Skip to content

Ralph Wanger – small-stock investing

Ralph Wanger อดีตผู้จัดการกองทุน Acorn Fund เป็นผู้จัดการกองทุนคนแรกที่ได้รับรางวัล Fund Manager Lifetime Achievement Award โดย Morning Stars และหนึ่งในห้าของ Fund Manager of the decade (90’s) โดย USA Today แนวการลงทุนหลักของเขาคือ หุ้นเติบโตขนาดเล็ก

Ralph เปรียบปรัชญาการลงทุนของเขาเหมือนตัวเขาเป็นม้าลาย ถ้าหากเราไปรุมกันแย่งกินหญ้าในทุ่งหญ้าเขียวขจีแต่ม้าลายทุกตัวไหนฝูงก็แย่งกันกินหญ้าในทุ่งเดียวกันเพราะเห็นว่ามันเป็นทุ่งที่เขียวที่สุด เราย่อมต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากม้าลายตัวอื่นๆ ที่อาจจะฉลาดกว่าเรา ฉะนั้น ทางที่ดีกว่าคือ การออกไปหาหญ้ากินในทุ่งอื่น ที่แม้ว่าจะเสี่ยงกว่า เพราะยืนอยู่ตัวเดียว อาจทำให้เป็นที่สังเกตโดยสิงโตได้ง่าย แต่โอกาสที่เราจะได้หญ้าที่ดี เพราะการแข่งขันในตลาดมีน้อยนั้นจะมีสูงกว่าด้วย และทุ่งหญ้าที่ว่านั้นก็คือ small-cap stocks เขาเป็นผู้จัดการกองทุนคนแรกๆ ที่เน้นการลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ซึ่งกองทุนและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เพิกเฉย

Ralph เน้นการขุดหาโอกาสดีๆ ในหุ้นตัวเล็ก เขามองว่าหุ้นตัวเล็กมีโอกาสเติบโตที่ดีกว่าเนื่องจาก

[list style=”1″ underline=”1″]

  1. มันยังมี room to grow ในตลาดเหลือเยอะกว่า
  2. หุ้นตัวเล็กยังมีข้อดีคือการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า
  3. หุ้นตัวเล็กมักมีธุรกิจแค่ไม่กี่อย่างทำให้โฟกัสกว่า และวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า
  4. มีบทวิจัยมากมายที่พบว่า หุ้นตัวเล็ก ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ต่อให้คิดถึงผลของความเสี่ยงแล้ว
  5. หุ้นตัวเล็กมีโอกาสสูงกว่าที่จะถูก Acquire
  6. หุ้นตัวเล็กมีโอกาสสูงกว่าที่นักลงทุนสถาบันจะเข้ามาถือหุ้นจำนวนมากขึ้นในอนาคต[/list]

Ralph มองว่าแหล่งของโอกาสสำหรับธุรกิจนั้นอยู่ที่[list style=”1″ underline=”1″]

  1. long-term trends เขาเริ่มสแกนหาหุ้นจากการมองเทรนด์ในระยะยาวของผู้บริโภคก่อน
  2. change เมื่อใดก็ตามที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขึ้นในอุตสาหกรรม มักมีโอกาสทองซ่อนอยู่[/list]

ในเวลาเดียวกัน เขาบอกว่า ในเมื่อเราเลือกมาอยู่ในทุ่งที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เราต้องรู้จักให้ความสำคัญกับการลิมิตความเสี่ยงให้ตัวเองด้วย ไม่ใช่อยู่ในที่เสี่ยงมากกว่าคนอื่นแล้ว ยังเสี่ยงมากขึ้นอีก วิธีลิมิตของความเสี่ยงของ Ralph คือ[list style=”1″ underline=”1″]

  1. Focus เพราะ ความเสี่ยงสำคัญของหุ้นตัวเล็กคือการมองหุ้นผิดพลาด พยายามเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดเพียงไม่กี่ตัวดีกว่าลงทุนสะเปะสะปะไปหมด อย่างไรก็ตามต้องมีหุ้นในพอร์ตอย่างน้อย 12 ตัว 
  2. ลงทุนในบริษัทที่มีฐานะการเงินที่แข็งแรง (Strong balance sheet)
  3. ไม่ลงทุนในบริษัทที่ยังมีประวัติที่น้อยเกินไป เช่น หุ้น IPO หรือ Startups เป็นนักลงทุนที่อนุรักษ์นิยมในหมวดหุ้นตัวเล็ก
  4. อย่าซื้อหุ้นที่แพงมากๆ[/list]

หุ้นที่จะผ่านตะแกรงร่อนหุ้นของ Ralph ได้มี 3 ด่าน[list style=”1″ underline=”1″]

  1. ด่านแรกคือ Growth Prospect คือ ธุรกิจต้องไปกันได้กับแนวโน้มผู้บริโภคในระยะยาว ไม่ใช่ธุรกิจของอดีต สินค้าของบริษัทต้องดีกว่าคู่แข่่ง และมีความสามารถในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ ยิ่งถ้าสินค้ามี niche market ที่คู่แข่งเข้าไปไม่ได้ด้วยจะยิ่งเป็นจุดแข็งของธุรกิจ
  2. ด่านที่สองคือ Financial Strengths บริษัทต้องมีฐานะการเงินที่แข็งแรง เขาไม่ชอบหุ้นที่มีหนี้สูงผิดปกติ กำไรควรจะมีคุณภาพกล่าวคือกำไรเงินสดต้องแข็งแรงด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนต้องเพิ่มในสัดส่วนที่ไม่มากกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น 
  3. ด่านที่สามคือ Fundamental Value ราคาหุ้นต้องยังไม่แพงโดยดูจาก ratio หลายๆ ตัวประกอบกัน เช่น P/E, P/CF, PEG ไม่ใช่ตัดสินจากเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแค่เกณฑ์เดียว ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงจุดด้อยของ ratio แต่ละตัวด้วย เช่น ถ้า P/E สูง ก็ต้องดูว่า เป็นเพราะมีรายได้พิเศษรึเปล่า หรือในภาวะดอกเบี้ยต่ำก็ต้องเข้าใจว่า P/E ที่เหมาะสมอาจจะสูงกว่าปกติได้ ไม่ใช่มองแค่ตัวเลขตัวเดียวตรงๆ[/list]

Ralph บอกว่า เวลาบริหารพอร์ตหุ้นตัวเล็กให้ยึดนโยบาย ถือให้ยาวที่สุดเอาไว้ก่อน ถ้าจะขายหุ้นก็ต่อเมื่อหุ้นนั้นไม่มีเหตุที่ทำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นเหลืออยู่อีกต่อไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การจะคิดว่าจะขายหุ้นหรือไม่ทุกครั้งจะต้อง evaluate ใหม่เสมอ ราวกับว่าเราไม่มีหุ้นตัวนั้น ว่ามันเป็นหุ้นที่น่าซื้อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม พยายามบอกตัวเองให้ let profit run เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากการขายหุ้นเติบโตเร็วเกินไป

13 thoughts on “Ralph Wanger – small-stock investing”

  1. เรื่อง P/E ต้องการจะบอกว่า ถ้า P/E ต่ำ เพราะมีรายได้พิเศษหรือเปล่าครับ

  2. หรือไม่ก็ P/E สูง เพราะว่ามี one-time expense แบบนี้ด้วยหรือป่าวครับ และถ้าตัดออกอาจทำให้ PE เหมาะสมมากขึ้น

  3. แบบนั้นแหละครับ

    สรุปคือ ถ้ามีรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นทุกไตรมาส ก็น่าจะตัดออกไป เพราะในอนาคตไม่น่าจะเกิดขึ้นอีก ถ้านำมาพิจารณาด้วย จะทำให้ได้ P/E ที่ผิดไปจาก operation ปกติของธุรกิจไปมาก

  4. เรื่องสภาพคล่องก็มีผลต่อกองทุนด้วยใช่มั้ยครับพี่ …เช่นถ้าน้อยมากๆ อย่างหุ้นบางตัวซื้อขายกันวันนึงไม่ถึงล้านบาท และแทบไม่มีคนขายเลย แบบนี้กองทุนของ ราลฟ์ เค้าจะซื้อรึป่าวครับ?

  5. การใช้ p/e โดยคำนึงถึงภาวะดอกเบี้ยด้วย มีโจ๊กพอจะมีกฏหยาบ ๆ (rule of thump) ในการมองไหมครับ ?

  6. Ralph มีเขียนหนังสือ ในแนวนี้มัียครับ ถ้ามีชื่อหนังสืออะไรครับ ผมลองดูในอเมซอนแล้วไม่เจอครับ รบกวนแนะนำด้วยครับ

  7. หรือเล่มที่เขียนในแนวหุ้นเติบโตของนักเขียนท่านอื่นๆที่คุณโจ๊ก เห็นว่าน่าสนใจก็รบกวนแนะนำด้วยครับ

  8. จริงๆในตลาดหุ้นไทยหุ้นตัวเล็กบางตัวอาจมีเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลด้วยใช่ไหมครับ ทำให้กองทุนต้องระวังในการเข้าไปลงทุน

  9. Growth Investing ผมเชียร์หนังสือของปีเตอร์ ลินซ์ คนเดียวเท่านั้นครับ ถ้าอ่านให้ละเอียด อ่านจับใจความดีๆ มีคำตอบของปัญหาทุกอย่างเกี่ยวกับการลงทุนแนวนี้ครับ

    เรื่องหุ้นตัวเล็ก เป็นแนวทางถนัดของกูรูแต่ละคน โดยส่วนตัวผมชอบหุ้นกลางถึงใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจที่ยังเติบโตได้มากกว่า

  10. Ralph เค้าให้เหตุผลเรื่อง ต้องถือ “อย่างน้อย” 12 ตัวหรือเปล่าครับ ?

    ป.ล. ส่วนตัวผมจะเป็นเกณฑ์ “อย่างมาก” คือ อย่างมาก 10 ตัว (เพราะ CIMB .ให้ออมเต็มที่ 10 ตัว อิอิ)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *