สหรัฐ
- เฟด ให้คำแนะนำว่า ถ้าหากสหรัฐฯ ไม่แย่ลงอีกอย่างมาก เฟดจะเริ่มชะลอการซื้อสินทรัพย์ปลายปีนี้ และหยุดซื้อเพิ่มภายในปี 2014 แต่การเริ่มขายออกคงยังอีกนาน และการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็ยิ่งนานกว่านั้นอีก
- หลังจากนั้น จีดีพีไตรมาสแรกของสหรัฐ ถูกปรับลดลงเหลือ 1.8% จากเดิม 2.4% ตลาดจึงเก็งว่า เฟดอาจมีการทบทวนนโยบายดังกล่าว
จีน
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนระหว่างธนาคารพุ่งขึ้นอย่างกะทันหัน สร้างความหวาดกลัวเกี่ยวกับภาวะเงินตึงตัวจนทำให้ตลาดหุ้นจีนดิ่งลงอย่างแรง
- ธนาคารกลางจีนได้ออกมาปฏิเสธปัญหาสภาพคล่อง และอธิบายว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดจากความตื่นตระหนก แต่ก็ได้เข้ามาอัดฉีดสภาพคล่องให้ในเวลาต่อมา
- จีนกำลังเลือกให้ความสำคัญกับแก้ปัญหาสินเชื่อมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสินเชื่อที่นำไปสู่การเก็งกำไรในสินทรัพย์เติบโตรวดเร็วกว่าจีดีพีมาก และจีนก็ยินดีจะลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงชั่วคราวเพื่อควบคุมตลาดสินเชื่อ
ยุโรป
- ตลาดเก็งกันว่าจุดเลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจยุโรปน่าจะผ่านพ้นไปแล้ว
ขอบคุณครับ
สิ่งที่เราควรใส่ใจจากข่าวเศรษฐกิจในระดับโลก ควรให้ความสำคัญในเรื่องใดหรือครับ
หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวและให้ความสำคัญกับตัวบริษัท กับแนวโน้มอุตสาหกรรม มากกว่าภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ
แนวคิดนี้มันจริงเฉพาะเมื่อปัจจัยมหภาคสร้างความผันผวนไม่เกินระดับหนึ่งเท่านั้น
แต่ถ้าเมื่อใดที่มันสร้างความผันผวนในระดับที่มากกว่าปกติ ทุกคนจะรู้ว่ามันไม่จริงเสมอไปครับ
คือ หมายถึงว่า ถ้าเศรษฐกิจตกหนักจริงๆ เป็นวิกฤติใหญ่ อย่างไรก็กระทบกับอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ดีใช่ไหมครับ ? เหมือนวิกฤติใหญ่ๆที่ผ่านมา ราคาหุ้นก็ปรับตัวลงรุนแรงทุกครั้ง ถ้าอย่างนั้นแล้วพอมีแนวคิดในเรื่องของการเตรียมตัวรับมือกับวิกฤติใหญ่ๆได้ไหมครับ ในมุมมองของนักลงทุน
ผมคิดว่าโดยภาวะปกติทั่วไป เราไม่ควรให้น้ำหนักกับเรื่องมหภาคมากนัก อันนี้นถูกต้องแล้ว แต่ในบางกรณีที่มันอาจจะรุนแรงมาก (extreme case) ก็จำเป็นต้องกลับมาให้น้ำหนักเหมือนกัน แต่บอกเป็นข้อๆ เป็นสูตรยาก เพราะวิกฤตใหญ่แต่ละครั้ง ปัญหามันไม่เหมือนกัน ก็ต้องดูแบบห่างๆ ถ้าอันไหนคิดว่าผลกระทบมันอาจจะรุนแรงก็ต้องสนใจไว้เหมือนกัน
ขอบคุณครับ ไม่ทราบว่าบทความที่ผ่านมาพอมีเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่ผมถามไหมครับ จะได้ลองย้อนกลับไปอ่าน ขอบคุณมากครับ _/|\_