เวลาเราเห็นหุ้นตัวหนึ่ง เช่น XYZ เคยอยู่ 1 บาท แล้วภายในเวลาไม่นานนัก เช่น ไม่ถึงสองปี มันก็ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น 8 บาท เราอาจบอกตัวเองว่า อึม ถ้าซื้อ XYZ เอาไว้ตั้งแต่ตอนบาทเดียว ตอนนี้ก็กำไรแปดเด้งไปแล้ว
ในความเป็นจริง สมมติว่าคุณรู้ตั้งแต่ XYZ บาทเดียว ว่ามันเป็นหุ้นที่น่าซื้อ คุณก็อาจจะไม่ได้กำไรแปดเด้งก็ได้ เพราะแค่หุ้นที่ถือไว้วิ่งจาก 1 บาท เป็น 1.20 บาท คุณก็มักอยากขายแทบแย่อยู่แล้ว รีบเก็บกำไรไว้ก่อน เดี๋ยวมันลง
ต่อให้คุณโชคดีไม่ได้ขายที่ 1.20 บาท ถ้ามันขึ้นไปถึง 2 บาท ความรู้สึกอยากขายจะยิ่งรุนแรงมากกว่าเดิม และโดยปกติแล้ว หุ้นที่ขึ้นจาก 1 บาท ไป 8 บาท ได้มักไม่ได้ขึ้นทางเดียวตลอด แต่มันอาจจะวิ่งไป 3 บาท แล้วถอยลงมาเหลือ 1.50 บาท ก่อนที่จะกลับขึ้นไป 4 บาท ฯลฯ ระหว่างทางมันเต็มไปด้วย บททดสอบ ที่ยากที่จะทำให้ใครยังถึงหุ้นตัวนั้นได้ตลอดทางจาก 1 บาท ไปถึง 8 บาทได้
คนที่หุ้นขึ้นจาก 1 บาทไปถึง 8 บาทนั้นต้องเป็นคนประหลาดมากจริงๆ ในความเป็นจริง คนอย่างนั้นอาจมีอยู่น้อยมาก หรือว่าไม่มีเลย ตลอดทางที่หุ้นขึ้นไป หุ้นอาจถูกเปลี่ยนมือไปแล้วหลายครั้ง โดยที่แต่ละคนที่เข้ามาผลัดกันถืออาจจะได้กันไปคนละนิดคนละหน่อย แต่แทบไม่มีใครที่ได้กำไรไปทั้งแปดเท่า ถ้าจะมีก็อาจกลายเป็นคนที่ซื้อแล้วลืมไป หรือดูหน้าจอหุ้นไม่เป็นเลยไม่รู้ เสียมากกว่าคนที่ติดตามหุ้นตลอดเวลาด้วยซ้ำ
อยากจะชี้ให้เห็นว่า ผลตอบแทนที่คนได้จากตลาดหุ้นนั้น อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในรูปแบบที่เราคิดเสมอไป คนที่รู้ว่าหุ้นตัวไหนกำลังจะวิ่งจากราคาหนึ่งบาท (สมมติว่ารู้ดีมาจริงๆ) สุดท้ายแล้ว คนนั้นอาจได้กำไรไปแค่ 20 สตางค์ เพราะว่าพอได้กำไรก็รีบขายทิ้งไปเลย ดังนั้นแค่การรู้ว่าหุ้นตัวไหนจะวิ่งนั้น ยังไม่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นได้ แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น เป็นคนที่ “ทน” อยู่กับหุ้นที่ขึ้นได้นานแค่ไหนอีกด้วย บางทีคนที่ดูหน้าจอไม่เป็น หรือซื้อแล้วลืมกลับเป็นคนที่ได้เปรียบ เพราะไม่ต้องอดทนกับจิตใจของตัวเอง
ถ้าไม่นับคนที่ถือได้นานเพราะบังเอิญลืมหรือดูหุ้นไม่เป็นแล้ว คนที่รู้เรื่องหุ้นดีแล้วสามารถถือหุ้นหลายเด้งได้นั้น มักจะต้องเป็นคนที่มีความดื้อสูง คือ ซื้อหุ้นอะไรแล้ว มักจะเชื่อแบบหัวชนฝาว่า หุ้นตัวนั้นดีที่สุด ทำให้ไม่ยอมขายทั้งที่กำไรหลายเท่าแล้ว หรือมีข่าวร้ายมากแค่ไหน เพราะเป็นคนหัวแข็ง เชื่ออะไรแล้วไม่ยอมเปลี่ยนใจเลย แต่คนแบบนี้ก็มักจะได้ผลตอบแทนที่สุดโต่งในสองรูปแบบด้วยคือ ถ้าไม่กำไรหลายๆ เด้ง เพราะบังเอิญเชื่อถูก ก็ขาดทุนหนักๆ เพราะบังเอิญเชื่อผิด ในขณะที่คนที่ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ลังเล สองจิตสองใจ ตลอดเวลา จะเป็นพวกที่ได้กำไรหุ้นแต่ละตัวตัวละน้อยๆ และเวลาขาดทุนก็จะไม่เยอะด้วยเช่นกัน
เค้าว่าคนที่เล่นหุ้นได้ดีจะต้องอยู่กับหุ้นที่ตัวเองคิดถูกได้นานๆ แต่ตัดใจกลับหุ้นที่ตัวเองคิดผิดได้เร็ว เพื่อให้เวลาคิดถูกจะได้กำไรเยอะที่สุด แต่เวลาคิดผิดจะขาดทุนไม่เยอะ แต่ในชีวิตจริง คนเรามักไม่เป็นแบบนั้น ถ้าไม่ดื้อสุดๆ ทั้งสอง ก็เป็นคนที่สองจิตสองใจทุกกรณี การลงทุนจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับสัญชาตญาณตามธรรมชาติของมนุษย์
เหตุผลที่นักลงทุนแต่ละคนได้รับผลตอบแทนในตลาดหุ้นเป็นเท่านั้นเท่านี้ มันมีอะไรที่ลึกกว่าที่เรามักจะคิดกันแบบผิวเผินครับ
เคยรีวิวการลงทุนของผมเอง
หุ้นที่ได้หลายเด้ง มักเป็นหุ้นที่ผมไม่ค่อยได้ดู
บางตัวอยู่ในบัญชีที่ผมลืมรหัสไปแย้ว ><
พอดูอีกทีเห็นมันขึ้นไปมากๆ เลยให้มัน let profit run ครับ
(สรุป ผมฟลุ้คครับ 555)
แต่ส่วนใหญ่หากเราคอยดูหุ้น ยิ่งดูบ่อยๆ เรากลัวกำไรจะหาย
ยิ่งช่วงตลาดผันผวน มักมีความคิดของบางคนที่ชอบบอกให้เรา เก็บกำไรไว้ก่อน
เป็นค่าความสบายใจ
เรามักจะขายทำกำไรหุ้นออกไป
โดยส่วนตัว โชคดีที่ผมเป็นคนกล้าซื้อหุ้นที่ผมเคยขายกลับ แม้ว่าหุ้นจะมีราคาเพิ่มเป็นเท่าตัว แต่หากผมเห็นว่า ราคาในอนาคตมัน”น่าจะ”เพิ่มขึ้น
จาก ความสามารถในการทำกำไรที่มากขึ้น
แต่ไม่ใช่จากแนวโน้มราคาที่มากขึ้น
(ถ้าดูแนวโน้มราคาทีไร มักกลายเป็นเม่าน้อยทุกที ><)
ขอบคุณบทความดีๆ(อีกแล้ว)ครับ
ผมจะนำไปติดไว้เตือนใจครับ
อย่าทำให้ฉันเขว จากข้อเท็จจริงที่คุณนำมาให้ฉันทราบ
…..เป็นสิ่งที่ผมจำได้ดีจากการอ่าน Common Stock and Uncommon Profit ครับ
(เพราะมันอยู่หน้าแรกๆ555)
ผมเลยได้คิดว่า หลายครั้งคนเรามักรวนจากข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือ
ไม่ใช่รวนจากการชักชวน หรือข่าวแบบที่ผมเคยคิดเมื่อแรกเริ่มลงทุนครับ
สมัยก่อนผมซื้อ hmpro 6 บาท พอราคามันวิ่งไปที่ 8.5 ผมก็ขายแล้วครับ
อยากรู้จังว่าคนที่ได้ 10 เด้ง(ซึ่งมีน้อยมากๆ) เนี่ย …เคยขาดทุนหนักๆกับหุ้นบางตัวมั่งรึป่าว ^^
เพราะเวลาขาดทุนจะไม่ยอมโชว์พอรต์ …แต่พอได้กำไรเป็นเด้งๆ เอามาโชว์กันจัง 555
เวลาคนโชว์ port ต้องดูว่าจุดประสงค์เค้าคืออะไร
คนในตลาดบางกลุ่ม บอกว่าตัวเองซื้อหุ้นตัวนี้ๆ เพื่อปล่อยของ
เท่าที่ทราบ การลงทุนไม่มีใครไม่เคยขาดทุน และไม่เคยมีใครไม่เคยได้กำไรครับ
ขนาดฟังแล้วยังเหนื่อยเลย 5555
กำไรหลายเด้ง ส่วนมากเรามักถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อย สุดท้ายผลตอบแทนของพอร์ตรวมก็อาจไม่ได้เพิ่มสูงมาก
ส่วนตัวที่เราถืออยู่มากๆ บ่อยครั้งมักถือไม่ได้นาน
ขอบคุณครับ
อ่านแล้ว โดยส่วนตัวต้องพยายามปรับปรุงตนเองอีกพอควรเลยครับ 🙂
แต่ยังมีพวกลังเลอีกแบบ คือพอหุ้นขึ้นก็รีบขายทำกำไร. แต่พอหุ้นลงก็เปลี่ยนใจ มั่นใจ ทนถือยาว บินกันเต็มตลาดเลย(ผมบินบ่อย ช่วงหลังเริ่มน้อยลง 555)
ขอบคุณครับ
ส่วนตัว หุ้นที่ได้หลายเด้งก็ไม่ค่อยได้ดูเหมือนกันครับ
อาจจะไม่เกี่ยวกันแต่อยากแสดงความเห็นเรื่องหุ้นหลายเด้งครับ
หุ้นหลายเด้งที่หาง่ายที่สุดคือหุ้น turnaround
แต่องค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ว่า คุณต้องเข้าซื้อเมื่อคนยังไม่เข้าใจ ตอนนี้ indicator หลักๆที่บ่งชี้ความน่าสนใจคือ PBV (BS แข็งแกร่ง หนี้น้อย ไม่ล้มละลายในเร็ววัน) หรือ ราคาหุ้นที่อยู่ระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
เมื่อมั่นใจว่ามี catalyst (ที่คาดว่าจะมาผลักดัน EPS ในะยะสั้น) บางอย่างไม่ว่าจากภายนอก (macro change) หรือภายใน (biz model or mgmt change) และเมื่อราคายังไม่วิ่งและ volume ยังไม่มา ความเสี่ยงจะน้อยมาก เข้าข่าย limited downside ซึ่งถือเป็นหัวใจของการลงทุน ประเด็นคือถ้าคิดผิดก็ไม่เจ็บตัวมากนักเพราะร้อยวันพันปีราคาหุ้นก็อยู่แถวๆนี้นั่นเอง
แต่ถ้าเราเข้าซื้อหลักจากที่ราคาเริ่มวิ่ง volume เริ่มมา อันนี้ให้ถือหลักว่าเสียดายดีกว่าเสียใจเพราะความเสี่ยงขาลงจะมากขึ้นเพราะตลาดอาจเริ่มเข้าใจ หรือ มีการเก็งกำไรมากเกินไป
แต่แน่นอนทางเดินมักไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ
หุ้น turnaround ส่วนมากจะมี trailing earnings จะโตไม่ทัน (เพราะพึ่งเริ่มกลับมามีกำไร) ดังนั้นโอกาสติด cash balance จะสูงมาก แม้ไม่เกี่ยวกับ valuation เลย แต่จังหวะนี้ความผันผวนของราคาจะมีมากครับ (เพื่อนนลท.จำนวนมากกลัว cash balance)
ดังนั้นเมื่อเราเจอหุ้นอะไรที่ติด cash balance การลองเข้าไปศึกษาอย่างจริงจังช่วงนี้ก็มักสร้างโอกาสให้เราได้มหาศาลเพราะราคาอาจมีส่วนลดให้เราแบบน่าตกใจ
มาถึงตรงนี้องค์ประกอบสุดท้ายที่ยากที่สุดจึงต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้แต่มักพูดง่ายกว่าทำเนื่องจากน้อยคนนักที่จะทำ valuation ได้เอง ครั้นจะรออ่านจาก broker ก็ไม่มีเนื่องจากหุ้นประเภทนี้ ณ เวลานี้มักไม่ค่อยมี analyst มาติดตาม
เขียนมาทั้งหมดไม่ได้บอกว่าเราจะหาหุ้นหลายเด้งจากหุ้น turnaround เท่านั้น ความจริงหุ้นทั่วๆไปก็มีโอกาสกลายเป็นหุ้นหลายเด้งได้ เพียงแต่หุ้น turnaround มักให้ limited downside แก่เราได้ดีกว่า ให้ cushion ขาลงได้ดีกว่า (มี MOS เยอะกว่า)
จึงเห็นด้วยกับบทความว่ายากมากที่ใครจะได้หลายๆเด้ง เพราะนลท.ต้องใช้ชุดของทักษะจำนวนมานั่นเอง ซึ่งคิดว่าน้อยคนนักจะทำได้ครับ
ผมคิดว่าน่าจะหุ้น วัฏจักรนะ
ถ้าใช้ pbv อาจจะประเมิน ว่าถูกได้
แต่พอจะคิด upside นะจะยาก
ก็ต้องใช้ วิธีอื่น ป่าวคับ
เพราะถ้าติดกับ pbv ก็คงหาหุ้นหลายเด้งยากเหมือนกัน
เพราะถ้าถ้า pbv ไม่ต่ำกว่า 0.5
ก็ไม่รู้ตอนขายจะใช้ 1 1.5 2 2.5 3
ปัญหา คือ หลายเด้งที่ได้
1 ได้โดยที่รู้ว่าจะต้องได้ โดยผ่านการคาดการณ์ ไว้ก่อน หรือได้เพราะไม่รู้
2 ระยะเวลา ขาดเกินแต่ไหน หรือ ไม่ได้จำกัด
3 cagr จริงๆ แล้วเป็นเท่าไหร่
4 สัดส่วน หลายเด้ง ผ่านการคำนวณ มาแล้วหรือยัง ว่าจะมี
นัยยะต่อพอร์ทแค่ไหน
ลองวาดภาพคร่าวๆ ด้วยหัวข้อดังกล่าว มันยากเหลือเกิน
ยิ่งถ้าใส่กรอบว่า
1 ต้องไม่เสี่ยง
2 ชนะตลาดทุกปี ด้วย
ผมว่าคนที่ได้หุ้นหลายเด้งแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย นี่น่าจะหายากมาก
ถามพี่โจ้กหน่อยครับ ว่าพี่เคยได้กำไรหุ้นหลายๆเด้งรึเปล่า
แล้วถ้าเคยเพราะอะไรที่พี่สามารถถือได้นานๆ
Totally Agree. Some of my invested positions got 200%-300%++ just because I have been busy with my new born child and no time to monitor the positions. Purely lucky not selling 🙂