Skip to content

211: L/D ratio

ตัวเลขหนึ่งที่ใช้สะท้อนความใจกล้าของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อได้ คือ L/D ratio (Loan-to-deposit ratio) หรือ ปริมาณสินเชื่อต่อยอดเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์

ถ้าธนาคารกล้าปล่อยสินเชื่อมากกว่าเงินฝาก (L/D ratio เกิน 100%) แปลว่า ธนาคารค่อนข้าง Bullish ในการปล่อยกู้ เพราะใช้กระสุน (เงินฝาก) ที่มีอยู่อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เศรษฐกิจจะไม่ตกหล่ม เพราะเงินที่ใครคนหนึ่งออมไว้ในธนาคารจะถูกหมุนกลับมาสู่ภาคเศรษฐกิจเพื่อนำไปลงทุนอีกครั้งผ่านการปล่อยกู้โดยภาคธนาคาร อย่างไรก็ตาม ถ้าหากตัวเลขนี้สูงมากเกินไปอาจแสดงว่า ธนาคารอาจแข่งกันปล่อยสินเชื่อมากเกินไป ถ้าขาดความระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดฟองสบู่ได้ ในช่วงก่อนจะเกินวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น ตัวเลขนี้เคยสูงสุดถึง 143%

ในทางตรงกันข้าม ถ้าตัวเลขนี้ต่ำ แสดงว่า ระบบธนาคารยังกลัวอะไรบางอย่างอยู่ทำให้ปล่อยสินเชื่อแบบระมัดระวัง เงินฝากจะล้นแบงก์และ ไม่ถูกนำออกมาหมุนเวียนอย่างเต็มที่ อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ ในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น ตัวเลขนี้ต่ำกว่า 100% อยู่นานหลายปี เพราะฐานะการเงินของธนาคารยังอ่อนแอ ทำให้เลือกที่ประคองตัวเองก่อน แต่ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ตัวเลขนี้แสดงว่า ธนาคารไทยค่อนข้างจะกลับมาอยู่ในโหมดแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อแบบเต็มตัวแล้ว

ปี 2551 2552 2553 2554 2555
LD ratio  103% 104%  112%  119%  107%

(ที่มา : BOT )

ตัวเลขนี้อาจสะท้อนว่าเวลานี้ ตลาดสินเชื่อของไทย กำลังอยู่ในระดับกลางๆ พอดี ยังไม่ได้ bull หรือ bear มากเกินไป เราอาจจับตาดูตัวเลขนี้ในปีถัดๆ ไปเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก็ได้ว่าเศรษฐกิจมีความเป็นฟองสบู่มากแค่ไหน อีกอย่างหนึ่งคือลองเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในปีปัจจุบันว่า เราต่างจากเขามากแค่ไหน (2012) เกาหลีใต้ 95%, อินโดนิเซีย 79%, เวียดนาม 112%

11 thoughts on “211: L/D ratio”

  1. Pingback: L/D ratio http://t.co/bvuFEcdf via @1001ii | Dekisugi's Blog

  2. จริงแล้วประมาณตัวเลขที่เท่าไร
    ถึงจะน่ากลัวครับได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติมจริง

    1. ตอบยากครับ เพราะฟองสบู่มันโตแค่ไหนมันถึงจะแตกนั้นมั้ยไม่แน่ไม่นอน แต่ละประเทศ แต่ละยุค จุดที่แตกก็ไม่เท่ากัน (แต่ร้อยต้นๆ อย่างเช่นเวลานี้คงยังไม่ใช่แน่นอน) มีไว้ใช้ดูประกอบกับตัวแปรอื่นๆ เฉยๆ นะครับ

  3. ได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติม ขอบคุณครับ ปกติผมก็ไม่ค่อยได้สนใจตัวเลขพวกนี้เท่าไหร่ จะนำไปประกอบการลงทุนครับ

  4. แหล่งเงินทุนของธนาคารปัจจุบันมาจากหลายแหล่งไม่ใช่แค่เพียงเงินฝากและตั๋วเงินเพียงอย่างเดียว เช่น
    ตั๋วแลกเงิน หุ้นกุ้ การทำธุรกรรมซื้อคืน ซึ่งปัจจุบัน ด้วยแนวโน้มของตลาดเงินไทยคาดการณ์ว่า เงินฝากจะน้อยลงเรื่อยๆ เพราะการเติบโตของตราสารหนี้และตราสารทุนทีเป็นทางเลือกในการออมและการบริหารจัดการสภาพคล่อง

    LDR ratio ในอนาคตก็อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น หลังจาก ช่วงหนึ่ง ธปท. เคยอนญาตให้ ธพ. พิจารณา LDR ค่าที่ Loan to Deposit + B/E ratio มาแล้ว (แต่ปัจจุบัน B/Eไทยสูญพันธุ์ไปเกือบหมดแล้ว ด้วยน้ำมือของ กลต.ไทย) ก็ต้องมาลองดูกันว่า ต่อไปตลาดจะพัฒนาไปในทิศทางใด ยอมรับให้ LDR > 100% หรือ จะปรับตัวชี้วัดตัวใหม่

  5. ในช่วงปี 2551-2554 ธปท. อนุญาตให้ธนาคาร ใช้สัดส่วน Loan/(Deposit+BE) ในการพิจารณา ดังนั้น หากพิจารณาแค่ L/D อย่างเดียว ก็เกิน 100% ได้
    แต่ช่วงปี 2554-2555 และในปี 2556 BE ได้ทยอยหมดจากไทยไปแล้ว ส่วนใหญ่เหลือเพียงยอดคงค้างที่ทยอยครบอายุ ดังนั้น ยอดส่วนที่เป็น BE ก็จะโดนบังคับให้เปลี่ยนมาเป็น Deposit บางส่วน ทำให้สัดส่วน L/D ratio กลับมาดูดีขึ้นกว่าตัวเลขปี 2551-2554

  6. ได้ความรู้มากเลยครับถ้าแบ่งเป็นภาคได้นี่ น่ากลัวทางอีสานจะสูงนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *