Jim Slater ก่อตั้งบริษัทเพื่อการลงทุน Slater Walker กับเพื่อนของเขาในปี 1964 และยังเป็นคอลัมนิสต์ด้านการลงทุน The Capitalist ใน Sunday Telegraph ซึงอธิบายวิธีการลงทุนของเขาอีกด้วย
Slater แนะนำให้นักลงทุนเน้นลงทุน ระยะยาวในหุ้นเติบโตเป็นหลัก และลงทุนระยะสั้นในหุ้นแนวอื่นๆ หุ้นเติบโตที่น่าลงทุนตามความเห็นของ Slater คือหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรสูงกว่าระดับเฉลี่ยแต่ในเวลาเดียวกันกลับมีพีอีต่ำกว่าระดับเฉลี่ยด้วย วิธีมองหาหุ้นเติบโตของ Slater นั้น สรุปได้ 9 ข้อเรียกชื่อว่า the Zulu Principle
[list style=”2″ underline=”1″]
[/list]
ในแง่ของการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันนั้น Slater แนะนำว่า ตัวชี้วัดที่ดีของบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือ่กว่าคู่แข่งคือการมี Profit Margin และ ROIC สูงกว่าคู่แข่งขัน และ Slater ยังแนะนำให้สนใจบริษัทที่กำลังมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ มากเป็นพิเศษ เพราะการเติบโตมักจะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเปลี่ยนตัวผู้บริหาร การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การที่รัฐเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ๆ สำหรับอุตสาหกรรมนั้นๆ รวมไปถึง M&A ต่างๆ
ในแง่ของ Timing นั้น Slater แนะนำว่า เราไม่ควรซื้อหุ้นเติบโตในขณะที่ราคาในขณะนั้นอยู่ต่ำกว่า ราคาสูงสุดในรอบสองปีเกิน 15% เพราะ Slater มองว่า ถ้าราคาหุ้นตกไปมากขนาดนั้น มักเป็นเพราะบริษัทกำลังประสบปัญหาที่รุนแรงในระดับที่ทำให้พื้นฐานของธุรกิจเปลี่ยนไปแบบมีนัยสำคัญ ในขณะที่ถ้าหากราคาหุ้นยังไม่ได้ตกลงมากขนาดนั้นอาจเป็นแค่การปรับฐานธรรมดาซึ่งอาจเป็นโอกาสในการเข้าซื้อมากกว่า และห้ามซื้อเฉลี่่ยขาลงหุ้นเติบโตเด็ดขาด หุ้นเติบโตที่ดีต้องสร้างราคาสูงสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ใช่สร้างราคาต่ำสุดไปเรื่อยๆ
Slater เชื่อว่า ถ้าผู้บริหารถือหุ้นของบริษัทด้วยอย่างมีนัยสำคัญ จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำบริษัทให้ดีมากกว่าการเป็นแค่มืออาชีพมารับจ้างบริหารธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารไม่ควรถือหุ้นเกิน 20% เพราะจะเริ่มมีความสามารถในการ block bid ถ้าหากบริหารไม่ดี จะไม่่มีทางแก้ไขหรือเปลี่ยนตัวผู้บริหารได้ง่ายๆ
Slater บอกว่า ถ้าเราสามารถซื้อหุ้นเติบโตได้ตั้งแต่มันยังไม่เป็นที่สนใจของตลาดจะได้ผลตอบแทนแบบท่วมท้น เพราะผลตอบแทนของหุ้นนอกจากจะมาจากกำไรที่เพิ่มขึันของบริษัทแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังเกิดจากการที่ตลาดปรับมุมมองขึ้นเป็นเชิงบวกแล้วทำให้พีอีที่เหมาะสมของบริษัทถูกปรับให้สูงขึ้น นั่นจะทำให้ราคาหุ้นทะยานขึ้นทั้งที่กำไรยังไม่ต้องเพิ่มขึ้นเลย และบ่อยครั้งผลตอบแทนในส่วนนี้ยังมากกว่าผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของกำไรเสียอีก
อย่างไรก็ตาม Slater บอกว่าหุ้นเติบโตส่วนใหญ่ราคาจะไม่ถูกมากนัก อย่ารอซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาถูกมาจนเกินไปเพราะจะไม่ได้ซื้อ PEG ratio ในระดับ 0.66-0.75 เป็นระดับที่น่าดึงดูดมาก แต่ถ้ายังไม่เกิน 1.0 ก็ยังถือว่าพอรับได้ และเขาชอบหุ้นที่มีมาร์เกตแคปขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ เพราะหุ้นเหล่านี้มักถูกละเลยจากตลาด ทำให้มีช่องว่างในการทำกำไรได้เยอะ
แล้วในบ้านเรามีบริษัทไหนที่มีการแบ่งคลาสหุ้นเวลาโหวตออกเสียง ครับ
แล้วคำว่า block bid มีความหมายอะไรบ้างครับ
บ้านเราผมยังไม่เห็นบริษัทไหนแบ่งคลาสหุ้นเป็น A และ B แต่เห็นกลไกหนึ่งคือ NVDR ใครซื้อหุ้น NVDR จะไม่มีสิทธิโหวตโดยอัตโนมัติ มีไว้สำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการซื้อหุ้นเกิน Foreign Limit แต่นักลงทุนในประเทศจะซื้อด้วยก็ได้
block bid ในที่นี้หมายถึง block vote คือ คนเดียวมีเสียงมากพอที่จะโหวตให้มติไหนตกหรือผ่านได้ง่ายๆ เพราะคนอื่นรวมเสียงกันไม่ได้
ชอบตรงที่แนะนำให้มีการลงทุนทั้งระยะยาว (ในหุ้นเติบโต) และลงทุนระยะสั้น ในหุ้นประเภทอื่นๆ
ช่วงที่หุ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระแสเงินเข้ามาในตลาดมากๆ ผมจะเพิ่มสัดส่วนลงทุนในพอร์ทสั้น VIVI แนวไวไว
ช่วงที่หุ้นราคาถูกมีเกลื่อนตลาด ตอนนั้นลงเงินแต่หุ้นดีๆ พอร์ทยาวลงด้วยสัดส่วนสูงกว่าครับ 🙂
โอ้ว เป็นแนวทางที่ไม่เลวครับ เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับภาวะแวดล้อม
ขอบคุณครับพี่โจ๊ก^_^
“ในแง่ของ Timing นั้น Slater แนะนำว่า เราไม่ควรซื้อหุ้นเติบโตในขณะที่ราคาในขณะนั้นอยู่ต่ำกว่า ราคาสูงสุดในรอบสองปีเกิน 15%” แต่ถ้าเป็นช่วงที่หุ้นตกหนัก ๆ ทั้งตลาด เราจะละเลยกฏข้อนี้ได้หรือไม่ครับ? จะว่าไปแนวทางบางข้อคล้ายคลึงกับแนวทางของ william o’neil เลยนะครับ โดยเฉพาะตรงที่ให้สนใจบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
timing นี้ คิดว่า เหมาะกับ หุ้นเติบโตนะครับ แต่อาจจะไม่เหมาะนำไปใช้กับหุ้นแนวอื่นๆ
ผมฟังดูแล้วแปลกๆนะครับ บอกว่ากำไรต้องเติบโตสองเท่าใน4ปี แปลว่าเติบโตประมาณ20%ต่อปี สมมุติroe=30%,pay out ratioต้องเท่ากับ33%,เงินปันผล=4%ดังนั้นpe=8. ถ้าจะซื้อหุ้นเติบโตคุณสมบัติดังกล่าวต้องซื้อตอนเกิดวิกฤตเท่านั้น. แต่กฎอีกข้อบอกห้ามซื้อตอนราคาตกลงมาตำ่กว่า15%. แล้วตกลงจะได้ซ้ือเหรอครับ
ช่างสังเกตดี ฟังดูปฏิบัติได้ยากจริงๆ แหะ เห็นด้วยครับ