเริ่มปล่อยสินเชื่อ ทำให้เฟดต้องรีบสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งอาจใช้การขึ้นดอกเบี้ย แต่ถ้าดูแลไม่ให้ขึ้นเร็วเกินไปได้ เค้าว่าจะไม่กระทบกับตลาดทุนนะครับ เท่าที่มีคนทำการศึกษาภาวะเช่นนี้ในอดีต
ได้มุมมอง ความรู้มากมาย ขอบคุณมากๆครับพี่โจ๊ก^_^
คุณนรินทร์
ฐานะการเงินของภาครัฐ และ เอกชน เข้มแข็ง สามารถดูจากอะไร , หาข้อมูลได้จากไหน รบกวนขอความรู้หน่อยครับ
ดูจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ทุนสำรองระหว่างประเทศ และหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีครับ หนังสือพิมพ์จะพูดถึงอยู่เรื่อยๆ
หุ้นกลุ่ม B+ คุณสุมาอี้ มองตัวไหนไว้บ้างน่ะครับ
ขอคำแนะนำอุตสาหกรรมที่มีอนาคตน่าจะเป็นอุตสาหกรรมไหนครับหลักๆ
เรื่อง Fiscal Cliff หรือหน้าผาทางการเงินการคลังที่จะเริ่มมีในปีหน้านี้ เห็นหลายๆท่าน(ผู้รู้)ออกมาพูดเรื่งนี้และทำนายว่าหลายๆประเทศ จะเริ่มดูดสภาพคล่องออกและใช้มาตรการรัดเข็มขัด … ผมรู้สึกว่ามันขัดแย้งกับมาตรการ QE infinity พอสมควร และยังค่อนข้างเชื่อว่าวิธีแก้ปัญหาของประเทศใหญ่ๆที่ยังคงมีต่อไปคือการอัดฉีดสภาพคล่อง
ท่านแม่ทัพมีความเห็นหรือให้น้ำหนักเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไรครับ ?
ช่วงนี้คงอัดฉีดเต็มตัว ไว้เลือกตั้งจบถึงจะค่อยคิดว่าจะรัดเข็มขัดหรืออัดฉีดเหมือนเดิม
โดยส่วนตัวคิดว่าสหรัฐ ยังมีความสามารถที่จะอัดฉีดต่อไปได้อีกเยอะมาก เนื่องจากสินทรัพย์ที่แทนดอลล่าร์ได้มีปริมาณไม่มากพอ ทำให้เป็นข้อได้เปรียบของเงินดอลล่าร์ต่อไป ดังนั้นจริงๆ แล้ว fiscal cliff คงไม่มีจริง สำหรับสหรัฐฯ ครับ เพียงแต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า ช่วงหลังๆ QE เริ่มได้ผลน้อยลงเรื่อยๆ ถึงฉีดได้อีก แต่ฉีดไปก็ไม่ได้ผล อันนี้จะเป็นโจทย์ใหม่ของสหรัฐฯ หากเศรษฐกิจไม่ยอมฟื้นครับ
พี่โจ๊กครับ ช่วยอธิบายตรงที่ว่า “สินทรัพย์ที่แทนดอลล่าร์ได้มีปริมาณไม่มากพอ” นิดนึงได้ป่าวครับ
อันนี้หมายถึงว่า ตอนนี้สกุลเงินหลักของโลกคือดอลล่าร์ และยังไม่มีอะไรที่เป็นสากลมากพอที่จะเอามาใช้แทนดอลล่าร์ได้หรอครับผม ?
ตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา ทุกประเทศใช้ดอลล่าร์เป็นทุนสำรองแทนการใช้ทองคำซึ่งเก็บไว้เฉยๆ ก็ไม่ได้ดอกเบี้ย เลยทำให้ ดอลล่าร์กลายเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าทองคำ
อีกอย่างหนึ่งก็คือ โลกอยากได้สื่อกลางแลกเปลียนหลักที่เป็นเงินแค่สกุลเดียว เพราะการแลกเงินไปมาจะยุ่งยากน้อยที่สุด ดอลล่าร์ก็เข้ามารับหน้าที่ตรงนี้ได้ดี เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจ ทำให้เงินสหรัฐฯ เป็นที่ยอมรับได้ง่าย
ทีนี้ถ้าทุกคนที่เคยเก็บความมั่งคั่งของตัวเองไว้ในรูปของดอลล่าร์เป็นหลัก อยากจะหนีออกจากดอลล่าร์พร้อมๆ กัน เพราะไม่มั่นใจในมูลค่าของมัน โลกก็ไม่มีสินทรัพย์อย่างอื่นที่มากพอที่จะรับกระแสเงินที่ไหลออกจากดอลล่าร์ได้ สินทรัพย์อื่นๆ จึงมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทั้งทองคำ และเงินสกุลอื่นๆ ครับ
รบกวนคุณโจ๊กช่วยเช็ค user name ให้ด้วยนะคะ เนื่องจากไม่สามารถอ่านบทความได้คะ ขอบคุณมากคะ
สองวันก่อนผมทดลองแก้ไขระบบนิดหนึ่ง เลยน่าจะเป็นสาเหตุให้สมาชิกบางคนอ่านบทความไม่ได้ ตอนนี้ได้แก้ไขกลับไปเป็นอย่างเดิมแล้ว คิดว่าน่าจะอ่านได้แล้ว คุณ Punyisa ลองดูอีกทีครับ ถ้าหากยังไม่ได้รบกวนแจ้งผมอีกครับ ขออภัยด้วยในความไม่สะดวกครับ
ยังอ่านไม่ได้คุณโจ๊ก พอล้อคอินแล้วก็ยังอยู่หน้าเดิมคะ ต้องไปคลิกที่ไหนเพิ่มรึป่าวคะ?
ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ หน้าเดิมที่ว่าคือ หน้าที่ให้ล็อกอิน หรือว่าหน้าแรก หรือว่าหน้าของบทความที่จะอ่าน ครับ?
ตอนนี้ไม่ได้ทำกล่องไว้ให้ล็อกอินทางด้านซ้ายแล้ว เวลาต้องการอ่านบทความสมาชิกอันไหน ก็ค่อยคลิกตรง Login ที่อยู่ตรงหน้านั้นๆ เพื่อล็อกอินตอนที่จะอ่านเลย หลังจากนั้นก็จะถือว่าล็อกอินแล้วไปตลอดหนึ่งชั่วโมง อ่านบทความอัันอื่นก็ไม่ควรจะถามล็อกอินซ้ำอีก
ผมลองเอากล่อง login ด้านขวามือกลับมาใช้ใหม่ ไม่รู้จะแก้ปัญหาได้รึเปล่า ลองดูครับ
เข้าลอ้อคอิน ที่ขวามือ สามารถอ่านได้แล้วคะ ขอบคุณคุณโจ๊กมากๆคะ
คำว่า capital intensive คือ อะไรครับ แล้ว ebitda ที่ดี ดูหรือวัดอย่างไรครับ
capital intensive คือ ธุรกิจที่เงินจม คืนทุนช้า capex สูง ถ้าจะโตมักต้องเพิ่มทุน
ebita ก็เอา กำไรจากการดำเนินงาน มาหักออกด้วยค่าเสื่่อมราคา หรือค่าตัดจ่ายต่างๆ ที่ไม่่ใช่เงินสด