หุ้นธนาคารพาณิชย์ไทย เป็นหุ้นที่ถูกมองข้ามมาตลอด เพราะมีภาพของการเป็นหุ้นมาร์เกตแคปขนาดใหญ่ ทำให้ถูกมองว่าโตช้า แต่ถ้าหากวัดด้วยตัวเลขจริงๆ จะพบว่า หุ้นกลุ่มนี้มีกำไรเติบโตในอัตราที่สูงมาก ในขณะเดียวกันความสามารถในการทำกำไรก็สูงมาก เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า real sector ที่เป็นลูกค้าของธนาคารเองเสียอีก (ปล่อยกู้ กำไรเยอะกว่า เปิดโรงงานเอง) ธนาคารพาณิชย์ไทยนั้นดูแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศพอสมควร เพราะธนาคารใหญ่ๆ ในโลกเวลานี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินค่อนข้างมาก ทำให้มี Valuation ที่ต่ำ ในขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น มีภูมิคุ้มกันมาจากบาดแผลที่เคยได้รับเมื่อวิกฤตต้มย้ำกุ้ง ทำให้ไม่ได้รับกระทบมากนักจากวิกฤตซัพไพร์ม เพราะค่อนข้างจะระมัดระวังตัวมากกว่า ที่สำคัญ ธุรกิจนี้ยังเป็นธุรกิจควบคุม ธปท.ต้องการให้ธนาคาพาณิชย์มีกำไรดี จะได้มีฐานทุนที่แข็งแรง เพื่อลด NPL ของระบบ ทำให้ธปท.อนุญาตให้มีผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้น้อยราย ผู้เล่นต่างประเทศจะเข้ามาได้ก็ต้องเข้ามาด้วยวิธีมาร่วมทุนกับธนาคารไทย ซึ่งเป็นภาพที่ต่างกับธุรกิจการเงินอื่น เช่น ประกันภัย หรือโบรกเกอร์ ที่มีผู้เล่นในตลาดมากรายเกินไป ทำให้แข่งขันรุนแรง แต่ธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ถูกจำกัดไว้ให้มีผู้เล่นแค่ไม่กี่ราย ทำให้ผู้เล่นรายปัจจุบันได้รับประโยชน์จากนโยบายของ ธปท.ค่อนข้างมาก เพราะการแข่งขันมีจำกัด ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยมีสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมต่อรายได้รวมเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิค ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้เปรียบก็น่าจะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ๆ เพราะคนเชื่อถือมากกว่าทำให้ต้นทุนเงินต่ำ และจุดคุ้มทุนในการสร้างระบบบริการลูกค้าจะต่ำกว่า เพราะจำนวนลูกค้าที่เยอะกว่าทำให้ถึงจุดคุ้มทุนเร็ว ในแง่ของโอกาสในการเติบโตก็น่าจะยังเหลืออยู่ เพราะสินเชื่อต่อเงินฝากทั้งระบบอยู่แค่ 80-90% ยังไม่ถึง 100% และ NPL ทั้งระบบก็ถูกแก้ไขจนอยู่ในระดับที่ต่ำแล้ว (2-4% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง) และลำพังกำไรสะสมที่มากขึ้นทุกไตรมาส ก็น่าจะทำให้ NPL ยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ ได้โดยไม่ยากเย็นนัก การกันสำรองในเวลานี้ก็สูงเกินข้อกำหนดของ Basel III กันเป็นส่วนใหญ่ ถือได้ว่าฐานะการเงินแข็งแรงมาก ธนาคารเป็นธุรกิจที่วัดมูลค่าหุ้นได้ยาก PE หรือ DCF ไม่ใช่วิธีที่เหมาะเท่าไร การวัดจาก Asset Size อาจจะดีกว่า เช่น P/BV เพราะ สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของสถาบันการเงินมี Book Value ที่จะต้อง mark-to-market ทำให้การดู P/BV ก็เหมือนเป็นการวัดดูว่า ตลาดให้พรีเมี่ยมแก่ธนาคารนั้นเหนือว่าราคาของของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธนาคารมีอยู่มากแค่ไหนด้วย อย่างไรก็ตาม จะเชื่อ P/BV ทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะ Book Value เท่ากัน แต่คุณภาพและระยะเวลาครบกำหนดของสินเชื่อก็ต่างกันอีก ดังนั้น เราอาจจะต้องวัดมูลค่าหุ้นธนาคารจากหลายๆ มุมประกอบกัน ถ้าหากดูจาก Market Capitalization ในเวลานี้ ดูเหมือน ตลาดหุ้นจะให้มูลค่า SCB มากที่สุด รองมาคือ KBANK, BBL, KTB, BAY, TMB ตามลำดับ แต่พอลองดูขนาดของการปล่อยสินเชื่อแล้ว จะเห็นได้ว่า KBank เล็กกว่า BBL, KTB แสดงว่า ตลาดหุ้นในพรีเมี่ยมกับธุรกิจของ KBANK สูงพอสมควร รวมทั้ง SCB ด้วย เพราะ BBL, KTB ปล่อยสินเชื่อพอๆ กับ SCB แต่กลับมี Market Cap ต่ำกว่ามาก
หรือถ้าจะวัดด้วยยอดเงินฝาก ก็จะได้บทสรุปที่คล้ายๆ กับสินเชื่อ
อาจเป็นได้ว่า ตลาดให้มูลค่ากับ “คุณภาพ” ของพอร์ตสินเชื่อหรือเงินฝากมากกว่า ลองมองดูการกระจายของสินเชื่อจะเห็นภาพที่แตกต่างกันของแต่ละธนาคาร
BBL มีสินเชื่อในต่างประเทศเยอะ ซึ่งดูน่ากลัวในยุคนี้ อีกทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ก็เยอะมาก ถ้าหากลูกค้ารายใหญ่ล้มก็อาจมีผลกระทบต่อธนาคาได้มาก ส่วน KTB ก็มีสินเชื่อภาครัฐฯ ซึ่งก็อาจจะมองได้ทั้งแง่บวกและลบ ในขณะที่ KBANK ดูมีการกระจายตัวของสินเชื่อที่ดีที่สุด ก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ได้พรีเมี่ยมสูงกว่าเพื่อนก็ได้
เหตุผลสำคัญที่ทำให้แบงก์ที่มียอดสินเชื่อเงินฝากเท่ากัน มีกำไรจากดอกเบี้ยที่ต่างกันมากได้ก็คือ NIM หรือส่วนต่างรายรับและต้นทุนดอกเบี้ย ธนาคารที่ระดมเงินฝากเป็นบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันได้มากๆ จะมีต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่า เป็นต้น ดังนั้น NIM อาจแสดงถึงความสามารถของแต่ละธนาคารที่จะหากำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินฝากที่เท่าๆ กัน (แต่ไม่แน่เสมอไป เพราะการที่ NIM สูงกว่าอาจเกิดจากการเน้นตลาดสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงกว่าก็ได้ จึงไม่ใช่ข้อดีเสมอไป ดังนั้นเวลาดู NIM อยากให้เทียบธนาคารนั้นแต่ละช่วงเวลามากกว่าเทียบข้ามธนาคาร)
นอกจากรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยแล้ว ส่วนที่เติบโตได้อย่างรุนแรงมากกว่าของธนาคารไทยคือรายได้จากค่าธรรมเนียม ซึ่งเพิ่มขึ้นมากทุกปีตามวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ที่ทำธุรกรรมผ่านธนาคารเยอะขึ้นเรื่อยๆ ปีนี้ SCB มี fee income เพิ่มขึ้นมากถึง 26% เทียบกับยอดสินเชื่อที่โตขึ้นเพียง 16% เท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสองส่วนถือว่าเติบโตมากกว่าจีดีพีของประเทศอย่างมาก แสดงถึงโมเมนตัมที่ยังมีให้เติบโตต่อได้อีกของธนาคารไทย และเป็นการเติบโตที่สูงกว่าบริษัทในตลาดหุ้นทั่วไปเสียอีก
น่าสังเกตด้วยว่า ยิ่งแบงก์ใหญ่กลับจะยิ่งมีรายได้ค่าธรรมเนียมโตขึ้นในอัตราสูงกว่าแบงก์เล็ก แสดงถึงภาวะปลาใหญ่กินปลาเล็กในธุรกิจนี้ และดูเหมือนจะเป็น key value driver ที่อธิบายได้ว่าทำไมตลาดหุ้นจึงให้ราคา SCB, KBANK สูงกว่า BBL, KTB
อย่างไรก็ตาม ภายในระยะสั้นถึงกลาง ธนาคารอาจต้องมีการชะลอตัวลงบ้าเนื่องจากการปล่อยสินเชื่อครัวเรือนที่เร็วเกินไปในช่วงที่ผ่านมา และทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย
AEC เปิดทางให้bank ที่แข็งแรงจากต่างประเทศเข้ามาแข่ง รายได้จาก ค่าธรรมเนียม และ ดอกเบี้ย จะลดลงจนกระทบกับmargin ไหมคับ
กำไรดีขนาดนี้ คู่แข่งน่าอยากเข้ามาเยอะ
Loan to deposit ratio เป็นสัดส่วนที่ ธปท. พยายามควบคุมธพ. อยู่ครับ สัดส่วนถ้าเกิน85-95% ธปทก็เริ่มมีcommentแล้วครับ ซึ่งจริงๆแล้วL2D ratioเป็นตัวชี้วัดแค่เบื้องต้น เพราะแต่งเลขง่าย เข้าใจผิดได้ง่าย
ธนาคารต่างประเทศเปิดในไทยส่วนใหญ่ ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนยังไม่ค่อยน่าพอใจเท่าที่ควรเนื่องจากธนาคารไทยยังมีความได้เปรียบเรื่องสาขา เครือข่ายและความน่าเชื่อถืออยู่
ส่วนแบงค์ต่างชาติเท่าที่ดูยังไม่มีขอมาเปิดในไทยนอกจากธนาคารจากเพื่อนบ้าน เช่นมาเลย์ หรือธนาคารที่มารองรับนลทจากประเทศตนเองเช่นจีนหรือญี่ปุ่น เนื่องจาก ธปทยังบังคับเงินกองทุนที่สูงและกำไรที่ยังต่ำ ทำให้ช่วงนี้ดูยังไม่คุ้มที่จะเข้ามาลงทุน อย่างน้อยก็ในช่วงนี้
ธนชาติ เป็นอย่างไรบ้างครับคุณโจ้ก
ธนชาต ก็ยังมีปัญหาเรื่อง size ครับ ธุรกิจนี้ Big Three ได้เปรียบมากๆ
จะถามว่าแล้ว ธนชาต จะแก้ยังไง การควบรวมที่ใหญ่ขึ้นไปอีกก็อาจเป็นไปได้ แต่ก็คงหาโอกาสได้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
ดูแล้วจุดแข็งก็มีหลายอย่างแต่ทำไมคนจึงไม่ให้ราคาที่มากกว่านี้ ขณะที่ค้าปลีกคนกล้าให้ราคาที่สูงมาก หรือเป็นเพราะธุรกิจธนาคารวิเคราะห์อนาคตยากครับ คนเลยไม่กล้าซื้อในราคาที่สูงเหมือนค้าปลีก
ผมคิดว่าต่อให้แบงค์ฐานะการเกินแข็งแกร่งเท่าไรก็ตาม
แต่ถ้าเกิดวิกฤต แล้ว Bankrun ก็ Game Over ได้นะครับ
เป็นธุรกิจที่ดีจนกระทั่งวันเจ๊ง
ตอนนี้กลุ่ม large bank มีราคาถูกผมมอง pb นครหลวงคุณโจกมีคำแนะนำไหมครับ
นครหลวงคือนะครับ
มี chart interesting income growth ไหมครับ
นครหลวง คือ อะไรครับ หมายถึง นครหลวงไทยรึเปล่า?
ตอนนี้คือส่วนหนึ่งของ TCAP รึเปล่า
ผมจะพิมคำว่า นะครับ มันออกเป็น นครหลวงนะครับ มันแก้ไม่ได้
คุณโจก มีข้อมูล basel3 แต่ละแบงค์ไหมครับ
และ npl แต่ละแบงค์
รบกวนด้วยครับ
กำลังขุดกลุ่มแบงค์อยู่นะครับ
fee income ที่เพิ่มสูง เป็นเบี้ยประกันชีวิตหรือปล่าวครับ เพราะแบงค์จะปล่อยสินเชื่อควบบังคับขายประกัน รวมทั้งเปลี่ยนฐานผู้ฝากเงิน ให้มาซื้อประกันแทน ในระยะหลายปีที่ผ่านมา
ล่าสุด เห็น ธปท เพิ่งตื่น งัวเงียขึ้นมาขอตรวจสอบเรื่องนี้ แบบสลึมสลือ
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยแตกออกได้ประมาณนี้ครับ (SCB)


อยากถามความเห็นเรื่องดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารต่างๆ set กันเองว่ามีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากน้อยอย่างไรครับ หาก banking sector มีการแข่งขันมากขึ้น ดอกเบี้ย MLR จะลดลงได้อีกมั้ยครับ คือผมสงสัยว่าปัจจุบันคู่แข่งน้อยราย แค่หันซ้ายหันขวาหรือBankฮั้วๆกันไม่น่ายากรึป่าวครับ ล่าสุดดอกเบี้ยนโยบายลดลงก็เหนว่าแบ้งต่างๆก้อใช่ว่าจะลดดอกเบี้ยตามทันที
ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจควบคุมครับ ดังนั้นการแข่งขันจึงมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นแน่นอน
ปีนี้ 2020 แล้ว bank เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย
แถบจะไม่เหลือธุรกรรมอะไรให้คิดค่าธรรมเนียมแล้ว
โดน digital disruption แบบเด่นชัดรองลงมาจาก e-commerce
พี่โจ๊กมองว่าธุรกิจแบงค์จะไปในทิศทางไหนต่อไปคะ
เพื่อให้อยู่รอด
อีกหน่อยธนาคารจะอยู่แต่บนมือถือ ทุกธนาคารต้องย้ายระบบทุกอย่างมาอยู่ในมือถือให้ได้ ซึ่งต่อให้ทำสำเร็จก็ต้องกระทบกระเทือนผลประกอบการไม่ใช่น้อย เพราะของเก่าหายไปหมด ของใหม่ทำกำไรทดเชยของเก่าไม่ได้ นี่ยังไม่นับวิกฤตโควิดที่ธนาคารต้องแบกหนี้เสียแทนระบบเศรษฐกิจทั้งหมดไว้อีกต่างหาก