Skip to content

CAN SLIM by William O’Neil

William O’Neil แนะให้นักลงทุนเล่นหุ้นเติบโต โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นเติบโต ที่เรียกว่า CANSLIM

C – Current Quarter EPS หุ้นเติบโตที่ดีต้องมี EPS ของไตรมาสล่าสุด เติบโตมากๆ ย่ิงมากยิ่งดี ยิ่งเป็นอัตราเร่งด้วยยิ่งดี ทั้งนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

A – Annual EPS หุ้นเติบโตต้องมี EPS ของปีปัจจุบันสูงกว่าปีที่แล้ว อย่างน้อย 25% ด้วย (เพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตมีโมเมนตัมด้วย)

N – New Products, New Managements , New Highs บริษัทต้องกำลังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น มีสินค้าตัวใหม่ เปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่ หรือราคาหุ้นกำลังทำนิวไฮท์ เหมือนเป็นการเช็คหุ้นเชิงคุณภาพ บริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจึงเป็นเหตุให้กำไรเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยสำคัญได้ ราคาหุ้นถ้าเป็นนิวไฮท์ แสดงว่าบริษัทกำลังอยู่ในขาขึ้น

S – Supply/Demand หุ้นที่น่าซื้อควรจะมีจำนวนหุ้น float ในตลาดไม่มากนักด้วย เมื่อเทียบกับโวลุ่มเทรดในแต่ละวัน เพราะหุ้นที่มี float เยอะมากๆ ยากที่จะยกตัวขึ้นเยอะๆ ได้ด้วยแรงซื้อ

L – Leaders ซื้อหุ้นที่เป็นผู้นำตลาดทั้งในแง่ส่วนแบ่งตลาดที่กำลังเพิ่มขึ้น กำไรที่เพิ่มขึ้นมากกว่า มาร์จิ้นที่ดีกว่า รวมไปถึงราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวในทางขึ้นมากกว่าตัวอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จังหวะเข้าซื้อที่ดีคือ ช่วงที่หุ้นหลุดแนวต้าน (Breakout) ได้แล้ว และมีโวลุ่มเกิน 50% ของโวลุ่มเฉลี่ย หรือมี Relative Strength อย่างน้อย 85% ส่วนมากหุ้นที่ซื้อแล้วขึ้นเลยจะเป็นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้

I – Institutional holdings หุ้นจะถูกยกตัวได้ง่ายที่สุดเมื่อมีนักลงทุนสถาบันใหม่ๆ มาซื้อ เราจึงควรซื้อหุ้นที่ยังมีนักลงทุนสถาบันถือหุ้นไม่มากนัก หรือมีแนวโน้มที่นักลงทุนสถาบันจะถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

M – Market Direction ควรซื้อหุ้นในขณะที่ตลาดทั้งตลาดเป็นขาขึ้นด้วย เพราะต่อให้หุ้นดี แต่ตลาดเป็นขาลง หุ้นก็มักจะต้องลงตามตลาด

O’Neil ให้ความสำคัญกับการเลือกตัวหุ้นมากที่สุด และจะต้องถือให้ถูกจังหวะเวลาด้วย เขาแนะนำให้ลงทุนแบบค่อนข้างจะ focus มากๆ คือ ลงทุนเฉพาะหุ้นเติบโตสูงๆ ในขณะนั้นเท่านั้น ไม่ต้องไปสนใจแนวอื่นๆ พอร์ตขนาดปกติควรมีหุ้นแค่ 5 ตัวเท่านั้น ส่วนพอร์ตเริ่มต้นที่มีขนาดเล็กๆ ก็ควรมีหุ้น 2-3 ตัว ก็พอแล้ว เพราะ O-Neil มองว่ายิ่งลงทุนมากตัว เราก็จะยิ่งมีความสามารถในการติดตามหรือรู้เรื่องเกี่ยวกับหุ้นนั้นได้น้อยลงตามไปด้วย นอกจากนี้ เขายังแนะนำให้ลงทุนในระยะยาวสักหน่อย เพราะถ้าเลือกหุ้นมาดีแล้ว ก็ควรจะอยู่กับมันนานๆ เพื่อให้ได้รับผลกำไรต่อตัวให้คุ้มค่าที่สุด

O’Niel บอกว่า ถ้าตอนซื้อตัดสินใจได้ถูกต้อง ตอนขายก็จะไม่ยาก การขายหุ้นควรขายด้วยสองเหตุผลคือ
1. ขายเพื่อ cut loss ถ้าเป็นหุ้นที่เราเลือกด้วยระบบ CANSLIM แล้วลงไปเกิน 8% ให้ขายทิ้งทันที เพราะหุ้น CAN SLIM ซื้อแล้วควรจะเป็นขาขึ้นเลย วินัยในการ cut loss สำคัญมาก เพราะการที่เราไม่ได้ขาดทุนเยอะเวลาที่เราเลือกหุ้นผิด คือเคล็ดลับสำคัญของการมีผลตอบแทนที่ดี
2. ขายเพื่อ take profit ถ้าเราคิดถูก หุ้นขึ้นไปเยอะแล้ว เวลาที่น่าจะขายคือเวลาที่เกิดสัญญาณทางเทคนิคบอกว่าควรขาย ที่น่าสนใจได้แก่ Climax Top, New High Low Volumes , หลุดแนวรับ, ปิดโลว์ทุกวัน etc.

ข้อคิดอื่นๆ ที่น่าสนใจของ O’Niel มีดังนี้

  • หุ้นเติบโตที่ดีควรจะมี ROE อย่างน้อย 17% ด้วย 
  • อย่าเลือกหุ้นด้วย P/E หรือ Div Yield (วิธีของ O’Niel เป็นแนวโมเมนตัม ซึ้อเพื่อให้ขึ้นเลย ตัวเลขพวกนี้จึงมักค่อยมีประโยชน์)
  • อย่าไม่ยอมซื้อหุ้นที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมด้วยเหตุผลเรื่องพีอีสูงกว่าตัวอื่น มีของดีๆ น้อยมากๆ ในตลาดที่มีพีอีต่ำๆ ได้
  • หุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็สามารถใช้ CAN SLIM ได้หมด
  • อย่ายุ่งกับ Derivatives  อย่าเชื่อว่ามันคือวิธีที่ทำให้รวยเร็วๆ
  • บริษัทที่ประกาศซื้อหุ้นคืนเป็นสัญญาณที่ดี ผู้บริหารควรถือหุ้นบ้าง
  • ห้ามซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยขาลง ให้ถัวเฉลี่ยขาขึ้น
  • อย่าซื้อหุ้นพลายกระซิบ หรือเอาตามที่สื่อแนะนำ
  • อย่าตั้ง Limit Order
  • พยายามมองโลกในแง่ดี โอกาสดีๆ ในตลาดหุ้นมีทุกปี

9 thoughts on “CAN SLIM by William O’Neil”

  1. ตอนนี้ผมกำลังใช้แนวทางนี้อยู่ในการลงทุน แต่ปรับให้เหมาะกับตัวเองมากขึ้น ตอนแรกที่ลงทุนใหม่ๆ กะจะเป็น VI เต็มตัวแต่เหมือนไม่เหมาะกับตัวเอง แล้วพยยามหาแนวทางที่เข้ากับตัวเอง ก้อมาเจอ CAN SLIM ตอบโจทย์มากครับ

  2. หลังจากอ่านแนวคิดแล้วนึกถึงหลักการคล้ายๆกับงานวิจัยที่เคยฟังจากรายการ money talk เลยครับ เป็นวิธีการเลือกลงทุนตามแนวโมเมนตัม
    คล้ายกันตรงที่ เลือกหาหุ้นที่ทำกำไรล่าสุดออกมาดีมากๆเมื่อเทียบกับงวดก่อนๆ และราคาหุ้นกำลังทำนิวไฮท์ แต่ผมจำไม่ได้ว่าต้องซื้อแล้วถือลงทุนไว้ 3 เดือน หรือ 6 เดือนนะครับ เพราะหากนานกว่านั้น จากการวิจัย ผลตอบแทนที่ได้จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อ้อ แต่ในงานวิจัยเค้าให้ซื้อจำนวนหุ้นเยอะหน่อย ประมาณ 10-15 ตัวครับ

  3. บอกนิดหนึง ช่วงนี้ตามอ่านหมวด กูรูหุ้น อาจจะมึนๆ หน่อย ว่าทำไมแนวทางเยอะเหลือเกิน อันไหนดีกันแน่

    ผมพยายามหาแนวคิดของกูรูที่หลากหลายมารวมไว้ให้ดูเฉยๆ ว่ามีแนวคิดในตลาดแบบไหนบ้าง นะครับ

    ส่วนตัวผมชอบแนวปีเตอร์ ลินซ์ มากที่สุด เอาไว้จะนำมากล่าวถึงเป็นคนสุดท้าย

  4. ขอบคุณครับ ผมชอบ Peter Lynch เหมือนท่านแม่ทัพ เพราะความเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติในการวิเคราะห์ ง่ายนั้นงาม

  5. แล้วสไตล์การลงทุนของพี่โจ๊ก ตั้งแต่อดีดจนถึงปัจจุบัน มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างไหมครับ ?

  6. มีการปรับปรุง ขัดเกลามาเรื่อยๆ ครับ เพราะมีบทเรียนมากขึ้น อ่านมากขึ้น ก็นำมาปรับปรุงไปเรื่อยๆ

    ที่สำคัญอีกอย่างคือ การ unlearn ความเชื่อต่างๆ ที่เคยยึดติดด้วย

    แต่สรุปๆ คือ เริ่มต้นเป็นแนวเบนจามิน แกรมค่อนข้างมาก หลังๆ เป็นแนว long-term growth คล้ายปีเตอร์ ลินซ์ที่สุด

  7. ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจพี่ยึดแนวคิดใครเป็นหลักบ้างครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *