ถ้าอยากเห็นภาพธุรกิจของหุ้นตัวนี้แบบเร็วๆ สิ่งที่ควรมองดูเป็นอันดับแรกเลยก็คือ break down revenue ของมันครับ
บริษัทนี้ขายทูน่าประมาณครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งคือกุ้ง ซาดีน แซลมอล และอื่นๆ รวมกัน โดยเป็น Global Company ที่มีการกระจายรายได้ในแง่ภูมิภาคที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบมาก เพราะขายอเมริกา 1/3 ยุโรป 1/3 และที่เหลืออีก 1/3 เมื่อก่อนนี้ขายแบบ OEM เป็นหลัก แต่หลังจาก M&A ครั้งใหญ่ก็กลายเป็นบริษัทที่ขาย OEM 60% อีก 40% เป็นสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง
ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปเป็นธุรกิจที่มีความเป็น Global สูงมากครับ เพราะสามารถหาวัตถุดิบจากทั่วโลก มาป้อนโรงงานผลิตที่อยู่ในประเทศๆ เดียว แล้วส่งกลับออกไปขายทั้งโลกได้เลย เพราะ Economics ของมัน support ให้ทำแบบนั้นได้ครับ (ค่าขนส่งไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับราคาสินค้า สินค้าเก็บได้นาน ฯลฯ) และจะว่าไปแล้ว ตอนนี้ประเทศไทยก็เป็นฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูปอันดับหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้
แต่สิ่งที่มาเป็นอุปสรรคก็คือ กำแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหภาพยุโรป ที่เก็บภาษีสูงมาก ทำให้อาหารทะเลกระป๋องนำเข้าเข้ามาแข็งกับผู้ผลิตในยุโรปไม่ได้ และนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ TUF ใช้วิธี M&A ซื้อกิจการอาหารกระป๋องในยุโรปซะเลย เพื่อให้เข้าสู่ตลาดนี้ได้แบบเต็มตัว แบรนด์ส่วนใหญ่ที่ TUF เข้าซื้อในยุโรปเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในตลาดด้วย
ในอเมริกันนั้นก็มีมาตรการกีดกันเหมือนกัน แต่ว่าภาษียังไม่สูงเท่า ทำให้อาหารกระป๋องนำเข้ายังพอเข้ามาแข่งขันได้ แต่ TUF ก็ใช้วิธีซื้อกิจการเพื่อให้ได้แบรนด์ใน US ด้วยเหมือนกัน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรต่างกับกรณีของยุโรป เพราะแบรนด์ที่เข้าซื้อใน US นั้นไม่แข็งเท่าไร และการแข่งขันโดยสินค้านำเข้าใน US ยังรุนแรงกว่าด้วย เพราะมาตรการกีดกันไม่หนักเท่ากับยุโรป
ความเสี่ยงของธุรกิจนี้ในแง่วัตถุดิบนั้นมีอยู่เสมอ เช่น ราคาวัตถุดิบที่ผันผวน เพราะเป็นสินค้าเกษตร บ่อยครั้งก็เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัญหาเรื่องโจรสลัดจับลูกเรือไปเป็นตัวประกันเรียกค่าไถ่ แต่ที่ผ่านมา ปัญหาเหล่านี้มักเป็นปัญหาชั่วคราวทั้งสิ้น คือถ้าโผล่มาที กำไรของบริษัทก็จะลดลงไป 1-2 ไตรมาส จากนั้นก็กลับสู่ภาวะปกติ ไม่ค่อยเป็นปัญหาที่สร้างปัญหาให้กับบริษัทแบบเรื้อรัง อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก นักลงทุนระยะยาวจึงควร ignore ปัจจัยเสี่ยงพวกนี้ไปเลยจะง่ายที่สุด อย่าไป panic มาก
ส่วนปัญหาทูน่าใกล้สูญพันธ์นั้น ที่จริงแล้วเป็นคนละพันธ์กับที่ใช้ทำอาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมที่น่าจะกระทบจริงๆ น่าจะเป็นพวกธุรกิจปลาดิบ ซึ่งใช้ทูน่าตัวใหญ่ๆ เป็นหลัก ส่วนกุ้งนั้นส่วนใหญ่ปัจจุบันนี้เป็นการเลี้ยงในฟาร์มในประเทศเป็นหลัก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ข่าวร้ายเกี่ยวกับกุ้งน่าจะได้แก่ การที่ไทยจะหมด GSP กุ้งในตลาดยุโรปภายในปี 2557 แต่ TUF มีรายได้จากการส่งกุ้งไปยุโรปแค่ 2% ของรายได้รวมเท่านั้น หุ้นที่่น่าจะกระทบโดยตรงมากกว่าคือ CFRESH ซึ่งส่งออกกุ้งเป็นรายได้หลัก
อาหารทะเลกระป๋องนั้นเป็นอาหารที่ค่อนข้างเหมาะกับยุคสมัยใหม่ เพราะไขมันน้อย มีโอมาก้าสาม และยังบรรจุอยู่ในรูปที่เหมาะกับคนที่อยู่ในคอนโด ดังนั้น ธุรกิจของ TUF จึงไม่น่ามีปัญหาถ้าจะเติบโตให้ได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นของที่คนเราคุ้นเคยกันมานานมากๆ แล้ว ทำให้คงไม่ถึงกับเติบโตแบบก้าวกระโดดได้เช่นกัน น่าจะเป็นการค่อยๆ โตไปเรื่อยๆ หลังจากนี้ ไป (แบรนด์ยุโรปอันดับหนึ่งก็ซื้อไปแล้ว ในอเมริกาเจ้าตลาดเค้าคงไม่คิดจะขาย ฉะนั้นการเติบโตเยอะๆ ด้วย M&A หลังจากนี้อาจทำไม่ได้เยอะ) ส่วน AEC นั้น เป็นโอกาสของ TUF ในเรื่องการนำแบรนด์ฟิชโช่และซีเล็คทูน่าเข้าไปเปิดตลาด เป็นหลัก เพราะแบรนด์ไทยน่าจะพอเข้าตลาด AEC ได้ ส่วนในตลาดโลกนั้น การเจาะแบรนด์เพิ่มไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะการยอมรับแบรนด์จากประเทศไทยไม่ใช่ของง่าย คงอาศัยการเติบโตด้วย OEM และออกานิคของแบรนด์เดิมที่ได้ซื้อมาควบคู่กันไป ตลาด OEM ยังมีความจำเป็นอยู่แม้กำไรจะต่ำกว่าหาก TUF ยังต้องการครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง
รวมๆ แล้ว TUF น่าจะยังเป็นหุ้นที่พอจะเติบโตไปเรื่อยๆ ได้ในระยะยาว เพราะพอจะเข้ากันได้กับเมกะเทรนด์ แต่คงไม่ใช่อัตราการเติบโตที่สูงมากนัก เพราะธุรกิจการผลิต ถ้าจะให้โตแบบออกานิคอย่างเดียว จะเป็นธุรกิจที่โตเร็วๆ ได้ยาก เพราะมัน capital intensive มาก
ส่วนความผันผวนของกำไรระหว่างปีก็คงมีอยู่เรื่อยๆ เพราะปัจจัยทางธรรมชาติ ซึ่งคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากมากด้วย แต่มีข้อดีคือปัจจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่เรื้อรัง (ถ้าปีไหนมี ก็จะแย่หน่อย แต่ว่าจะไม่แย่ข้ามปี พอปัจจัยหายไป ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิมได้) ธุรกิจโรงงานส่วนใหญ่จะมี cycle ของมัน คือ ลงทุน CAPEX ใหญ่ๆ สักปีหนึ่ง แล้วก็โตไปเรื่อยๆ สักสี่ห้าปี ก่อนที่จะต้องลงทุน CAPEX ใหญ่อีกครั้ง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรอบใหม่ ซึ่ง TUF ก็กำลังอยู่ในช่วงที่จะลง CAPEX เพ่ิมพอดีในปีหน้า จึงอาจเป็นสิ่งที่กดดันกำไร (ค่าเสื่อมสูงขึ้น) แต่หลังจากนั้นไปก็น่าจะเป็นรอบของการ utilize กำลังการผลิตต่อไปได้อีกหลายปีโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มแบบมีนัยสำคัญ จึงเป็นตัวที่ไปได้เรื่อยๆ แต่ไม่หวือหวา ถ้าหากราคาร่วงลงมาเพราะมีปัจจัยลบระยะสั้นมากระทบก็จะเป็นโอกาสที่น่าสนใจเสมอครับ
มาแล้วบริษัทที่1
“เพราะธุรกิจการผลิต ถ้าจะให้โตแบบออกานิคอย่างเดียว จะเป็นธุรกิจที่โตเร็วได้ยาก เพราะมัน แคปปิตอล อินเท๊นซีฟมาก”
ช่วยแปลประโยคนี้ให้หน่อยครับ ไม่เข้าใจครับ
พวกโรงงานสร้างเสร็จแล้วก็ยังต้องเสียเงินอีกทุกปีเพื่อปรับปรุงบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา เวลาขายมากขึ้นก็ต้องลงทุนเพิ่มเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สอดคล้อง ก็เลยเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนเพิ่มตลอดเวลา เรียกว่า capital intensive
เห็นภาพเลย โรงงานยิ่งโต ยิ่งมีภาระผูกพันเพิ่มขึ้น
ทำไมผมอ่านไม่ได้ครับ หรือสมาชิกหมดอายุ
ขอบคุณครับส่วนตัวผมก็ถือตัวนี้มานานหวังที่จะเห็นบริษัทโตแบบยั่งยืนครับ
หากเทียบระหว่าง TUF กับ CPF ล่ะครับคุณนรินทร์ ?
คิดว่าธุรกิจแบบ CPF, TUF สุดท้ายแล้วมันอยู่ที่การปรับปรุงมาร์จิ้นครับ
เพราะธุรกิจนี้ราคาวัตถุดิบผันผวน เวลาราคาตกต่ำ ถ้ามาร์จิ้นบางเกินไป จะถึงขั้นขาดทุนได้เลย แต่ถ้ามาร์จิ้นสูงจะไม่ได้รับกระทบมากนัก
มาร์จิ้นจะสูงได้ต้องเพิ่ม value-add ให้กับตัวเอง เช่น สินค้าต้องมีแบรนด์ของตัวเอง หรือเพิ่มกิจกรรมของบริษัทในห่วงโซ่ให้กว้างขึ้นครับ
tuf ถ้าคาดหวังการเติบโตแบบเรื่อยๆ ไม่หวือหวามาก ซักประมาณ 10% /ปี จะพอมีโอกาสเป็นไปได้มั้ยครับพี่?
– ขอบคุณมากครับ ^^
ถ้า 10% น่าจะเป็นไปได้ครับ
แล้วอย่างนี้ต่อไปจะเข้าไปอยู่ใน 7thLTG ได้ไหมครับ เช่น แทน DCC เพราะดูยาวๆความเสี่ยงก็ไม่มากเท่าไร
ก็เป็นไปได้ครับ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเลือกอื่นๆ ที่มีด้วย
ตอนนี้กำลังคิดๆ อยู่ว่า ถ้าหากปี 2013 SET ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกอยู่ อาจจะทยอยสลับตัวหุ้นออกบ้าง โดยเอาตัวที่มี Valuation สูงลิบลิ่วออกไปบ้าง แล้วเปลี่ยนตัวที่โตเหมือนกัน แต่ Valuation ในระดับปานกลางเข้ามาแทน อาจทำปีละตัว อะไรอย่างนี้
แต่ยังเป็นแค่แนวคิดนะครับ ยังไม่ได้ตัดสินใจ
ไม่แน่ใจว่า สมาชิกหมดอายุหรือยัง และจะดูข้อมูลได้จากที่ไหนค่ะ
ดูได้จาก dekisugi.net/member เวลาล็อกอินแล้วครับ
ผมเห็น ผบห ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ให้ได้8000ล้านเหรียญสหรัฐในปี2563(โตปีละ12%) พี่โจ้กคิดว่าเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ใช่ไหมครับ
ปีละ 12% อยู่ในข่ายที่เป็นไปได้นะครับ แต่เป็นขีดจำกัดบน ตามความเห็นของผมนะ
อีกส่วนที่บริษัทจะพยายามทำคือปรับปรุงมาร์จิ้นให้สูงขึ้น ส่วนนี้จะช่วยเพิ่มกำไรได้อีกทาง
พี่โจ้กพอบอกได้ไหมครับว่าตัวไหนที่คิดอยู่ว่าจะเอาออก ผมเห็นvaluationสูงทุกตัวเลย เว้นบ้านปูกับกระเบื้อง
ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเลยฮะ
ถามเรื่องTUFต่อหน่อยครับพี่…พี่โจ้กคิดว่าเรื่องค่าเงินจะกระทบบริษัทเยอะไหมครับ เพราะมีแนวโน้มเป็นไปได้ว่าเงินบาทจะแข็งขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ดอลล่าร์อ่อนลงจากมาตรการต่างๆของFed
ก็คงมีผลบ้าง แต่ TUF เป็น import content เยอะเหมือนกัน มันจะ cancel out กันไปได้ส่วนหนึ่ง
ผมเคยเห็นพี่โจ้กโพสต์ประมาณว่า TUF กับ CPF มีความใกล้เคียงกันมาก ทั้ง2บริษัทนี้ต้องพยายามทำ Margin ให้เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพิ่มยอดขายหรือกำลังผลิตอย่างเดียว
ผมเลยอยากถามพี่โจ้กเพิ่มเติมหน่อยครับว่า CPF จะดูได้เปรียบ TUF เรื่องการมีช่องทางจำหน่ายเป็นของตัวเองรึป่าว เพราะมีทั้ง CPALL และกำลังจะมี Makro มาช่วยขาย แต่TUFยังคงเน้นแต่ด้านการผลิตอย่างเดียว…
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะถามพี่โจ้กก็คือ เนื่องจากธุรกิจพวกนี้เป็นพวก Capital Intensive เราสามารถใช้ P/B ในการบอกว่าหุ้นถูกหรือแพงได้มากกว่าหุ้นประเภทอื่นรึป่าวครับ…
ส่วนตัวผมแอบสังเกตว่าทั้ง2บริษัท ผบห มักจะให้เป้าหมายในอนาคตว่าจำทำยอดขายเท่าไร แต่ไม่พูดถึงกำไรเลย เหมือนว่า ผบห เองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าปีต่อๆไปจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงของวัฏจักรกันแน่
CPF เพิ่มมาร์จิ้นโดยการหันมาทำอาหารแปรรูป มากขึ้น ทำอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์น้อยลง เพราะมาร์จิ้นของอาหารสำเร็จรูปดีกว่าการเลี้ยงสัตว์ แต่หลังๆ ก็ไปซื้อกิจการเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์มาเพิ่ม เป็นการเสียแผนอยู่เหมือนกัน แต่ได้รายได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด
TUF เพิ่มมาร์จิ้นโดยพยายามทำแบรนด์ตัวเองเพิ่มขึ้น OEM น้อยลง การไปซื้อกิจการมาก็ซื้อแบรนด์มาทั้งนั้น
ธุรกิจการผลิตก็น่าจะพอดู PB ได้ แต่ว่ากรณีทั้งสองบริษัทก็ดันซื้อกิจการไปเยอะมาก ทำให้ตัวเลขในงบดุลมันหลอกๆ อยู่เยอะเหมือนกัน
ปกติ บจ.ก็ห้ามพูดเรื่องกำไรอนาคตอยู่แล้ว พูดได้แต่รายได้