Skip to content

253: ตอนที่ 8: งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน น่าจะเป็นงบการเงินที่คนทั่วไปเข้าใจง่ายที่สุด เพราะเป็นไปตามสมการ รายได้ – ค่าใข้จ่าย = กำไร เขียนเรียงลำดับให้ดูทีละรายการ 

ดังนั้นผมคงไม่มีอะไรที่จะต้องขยายความเกี่ยวกับงบการเงินตัวนี้มากนัก

สิ่งแรกสุดที่นักลงทุนน่าจะลองทำดูเวลาดูงบการเงินของบริษัทคือ ดูว่าบริษัทมี EBIT Margin เพิ่มขึ้นเท่าไร เมื่อเทียบกับงวดที่แล้ว หรืองวดเดียวกันของปีที่แล้ว EBIT Margin คำนวณได้จาก กำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย หารด้วยรายได้ ที่จริงแล้วมันเป็นตัวเลขที่น่าดูมากกว่า Profit Margin คิดมาจากกำไรในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนเสียอีก เพราะกำไรสุทธิหลังหักภาษีและดอกเบี้ยจ่ายแล้ว ย่อมขึ้นอยู่กับรายจ่ายภาษีและดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละงวด ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารภาษีและโครงสร้างเงินทุนของบริษัท แต่สิ่งที่เราอยากรู้มากกว่าคือ ผลการดำเนินงานที่เกิดจากตัวธุรกิจจริงๆ คือ เอารายได้มาหักออกแต่เฉพาะค่าใข้จ่ายที่เกี่ยวกับ operation ล้วนๆ แล้วเทียบกันเลยว่าดีขึ้นหรือแย่ลงจากงวดที่แล้ว หรือไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแค่ไหน จะได้รู้ไปเลยตัว ถ้านับเฉพาะตัวธุรกิจอย่างเดียว บริษัทดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่ใช่รวมทุกอย่างเข้าไปจนมองไม่เห็นภาพที่แท้จริง

นอกจากนี้ เรายังอาจตัดทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากตัวธุรกิจหลัก หรือเกิดจากธุรกิจหลักแต่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาสออกไปด้วย ราวกับว่าไม่มีรายการเหล่านี้อยู่ในงบกำไรขาดทุนเลย เวลาวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน เพราะแม้รายการเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่มันไม่ช่วยให้เรามองอนาคตของบริษัท เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี ตัวอย่างเช่น กำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการขายสินทรัพย์เก่าๆ, ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่บริษัทเป็นเจ้าของ, กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน, รวมทั้งพวกดอกเบี้ยรับซึ่งเกิดจากเงินสดที่บริษัทฝากไว้ในธนาคาร หรือพันธบัตรที่บริษัทไปซื้อมาถือไว้เพื่อบริหารเงินสด เป็นต้น ส่วนใหญ่มาตรฐานบัญชีจะพยายามกำหนดให้แยกรายการเหล่านี้ออกมาให้เราเห็นชัดเจนในงบกำไรขาดทุน เพื่อให้เราเลือกที่จะแยกมันออกไปจากการพิจารณาของเราได้อยู่แล้ว

13 thoughts on “253: ตอนที่ 8: งบกำไรขาดทุน”

  1. ขอบคุณครับ

    แต่ว่า ทำไม เราทั่วๆไปก็ยังชอบดูตัวเลขบรรทัดสุดท้ายอยู่เรื่อยไป แม้แต่ บทวิเคราะห์ สื่อ ก็มักจะรายงานการเพิ่มขึ้น ลดลงของกำไรสุทธิ

    แทบจะไม่ได้เห็นการพูดถึง ebit margin สักเท่าไรเลยครับ

    1. ใช้ในการรายงาน
      ใช้ในการคิดปันผล
      ใช้ในการประเมินมูลค่าแบบเร็ว
      ที่สำคัญ คือ คนส่่วนใหญ่ใช้

  2. คุณสุมาอี้ครับ รบกวนถามว่าdiscount rate ทำไมถึงต่ำถ้าหนี้ต่อทุนสูง ผมคิดไม่ออกจริงๆ เช่นหุ้นabc d/e 8เท่า และได้ WACCที่1.05 แต่หุ้นxyz d/ec8j1.5 ได้wacc ที่ 1.09 หี้ หนี้เยอะน่าจะสูงก่วานะwacc ผมซื้อหนังสือคุณ นรอ มาอ่านหลายเล่มแ้วชอบมากๆครับ และกำลังจะสมัครสมาชกิเร็วๆนี้แน่นอน

  3. หนี้สูง ทำให้เกิด tax shield ทำให้ wacc ต่ำลงได้ครับ

    เว้นแต่ในกรณีที่ หนี้สูงมากๆ ความเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้จะ offset tax shield ที่เกิดขึ้น ทำให้แทนที่ wacc จะต่ำลง กลายเป็นสูตรขึ้น แต่ตรงนี้บ่อยครั้งสูตรคำนวณจะไม่ได้รวมไว้ เพราะฉะนั้น เราควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี d/e สูงผิดปกติไปมากๆ

  4. กำไรจากการขายเงินลงทุนนี่ถือว่าเป็ฯกำไรพิเศษใช่มั้ยครับ

  5. ขอสอบถามคุณนรินทร์ เรื่องการรายงานงบกำไรขาดทุน คือในปัจจุบันมีรายทั้งงบรวม และงบเฉพาะกิจการ เราควรให้ น้ำหนัก ตัวเลขทั้งสองตัวที่ได้จากงบดังกล่าวมากน้อยแค่ไหนครับ หรือว่า ก็ยังคงเน้นที่ ebit margin เหมือนเดิม
    ขอบคุณครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *