Skip to content
ภาพจาก bjc.co.th

เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย และตัวบริษัทเองก็มีอายุกว่า 130 ปี

ก่อนยุคที่ เสี่ยเจริญ จะเข้ามา take over เบอร์ลี่ยุคเกอร์ นั้น ต้องถือได้ว่า BJC เป็นหุ้นปันผล ที่มีธุรกิจหลักที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่คนไทยคุ้นเคยมานาน เช่น กระดาษทิชชู่ยี่ห้อ Cellox หรือ สบู่หอมตรานกแก้วเป็นต้น คือเป็นสินค้าที่ขายได้เรื่อยๆ แต่ผ่านช่วงเติบโตไปนานแล้ว

แต่หลังจากที่ กลุ่มของเสี่ยเจริญ เข้ามาก็เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวในตัว BJC มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มหันมาแสวงหาการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้เริ่มเป็นหุ้นที่เป็นที่สนใจของตลาด

ถ้าจะถามว่า BJC มีความสำคัญในระดับไหนในอาณาจักรของเสี่ยเจริญ ก็ต้องบอกว่า BJC ถูกวางไว้ให้เป็น 1 ใน 5 ของเรือธงของกลุ่มเลยทีเดียว คือ ในระดับเดียวกับ Thai Bev ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มเครื่องดื่ม หรือ TCC Land ซึ่งเป็น บริษัทแม่ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่วน BJC นั้นเป็นบริษัทแม่ของกลุ่ม Supply Chain ต่างๆ

ตัวผมเองนั่นเริ่มสนใจ BJC มานาน แต่ก็ยังไม่เคยซื้อเลย เพราะในตอนแรกที่ BJC เริ่มมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นนั้น ผมยังรู้สึกงงๆ ว่า core business ของ BJC คืออะไรกันแน่ เพราะดูเหมือนจะประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมากที่ไม่ค่อยเกี่ยวกันเท่าไร ได้แก่ สายบรรจุภัณฑ์ สายสินค้าอุปโภคบริโภค สายเครื่องมือแพทย์ และสื่ออื่นๆ ซึ่งรวมถึงพวกร้านหนังสืออย่างเช่น เอเชียบุ้คส์ ด้วย และ BJC เองก็ดูเหมือนจะสนใจไล่ซื้อธุรกิจมั่วไปหมด ตอนไปซื้อโรงงานขวดแก้วที่เวียดนาม ก็นึกว่าจะเน้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์ แต่พอคาร์ฟูร์หรือแม็คโครต้องการขายกิจการ ก็เห็น BJC สนใจอีก ก็เลยงงว่า บริษัทต้องการหันไปทางไหนก็แน่

แต่ที่จริงจะว่าไปแล้ว ก็มีเครือบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ ที่ทำตัวแบบนี้เหมือนกัน (conglomerate) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม TATA หรือแม้แต่ Berkshire เป็นต้น ไม่ได้ถึงกับแปลกอะไร ถ้าหากจะให้เดา กลุ่มเสี่ยเจริญ คงกำลังสนใจธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ supply chain ของการส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทุกอย่างในภูมิภาคอาเชียน และต้องการเข้าไปมีบทบาทในธุรกิจนี้ เพราะน่าจะเป็นธุรกิจที่มี market power มากในอนาคต ดังนั้นการที่ BJC สนใจธุรกิจอย่าง makro หรือคาร์ฟูร์ ด้วย ก็เป็นเพราะที่จริงแล้ว เชนค้าปลีกเหล่านี้มีระบบ logistics ของตัวเองที่มีความพร้อมมากทีเดียว จะเห็นได้ว่า BJC ยังเข้าไปซื้อธุรกิจ logistics ในเวียดนามด้วยอีกต่างหาก เป้าหมายของ BJC จึงน่าจะได้แก่การยึดธุรกิจ supply chain ในภูมิภาคอาเชียน ต้อนรับ AEC นั่นเอง

หากเป็นอย่างนั้นจริง แผนการของ BJC ต้องนับว่าน่าสนใจและมีวิสัยทัศน์เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นแผนที่ใหญ่โตมโหฬารมาก จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สำเร็จได้ง่ายๆ ก็ต้องอาศัยการมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งของผู้ถือหุ้นใหญ่ในการผลักดันความฝันให้เป็นจริง เป็นหุ้นที่น่าสนใจมากทั้งในแง่ของแผนธุรกิจ และศักยภาพของผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ราคาหุ้นก็สูงลิบลิ่ว จนอาจจะ price อนาคตของมันล่วงหน้าไปเยอะมากแล้ว ซึ่งถ้าดูสถานะปัจจุบันของบริษัทก็เห็นว่ายังต้องทำอะไรอีกเยอะมาก เพราะธุรกิจใหม่ๆ ที่ซื้อเข้ามาเสริมทัพส่วนใหญ่ก็ยังแย่อยู่ ใครจะซื้อหุ้นตัวนี้ก็ต้องบอกว่า คือการซื้ออนาคตล้วนๆ

[คำเตือน: การเขียนถึงบริษัทใดๆ มิได้แปลว่า ผู้เขียนเห็นว่าบริษัทนั้นน่าลงทุนเสมอ ผู้เขียนต้องการนำเสนอทั้งด้านบวกและลบของแต่ละธุรกิจ ซึ่งบริษัทนั้นอาจจะน่าลงทุนหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่มุมมองของแต่ละบุคคล]

7 thoughts on “290: BJC”

    1. SPI ดูไม่ค่อยได้สื่อสารกับตลาดหุ้นเท่าไร เหมือนไม่ค่อย friendly กับนักลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนสไตล์การทำธุรกิจนั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ค่อนข้าง conservative เกินไป ถ้าทำธุรกิจไปเรื่อยๆ ก็คงจะได้ แต่คงจะยากเหมือนกันที่จะเติบโตในโลกปัจจุบัน

  1. อยากได้มาเก็บไว้มาก ๆ ครับ แต่คิดตามสูตรแล้วต๊กกะใจ แพงสุดยอดดดดด O_o !

    ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ ^_^

  2. ขอบคุณครับ ตรงใจมากครับสำหรับบทความ..เคยตาม BJC แต่ต้องยอมรับว่าลำบากครับ ไม่รู้จะดูอะไรเป็นพิเศษ (คิดว่ารู้สึกอยู่คนเดียว)เยอะไปหมดส่วนตัวเลยถือคติว่า “ไม่เข้าใจกิจการไม่ซื้อ” เลยได้แค่อยู่ใน watch list ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *