สองสามปีมานี้ AEC ดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในธีมการลงทุนที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
โดยส่วนตัว มองว่า ธีมนี้อาจจะเป็นธีมหนึ่งที่ใช้มองหุ้นได้ แต่ต้องระวังอย่า มองโลกในแง่ดีมากจนเกินไป
ประการแรกเลยนั้น การขยายการลงทุนไปต่างประเทศนั้น ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว อย่าคิดว่าเมื่อเปิด AEC ในอีก 1-2 ปีข้างหน้าแล้ว บริษัทจะขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคเพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตได้เลย บริษัทน่าจะต้องลองผิดลองถูกอีกหลายปีกว่าจะจับทางที่ควรจะเดินในต่างประเทศได้ แต่บ่อยครั้ง ตลาดหุ้นมักใจร้อน ราคาหุ้นมักปรับตัวล่วงหน้าเร็วเกินไป เมื่อพบว่าเป็นจริงว่า บริษัทไม่สามารถ deliver ผลประกอบการได้เร็วอย่างที่ตลาดคาดหวัง ราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นไปเร็วก็อาจจะปรับตัวลงรุนแรงได้ ที่ผ่านมานั้น ถ้าหุ้นจะขึ้นเพราะ AEC ผมก็มองว่าเป็นเพียงแค่การนำข่าวมาเล่นเท่านั้น หนทางของธุรกิจจริงๆ นั้นยังอีกยาวไกลและดู sexy น้อยกว่านี้มาก
บริษัทที่จะได้ประโยชน์จาก AEC มากกว่าคือ บริษัทที่ออกไปลงทุนต่างประเทศมานานแล้ว เพราะผ่านช่วงลองผิดลองถูกมาพอสมควร หากมี AEC ก็เหมือนมีตัวช่วยให้ง่ายขึ้นไปอีก จึงสามารถตักตวงประโยชน์จาก AEC ได้ทันที ต่างกับบริษัทที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยไปลงทุนต่างประเทศมาก่อน พอมี AEC แล้วค่อยรู้จักไปลงทุนต่างประเทศ แบบนี้ความเสี่ยงจะเยอะกว่า
ประการถัดมา เขตการค้าเสรีนั้นผลประโยชน์ส่วนใหญ่ที่สุดจะตกอยู่กับ ผู้บริโภค มิใช่ผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้บริโภคจะมีตัวเลือกมากขึ้น เพราะไม่ถูกปิดกั้นด้วยมาตรการกีกกันทางการค้าต่างๆ ส่วนในแง่ของผู้ประกอบการนั้น ผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์คือ ผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งกว่า ส่วนฝ่ายที่จะเสียเปรียบคือผู้ประกอบการที่อ่อนแอ ซึ่งก่อนหน้านี้อาจอยู่ได้ด้วยการอุดหนุนโดยภาครัฐฯ หรือมาตรการกีดกันทางการค้า พอต้องมาแข่งขันกันอย่าง fair ๆ จริงๆ ก็จะเสียเปรียบผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งด้วยตัวเองมาก พึ่งระวังพวกธุรกิจที่ต้องพึงพาการอุดหนุนจากภาครัฐให้มาก
ฉะนั้นในการเลือกหุ้นเพื่อลงทุนตามธีม AEC นั้น ไม่ใช่เลือกมั่วไปหมด หรือบริษัทไหนไปต่างประเทศก็คิดว่าจะดีไปหมด แต่ควรเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ประเทศไทยเก่งกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเวลาไปบุกประเทศอื่น จะง่าย ในเวลาเดียวกัน ต้องระวังธุรกิจในประเทศที่อ่อนแอกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะถ้าเพื่อนบ้านที่แข็งแรงกว่ามาบุก จะลำบาก
โดยส่วนตัว ผมว่าประเทศไทยเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้านในธุรกิจบริการนะครับ คนไทยเอาอกเอาใจเก่งกว่า จัดงานรื่นเริง ให้เอิกเกริกก็เก่ง อุตสาหกรรมการผลิตก็อยู่ในเกณฑ์ที่แข่งขันได้ แต่ไม่รู้ว่าถ้าจะไปลงทุนสร้างฐานการผลิตในต่างประเทศแล้วจะยังมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจนรึเปล่า แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมประเภทพลังงานและปิโตรเลียม ดูเหมือนเพื่อนบ้านเราจะเด่นกว่า ทั้งมาเลเซียและอินโดนิเซีย เพราะเขามีอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ดีเป็นพื้นฐาน
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ดูเหมือนกลุ่มประเทศอาเซียนจะมีความแตกต่างกันเยอะ การเข้าไปทำธุรกิจจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับแต่ละประเทศมากพอสมควร การขยายการลงทุนจากไทยไปยัง CLMV นั้นน่าจะเป็นไปได้เยอะกว่าขยายไปยังอินโดนิเซีย หรือฟิลิปปินส์มาก ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมครับ
ขอบคุณครับ แล้วอย่าง CPN BGH HMPRO นี่คุณโจ๊กถือว่าแข็งแกร่งพอที่จะขยายการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในต่างประเทศเหมือนกับที่เขาสามารถทำได้ในประเทศมาแล้วมั๊ยครับ เพราะอย่าง cpn ก็จะไปร่วมทุนกับมาเลเซีย อะไรแบบนี้ครับ
พวกนี้ก็เป็นธุรกิจที่ไทยน่าจะแข็งกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ครับ
ขอบคุณครับผม
ขอบคุณครับที่ได้แนะประเด็นที่ควรฉุกคิดครับ
ขอบคุณครับพี่โจ๊ก
“ตลาดหุ้นมักใจร้อน ราคามักปรับตัวล่วงหน้าเร็วเกินไป” นึกถึงที่ lynch บอกว่า รอให้บริษัทมีกำไรก่อนแล้วค่อยลงทุน
รอให้มีกำไรก่อนค่อยลงทุน หมายถึงกรณีที่บริษัทนั้นขาดทุนอยู่ก่อนนะครับ เพราะถ้ายังขาดทุนอยู่ ส่วนทุนอาจลดลงเรื่อยๆ อาจนำไปสู่การเพิ่มทุนหนักๆ ได้ ถ้ารอกให้กำไรก่อน อย่างน้อยถือไว้ ส่วนทุนก็ยังไม่ได้ลดลงทุกปี
คำว่ารอให้มีกำไรก่อน หมายถึงว่าถ้ากำไรไตรมาสนั้น เริ่มกลับมามีกำไร(เป็นกำไรจากการขายของ ที่ไม่ใช่กำไรพิเศษ) ก็ค่อยเข้าซื้อใช่มั้ยครับ
ขอบคุณมากๆคะ
ขอบคุณมากครับพี่โจ๊ก^_^
ในกรณี เรื่องแบบเปิดเสรี แรงงาน ในAEC จะส่งผลดีกับธุรก้จบ้างไหมครับพี่โจ๊ก? เช่นว่าตอนนี้เห็นพวก พยาบาล บุรุษ พยาบาลฟิลลิปปินส์เริ่มเข้ามาในไทยกันแล้ว
ดีกับธุรกิจที่เราเก่งกว่าเพื่อนบ้าน และแย่กับธุรกิจที่เราแย่กว่า
นอกจากนี้ยังดีกับผู้บริโภคโดยรวม เพราะมีทางเลือกมากขึ้น
เพิ่งได้สมัครสมาชิกเข้ามาอ่าน เปิดมุมมองเรื่องAECขึ้นมาโดยพลัน ขอบคุณนะคะ
ขอบคุณมากครับ ^ ^
ขอบคุณครับพี่