ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ทำเกษตรเยอะ (แต่ยังน้อยกว่าอุตสาหกรรม) ไหนๆ ก็มาเกิดเป็นนักลงทุนในประเทศนี้แล้ว ลองมาเหลียวมองหุ้นสินค้าเกษตรกันหน่อยว่า มีอะไรน่าสนใจบ้าง ไม่งั้นเข้าจะหาว่าใกล้เกลือกินด่าง
นอกจากข้าวแล้ว ตลาดหุ้นก็มีหุ้นที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรอีกหลายอย่าง ได้แก่ ปาล์ม ยาง น้ำตาล ถั่ว หมู ไก่ อาหารสัตว์ อาหารทะเล ดูเหมือนส่วนใหญ่ผมจะเคยพูดถึงไปแล้ว ส่วนใหญ่อยู่ในหนังสือ 20 บจ.ยังเหลือแค่ปาล์มที่ยังไม่ได้พูด
ประเทศไทยมีนโยบายห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร (ให้ได้ผูกขาด) แต่ไม่ห้ามส่งออก และในเวลาเดียวกันรัฐฯ ก็กำหนดเพดานราคาขายน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปในประเทศอีกเพื่อช่วยผู้บริโภคด้วย
การฝืนกลไกตลาดมากถึงขนาดนี้ ส่งผลให้มีปัญหาของขาดตลาดอยู่บ่อยๆ เพราะเวลาผลผลิตในประเทศออกมาน้อย ก็ไม่สามารถนำเข้ามาเสริมได้ เวลาราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกดี ก็ส่งออกกันหมด เพราะราคาขายในประเทศถูกกดเอาไว้ แม้่ว่าช่วงนี้ราคาปาล์มดิบในประเทศจะกลับมาตกต่ำ แต่ปาล์มในประเทศยังมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนได้อยู่เรื่อยๆ อีกเพราะปัจจุบันมีการนำใช้ผลิตไบโอดีเซลมากขึ้นทุกปี
หุ้นปาล์มบ้านเราส่วนใหญ่จะ downward integration กันหมด หมายความว่า แทนที่จะรับซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร ซึ่งทำให้ควบคุมปริมาณวัตถุดิบให้เพียงพอกับกำลังการกลั่นได้ยาก ก็ทำไร่ปาล์มเองเสียเลย (บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่าพวกนโบายสินค้าเกษตรที่ช่วยเหลือเกษตรกรทั้งหลายนั้นจริงๆ แล้วใครได้ประโยชน์กันแน่ เพราะพวกโรงงานนั่นแหละที่ปลูกปาล์มกันเยอะๆ )
วิธีวิเคราะห์หุ้นปาล์มนั่นง่ายมากๆ ก็ดูราคาปาล์มในตลาดโลกเป็นหลัก เพราะถ้าราคาดี โรงงานก็ส่งออกไปเยอะๆ ทำให้ได้ราคาขายดีขึ้น (ทำให้อดสงสัยอีกไม่ได้เช่นกันว่านโยบายตรีงราคาขายในประเทศมันดียังไง เพราะถ้าปาล์มแพง แต่ส่งออกได้ โรงงานก็ส่งออกกันหมด สุดท้ายผู้บริโภคก็ไม่มีของให้ซื้ออยู่ดี) ส่วนต้นทุนนั้นปลูกกันเองอยู่แล้ว ควบคุมต้นทุนเองได้ เวลาปาล์มดิบขึ้นลงจึงไม่ค่อยมีผลเท่าไรอีกทั้งยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับราคาขายปาล์มที่กลั่นแล้ว (ต้นทุนการปลูกปาล์มดิบจะอยู่แถวๆ 3.xx บาทต่อกิโล ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ย เทียบกับราคาขายน้ำมันปาล์มสำเร็จแถวๆ 40 บาท)
หุ้นปาล์มบ้านเรามีหลายตัว เช่น UVAN UPOIC LST CPI เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วกำไรของทั้งกลุ่มจะล้อกันทุกปี และล้อตามราคาปาล์มในตลาดโลก นั่นเอง แต่วันหนึ่งปาล์มดิบในประเทศขาดแคลนมากๆ เพราะเอาไปทำไบโอดีเซลกันเยอะ จนรัฐบาลยอมให้มีการนำเข้าปาล์มได้ ก็น่าจะดีต่อหุ้นปาล์ม เพราะทำให้ยิ่งบริหารจัดการวัตถุดิบได้คล่องตัวมากขึ้น
การที่รัฐบาลยอมให้นำเข้าปาล์มได้ น่าจะเป็นผลเสียกับเกษตรกรที่ปลูกนะครับ แต่อาจจะเป็นผลดีกับพวกโรงกลั่น เพราะราคาคาผลปาล์มในไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งอย่างมาเลเซีย และอินโด มาก และคุณภาพก็สู้ไม่ได้ด้วย
ผมไม่แน่ใจว่าสินค้าประเภทนี้มีเรื่องภาษีมาเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า ถ้า AEC มาถึง โรงกลั่นน่าจะได้ประโยชน์ตรงนี้ แต่คนปลูกน่าจะแย่หนัก ^^”
totally agree krub.
เวลาเปิดเขตการค้าเสรี อุตสาหกรรมที่แข่งขันไม่ได้จะเสียเปรียบ และเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมที่เราแข็งแกร่งกว่าเพื่อนบ้าน
นโยบายรัฐห้ามนำ้เข้าน้ำมันปาล์ม เป็นโนบายกี่ปี หรือว่าตลอดไป ถือว่าเป็นหุ้นโภคภัณฑ์หรือเปล่าค่ะ
เป็นกฎที่มีมานานแล้ว เป็น soft commodities อย่างหนึ่งครับ
จากข่าวใน Bangkok Post เมื่อเช้า รัฐบาลจะกำหนดให้ผลปาล์มเป็นสินค้าควบคุม ถ้าอนุมัติ สภาพอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มจะถูกบิดเบือนไปอย่างมาก นอกจากนี้นโยบายดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมขาดการพัฒนาและไม่สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้ ผมคิดว่าถ้าได้รับการสนับสนุนและมีการวิจัยอย่างจริงจัง เราน่าจะสู้อินโดนีเซียและมาเลเซียได้ในระยะยาวครับ
UVAN เป็นบริษัทเดียวที่ไม่ได้เป็น downward integration นั่นคือ UVAN รับซื้อผลปาล์มจากภายนอกในสัดส่วน 85%-90% ดังนั้นกำไรของ UVAN อยู่ที่ spread การบริหารค่าใช้จ่ายในการผลิต และการใช้ประโยชน์จากผลปาล์มให้ได้มากที่สุด (เช่น น้ำเสียเอาไปผลิตไฟฟ้า) ในขณะเดียวกัน การพัฒนาตัวเองเข้าไปทำธุรกิจที่เป็น upstream มากขึ้น (วิจัยและขายเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า) และไม่เข้าไปทำอุตสาหกรรม downstream (กลั่นเป็นน้ำมันบริสุทธุ์ น้ำมันทำอาหาร biodiesel) เป็นข้อแตกต่างจากบริษัทอื่นๆที่จดทะเบียนในตลาด
great information krab.^^
ชอบรูปแบบใหม่ของเว็ป ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนิตยสารมากขึ้นครับ : )
จะค่อยๆ เพิ่ม section ต่างๆ เข้าไปให้ครบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการลงทุน เป็นโรงเรียนเล็กๆ สำหรับนักลงทุนครับ ^^
เวลาตามดูราคาสินค้า commodity รายวัน ที่ไม่มีใน Bloomberg เช่น ปาล์ม ถ่านหิน ดูที่ไหนกันอ่ะครับ ?
ถ่านหิน : coalportal.com
ปาล์ม : http://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=palm-oil&months=60
ขอบคุณคร้าบ ท่านแม่ทัพ … ราคาถ่าหิน Q3 ปีที่แล้วลงดูไม่จือเลยอ่ะ Q4 ค่อยคงที่หน่อย
หุ้นuvan จ่ายปันผลประมาน9%ต่อปี ถือว่าสูงมากนะครับ สำหรับคนที่มีเงินออมและอยากจะหนี ดอกเบี้ยเงินฝาก น่าสนใจนะครับ
แล้วหุ้นที่เกี่ยวกับ ยางพารา หรือ น้ำมันพืช อย่าง TVO ล่ะครับ
สองอันนั้นเคยพูดถึงไว้ในหนังสือ 20 บจ
ขอบคุณมากครับ ( อ่านไปแล้วครับ เผื่อว่ามีแนวคิดใหม่ๆ ^^ )
การเพิ่มทุนโดยการแจกหุ้นปันผล ในอัตรา 1 : 1 ของ CPI นี่ เขามีผลดีอย่างไรต่อผู้ถือหุ้นหรือครับ ส่วนตัวมองว่า เหมือนเป็นการหลอกตลาดมากกว่า เพราะเท่าที่ดูผลประกอบการในอดีต ทั้งรายได้ และกำไร แทบไม่โตเลย วิธีการนี้ น่าจะเหมาะกับ หุ้นเติบโตมากกว่าครับ
ถูกต้องครับ การปันผลเป็นหุ้น มีความหมายเท่ากับ การไม่จ่ายเงินปันผล ค่าเท่ากันเลยครับ หุ้นปันผลที่แจกเป็นเพียงแค่การประคองความรู้สึกของผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับเงินปันผลเท่านั้น
เห็นคุณ offshore engineer พูดถึงหุ้น UVAN เลยเข้าไปอ่านรายงานประจำปีของ UVAN UPOIC ได้เห็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบระหว่างสองบริษัทนี้ รู้เลว่าน่าจะลงทุนในบริษัทไหน ถ้าคุณ offsore เข้ามาอ่าน อยากทราบมุมมองเรื่องการต่อพื้่นที่สัมปทานของทั้ง UVAN และ UPOIC หน่อยครับว่าเป็นความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ผมพบอีกว่าบริษัทไหนสามารถ utilize capacity ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบได้เยอะจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ดีกว่า เพราะเกิด economies of scale ทำให้ profit margin ดีกว่า คุณภาพของผลปาล์มสด ก็จะมีผลทำให้ oil extration ratio ต่างกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ บริษัทหนึ่งมี R&D unit จนผลิต palm seeds ไม่ทัน ต้องจองล่วงหน้า น่าสนใจดีครับ
สำหรับ UVAN ซึ่งรับซื้อจากสวนภายนอกในสัดส่วนที่สูงเกือบ 90% ผลกระทบคงไม่มากครับ อาจจะกระทบกำไรราวๆ 80-100 MB ขึ้นกับราคาผลปาล์ม ณ ขณะนั้นครับ
ชอบครับ ผมจะลงเรียนทุกปี จนกว่าจะได้ปริญญาครับ
ขอบคุณครับคุณ offshore ถ้าไม่รบกวนจนเกินไป ขอถามต่อแล้วกันครับ คิดว่าการเปิด aec จะเป็นโอกาสหรือภาวะคุกคามสำหรับ uvan เพราะว่าเท่าที่ผมตามอ่านดูจากหลายที่ เหมือนกับว่า คุณภาพของผลปาล์มสดในบ้านเราเมื่อเทียบกับอินโดและมาเลเซีย ยังสู้ไม่ได้ แต่ด้วยการที่ uvan มี R&D center ก็น่าจะเป็นอะไรที่ท้าทายต่อไป ประกอบกับอินโดก็ยังสั่ง seeds จาก uvan ตรงนี้มีอะไรต้องน่าห่วงมั๊ยครับ
แล้วคุณ offshore คิดว่า uvan มีโอกาสโตกว่านี้มั๊ยในอีก 5-10 ปีข้างหน้า และเพราะอะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
อุตสาหกรรมน้ำมันปาร์มเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเป็นหุ้นเติบโตได้ไหมครับ…แล้วอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องเลือกบริษัทที่เป็นอันดับหนึ่งไหมครับ
พวกคอมโมคงหาที่หนึ่งยาก เพราะตลาด fragmented มาก ตอบว่าไม่จำเป็นครับ ให้หาบริษัทที่มีอะไรบางอย่างเป็นข้อได้เปรียบแทน
ความต้องการปาล์มมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตได้ครับ แต่ประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อกำไรรุนแรงกว่าคือ นโยบายของรัฐ และราคาในตลาดโลก