Kenneth Fisher ผู้ก่อตั้ง Fisher Investments และติด 1 ใน 400 บุคคลที่รวยที่สุดในสหรัฐฯ (Forbes 2011) มีแนวคิดว่า หุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดในตลาดหุ้นคือ Superstock
Superstock ของ Fisher หมายถึง บริษัทที่สามารถเติบโตได้ปีละ 15-20% ในระยะยาวๆ โดยไม่ต้องเพิ่มทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดเล็ก แต่ด้วยเหตุผลเรื่อง Product Life Cycle ทำให้ระหว่างทางที่เติบโต บริษัทเหล่านี้จะต้องเผชิญกับช่วงชะงักงันบ้างเป็นบางเวลา และจะทำให้ราคาหุ้นร่วงลงมามากเกินไป กลายเป็นโอกาสของนักลงทุน ที่จะเข้าเก็บหุ้นเหล่านี้
Fisher มองว่า Superstock มักเป็นหุ้นขนาดเล็กมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ เพราะหุ้นขนาดเล็กผลิตภัณฑ์ยังน้อยอยู่ ทำให้เมื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัทกำลังถึงจุดอิ่มตัว ผลประกอบการจะชะงักได้ง่าย เพราะบริษัทต้องลงทุนเพิ่มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาแทนที่ ทำให้มีจุดให้นักลงทุนเข้าเก็บอยู่เป็นระยะๆ ต่างกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์หลายตัวแล้ว ทำให้เมื่อผลิตภัณฑ์ตัวใดถึงจุดอิ่มตัว จะไม่ส่งผลลบต่อผลประกอบการรวมมากนัก ทำให้มีโอกาสเข้าเก็บหุ้นในราคาถูกได้น้อยกว่า โดย Fisher บอกว่า ให้รอซื้อ superstock ที่ P/S ต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งมักยังพอหาได้เสมอในทุกภาวะตลาด และให้ขายทิ้งหาก P/S สูงถึง 2-3 เท่าไปแล้ว เพราะแม้พวกมันอาจจะยังไปต่อได้อีก แต่ส่วนใหญ่เป็นเพราะการมองโลกในแง่ดีมากเกินไปของตลาดมากกว่าที่พื้นฐานของ superstock เองจะดีได้ขนาดนั้นจริงๆ
Fisher บอกว่า การตีมูลค่า Superstock นั้น ไม่ควรใช้กำไรสุทธิ (P/E) เลย เพราะกำไรของบริษัทแบบนี้ในระยะมักเหวี่ยงแรงจนทำให้เกิดการบิดเบือนมูลค่าที่แท้จริงในระยะยาวไปเลย เวลาที่บริษัทกำลังอยู่ในขาขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์หลักอยู่ในช่วง take off กำไรก็จะเพิ่มในอัตราที่เป็นทบทวีคูณซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ยในระยะยาวที่บริษัทควรจะทำได้จริง ส่วนเวลาที่บริษัทชะงักเพราะหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาแทนที่ได้ไม่ทัน กำไรก็จะเลวร้ายลงแบบทวีคูณเช่นเดียวกัน หากตีมูลค่าจากกำไรสุทธิ จะทำให้ over-react อยู่เสมอ เหมือนกับคนอื่นๆ ในตลาด
Fisher แนะนำให้ตีมูลค่าของ Superstock จาก Price per Sales มากกว่า เพราะรายได้จะผันผวนในอัตราที่น้อยกว่ากำไรเสมอ และถ้าเป็นหุ้นเติบโตจริง ส่วนใหญ่แล้วรายได้มักโตขึ้นหรืออย่างน้อยก็เท่าเดิมเท่านั้น ไม่ค่อยลดลง ไม่ว่ากำไรจะผันผวนแค่ไหน จึงเป็นตัวตีมูลค่าในระยะยาวที่ดีกว่า
Fisher บอกให้รอซื้อ superstock ที่ P/S ต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งมักยังพอหาได้เสมอ แม้แต่ในภาวะกระทิง และให้ขายออกไปหาก P/S สูง 2-3 เท่าไปแล้ว ซึ่งแม้ว่าราคาอาจไปต่อได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ตลาดมองหุ้นเหล่านั้นดีเกินจริง มากกว่าจะเกิดจากการที่พื้นฐานของธุรกิจเหล่านั้นเอง แต่ถ้าหากเป็นหุ้นที่ไม่เข้าข่าย superstock ให้ซื้อที่ P/S 0.4 และขายออกไปที่ 0.6 เท่านั้น
P/S ช่วยคัดกรองหุ้นที่ไม่น่าซื้อเพราะราคาออกไปได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวไหนเป็น super company การคัดเลือก super company นั้นต้องพิจารณาเชิงคุณภาพ โดย Fisher แนะนำให้ดูจากประเด็นต่อไปนี้
– ผู้บริหารแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่่ใช่องค์กรที่พอใจแค่อยู่กับที่เท่านั้้น
– ต้องเป็นบริษัทที่มีการตลาดที่ดีด้วย Fisher ชอบหุ้นเทคโนโลยี แต่จะต้องประกอบด้วยแผนการตลาดที่ดีด้วย
– มีข้อได้เปรียบที่ไม่ยุติธรรม ต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างชัดเจน ยิ่งดูไม่ยุติธรรมยิ่งดี ส่วนแบ่งตลาดเป็นแหล่งของข้อได้เปรียบที่สำคัญ และมักสะท้อนออกมาในรูปของ profit margin ที่สูงกว่าคู่แข่ง
– วัฒนธรรมองค์กรมีจุดเด่น มีความสัมพันธ์กับพนักงานในแง่บวก
– มีการบริหารจัดการด้านการเงินที่รัดกุมพอ
คุณนรินทร์ ช่วยอธิบายถึงการใช้ P/S ให้หน่อยได้หรือไม่ครับ
price หมายถึง ราคาในตลาด แล้ว sales เป็นยอดขายของบริษัท หารกับจำนวนหุ้นหรือเปล่าครับ
ใช่ครับ เพราะ Price หมายถึงราคาในตลาดหุ้นต่อหนึ่งหน่วยหุ้น เพราะฉะนั้นยอดขายก็ต้องต่อหนึ่งหน่วยหุ้นเหมือนกันครับ ^^
ตามที่คุณ PEEDCHEEE บอกครับ หรืออีกวิธีหนึ่งคือ เอา market cap หารดด้วยยอดขายบริษัทก็ได้
จริงๆผมว่าควรจะดู Net Margin ควบคู่กับ P/S ด้วยนะครับ เพราะเป็น companion variable กัน
เช่น ถ้าเจอหุ้นที่ Net Margin กำลังจะโต และ P/S ต่ำๆก็เป็น indication ว่ามัน undervalue
ลองทำตัวเลขของบางตัวมาให้ดู ^^
Stock P/S
BEAUTY 10.31
BIGC 1.46
CPALL 2.16
GLOBAL 4.17
HMPRO 3.12
MAKRO 0.93
ROBINS 3.61
JUBILE 3.66
OFM 3.21
DCC 3.29
SIS 0.06
SYNEX 0.19
ev/กำไร+ค่าเสื่อม ผมชอบใช้กับโรงงานครับ
ใช่ครับ เราต้องมี profit margin ที่เป็นไปได้ของแต่ละธุรกิจเป็นไอเดียด้วย เพราะแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกัน
รบกวนสอบถามครับ พี่โจ๊กลงทุุนหุ้นเติบโตโดยใช้ P/S มากกว่า P/E ด้วยรึป่าวครับ?
– ขอบคุณมากครับ ^^
เด๋วนี้ใช้ P/S เยอะมากครับ แต่จะต้องมี stable margin ของธุรกิจนั้นอยู่ในใจด้วย แล้วปรับให้เหมาะสม
เช่น หุ้นค้าปลีก stable margin คือ 4-5% ถ้าหาก P/S อยู่ที่ 1 เท่า ก็คือ P/E 20 แล้ว ถ้าหากจะมากไปกว่าหนึ่งเท่า นั่นคือราคาของ growth เท่านั้น
แต่ถ้าอสังหาให้เช่า หรือว่าโรงแรม อาจมี stable margin สูงถึง 15% ดังนั้น P/S 1 เท่า ก็ยังอยู่ใน range ที่ต่ำ เหมือนไม่มี growth
อะไรแบบนี้เป็นต้นครับ
การมอง P/S ช่วยให้ ไม่ถูก P/E บังตา เวลาที่กำไรไม่ปกติ เช่น ถ้าบริษัทเจอปัญหา margin ลดจาก 5% เหลือ 1% พีอีอาจกลายเป็น 50 เท่า ทำให้เรารู้สึกว่ามันแพง แต่ทีจริงแล้วเวลานั้นคือโอกาสซื้อ ถ้าดู P/S จะเห็นว่าไม่ได้เพิ่มมากนัก รอให้ margin กลับสู่ภาวะปกติ เราก็จะสบาย
ตอนนี้ผมมีความคิดจะสร้างกรอบความคิดของการลงทุนแบบ active long-term growth investing ขึ้นมาอีกเพจหนึ่ง เป็นอีกทางเลือกนอกเหนือจาก 7thLTG ด้วย เอาไว้จะค่อยๆ ออกแบบแนวทางให้เป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้น แต่คงต้องใช้เวลาอีกสักพักครับ
P/S ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ P/E ที่เหมาะสมของธุรกิจเมื่อเทียบกับ growth ด้วยใช่ไหมครับ
ขึ้นอยู่กับ margin ปกติของธุรกิจนั้น และ growth
การหา margin พีื่ใช้สูตรตามในหนังสือเลยหรือเปล่าครับ
ปรกติธุรกิจที่ดำเนินการมาระยะนึง ก็จะมีมาร์จิ้นที่ค่อนข้างคงที่ (ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง แบบมีนัยสำคัญของธุรกิจ ทั้งในทางที่ดีและร้าย) … ดังนั้นถ้ามาร์จิ้นคงที่ แต่มียอดขายเพิ่ม เช่น ยอดขาย Growth ถึง 30% ก็จะส่งผลให้กำไรโต 30% ด้วย …. เพราะฉนั้นการลงทุนหุ้นเติบโต คนจึงสนใจที่ Growth ของยอดขาย เป็นหลักใช่มั้ยครับพี่?
– พึ่งแจ่มแจ้งตอนนี้เอง / ขอบคุณมากครับ ^^
ผมสนใจ normal margin มากกว่า margin ในไตรมาสปัจจุบัน เพราะว่าธุรกิจย่อมเจอมรสุมบ้างเป็นเรื่องปกติ ทำให้มาร์จ้ินอาจลดลงชั่วคราว แต่ถ้าเราถือหุ้นค่อนข้างยาว ประเดี๋ยวมันก็จะกลับมาเป็นปกติได้เอง มาร์จิ้นที่หล่นไปชั่วคราวเลยไม่มีความหมายอะไร คิดถืงมูลค่าในภาวะปกติของมันดีกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมสนใจแต่กิจการพื้นฐานระดับ B+ ขึ้นไปเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นธุรกิจระดับ C,D,F คงคิดแบบนี้ไม่ได้
ขอถามหน่อยนะคะ ยังเป็นมือใหม่อยู่คะ ไม่ค่อยเข้าใจการหาค่า price per sale ว่าวิธีคิดจะทำแบบเดียวกับการคิด price per earning หรือไม่คะ
โดยเอา รายได้ที่เป็นยอดขายจริงไม่รวมกับรายได้อื่นๆ / ปริมาณหุ้นในตลาด ได้เป็น Sale เหมือนกันได้เป็น E หรือปล่าวคะ
รบกวนขอความรู้และคำแนะนำด้วยนะคะ และต้องขอบคุณมากสำหรับความรู้ดีๆมากมายจากคุณนรินทร์และทุกท่านที่ร่วมให้ข้อมูลคะ
ถ้ายังมือใหม่มาก แนะนำให้ดู P/E ไปก่อนครับ แต่ P/E ควรใช้กับธุรกิจที่ผลประกอบการไม่เหวี่ยงมากนัก
ทั้งยอดขายและกำไรปกติควรจะแยกตัวที่เป็นรายการพิเศษออกไป เพื่อให้เห็นภาพของธุรกิจหลักอยู่แล้วครับ
ขอบคุณมากคะจะใช้ P/E ไปก่อน และแสดงว่าที่ถามไปเป็นการเข้าใจผิดหมดเลยใช่มั้ยคะ คือคิดว่าพอจะเข้าใจเรื่องยอดขายที่อธิบายไว้นะคะ แต่ไม่เข้าใจสูตรที่คิดนะคะ ว่าที่ตัวเลขที่จะนำมาคิดเป็น sale เป็นตัวไหนคะ
ต้องขอโทษด้วยคะที่ถามกลับมาอีกเพราะอยากเข้าใจจริงๆคะ ขอบคุณมากคร้าบ
ตัวอย่างเช่น CPALL ยอดขายปีที่แล้ว ก็เท่ากับ 197,815.60 ล้านบาท ตามตัวเลขในหน้านี้ครับ
http://www.settrade.com/C04_03_stock_companyhighlight_p1.jsp?txtSymbol=CPALL&selectPage=3
ส่วนมูลค่าตลาด ก็คือ ประมาณ 400,000 ล้านบาท ในหน้านี้
http://www.settrade.com/C04_03_stock_companyhighlight_p1.jsp?txtSymbol=CPALL&selectPage=3
ฉะนั้น P/S ก็เท่ากับ 400,000/197815 หรือ 2.0 เท่า
margin ปกติของค้าปลีกน่าจะทำได้ประมาณ 5% ถ้าหาก P/S เท่ากับ 2x จริงๆ แล้ว ก็คือ PE ประมาณ 40 เท่า เพราะ 2.0/5% ได้ 40
ก็คืือ จะมองเป็น P/E หรือ P/S ก็ได้
เข้าใจแล้วคะ ขอบคุณมากๆนะคะ ขอให้คุณนรินทร์รวยๆและมีความสุขกับการแจกความรู้นะคะ
ยินดีครับ
ถ้าสมมุติว่าเราจะขายหุ้นที่ประมาณp/s เท่ากับ2 ตอนนี้เราควรขายcpallแล้วใช่ไหมครับ แต่ถ้าเราจะขายที่p/s เท่ากับสาม ต้องรอให้cpallขึ้นมาอีกประมาน50%คือmaket capประมาน600000ล้านบาทแต่ตอนนั้นไม่รู้ยอกขายจะขึ้นไปอีกหรือเปล่า ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
ในทางตรงกันข้ามถ้าผมอยากซื้อcpall โดยยึดหลักการp/sไม่ถึง1 ต้องรอให้cpallลงไป เหลือสักยี่สิบกว่าบาท (จะได้เห็นหรือเปล่าเนี่ย)
ถ้ายึดตามแนวคิดของ Fisher ก็ตามนั้นครับ
Fisher ไม่ได้การันตีว่า ทำตามนี้แล้วจะไม่ขายหมู เพียงแต่บอกว่า โอกาสที่ถือแล้วหุ้นจะไปต่ออาจจะไม่คุ้มเสีย
ได้ทำการสมัครสมาชิก วันนี้ 1 เม.ย. เวลา 13.52น. หมายเลขใบเสร็จชำระเงิน 0603-2816-3933-4538 แต่เข้าไปอ่านบทความสำหรับสมาชิกไม่ได้ค่ะ ต้องทำยังไงค่ะ
user tiptop ดูปกติดี ลองล็อกอินจากเครื่องอื่นดูครับ ว่าอ่านได้รึเปล่า ถ้ายังไม่ได้รบกวนติดต่อผมอีกทีครับ
พี่โจ้กครับ กรณีอย่างcpall พอไปรวมกับmakro ยอดขายก็กระโดดทันทีแต่market cap.ไม่ไปไหนมาก นั่นคือ P/Sจะลดลง อย่างนี้บริษัทที่ทำM&Aจะยังดู P/S ได้หรือไม่ครับ
ดูได้ครับ รายได้ก็คือรายได้ เป็นพื้นฐานทางธุรกิจ ซื้อมารวมงบแล้ว ปีถัดไปเราก็ดู organic growth ของทั้งส่วนที่ซื้อมา และของบริษัทแม่ต่อไป เราไม่ดูสิ่งที่ผ่านไปแล้วอยู่แล้ว ไม่ว่าในกรณีไหน
แสดงว่าแม้ P/S จะต่ำกว่า 1เท่า เราก็ต้องเอา margin มาตรวจสอบอีกที
หากหา P/E ออกมาต่ำกว่า growth ก็แสดงว่าน่าลงทุนใช่มั้ยครับ