Skip to content

Dekisugi

519: WhiteWhale Protocol Part 2

อัพเดทจาก ตอนที่แล้ว หลังจาก WhiteWhale Protocol ได้เปิดตัวไปด้วยการ IDO เหรียญ Whale Token ด้วยวิธีการที่ช่วยให้ตลาดค้นหาราคาที่เหมาะสม (ลดโอกาสขาดทุนให้คนที่จองเหรียญ) และได้เปิดตัวบริการแรกคือ UST Vault ซึ่งเป็นการรับฝาก UST เพื่อให้ WhiteWhale เอาไปฝากกับ Anchor ให้ได้ผลตอบแทน 20% ในแบบที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ไปแล้วนั้น ล่าสุด WhiteWhale มีแผนจะเปิดตัว LUNA Vault ซึ่งเป็นการรับฝาก LUNA เพื่อให้ WhiteWhale เอาไปหาผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ arbitrage อาทิเช่น คอยดูราคา LUNA… Read More »519: WhiteWhale Protocol Part 2

518: Staking ความเหมือนที่แตกต่าง

ในโลกคริปโต การ Stake เหรียญ คือการเอาเหรียญไปฝากไว้กับแฟลตฟอร์ม แล้วจะได้ผลตอบแทน คล้ายกับเวลาที่เราเอาเงินไปฝากธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ย การ stake ทำให้เหรียญดูมีพื้นฐาน เพราะมีผลตอบแทน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ผลตอบแทนที่แฟลตฟอร์มเอามาแจกเรานั้น (ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปเหรียญที่เรานำไป stake นั้นแหละ) แฟลตฟอร์มเอามาจากไหน? เพราะมันบ่งชี้ถึงปัจจัยพื้นฐานว่ามีจริงแค่ไหน ในบล็อกเชนที่มี consensus เป็นแบบ Proof of Stake จะต้องมี Node ที่ทำหน้าที่ Validate ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในบล็อกเชน การ Stake จะหมายถึงการที่ Validator เอาเหรียญไปวางเพื่อเป็นการประกันว่า Validator จะไม่ขี้โกง และจะดูแล uptime ให้ดี ถ้าทำไม่ดี… Read More »518: Staking ความเหมือนที่แตกต่าง

517: User Adoption is key.

ช่วงที่ผ่านมาพอดีได้มีโอกาสถอยออกจากตลาดคริปโตชั่วคราว เพื่อหันกลับมามองในมุมมองแบบคนนอกมองเข้ามาดูบ้าง จะได้ไม่กาวจนเกินไป ก็ทำให้มีโอกาสได้หันกลับมาถามคำถามสำคัญกับตัวเองคือ มูลค่าของเหรียญคริปโตพวกนี้มาจากไหนกันแน่ แน่นอนว่าคริปโตไม่มีเงินปันผล ดังนั้นจึงไม่สามารถวัดมูลค่าจาก Cash Flow ได้ ราคาของเหรียญขึ้นอยู่กับ Demand Supply ในช่วงเวลานั้นๆ เป็นหลัก แบบเดียวกับทองคำซึ่งไม่มีเงินปันผลหรือดอกเบี้ย แต่ก็มีค่าของมันอยู่ซึ่งกำหนดโดยตลาด ในแง่ของ Supply นั้น ขึ้นอยู่กับสเปคของแต่ละเหรียญว่ากำหนดไว้ยังไง เช่น มีทั้งหมดกี่เหรียญ ใครเป็นคนได้รับแจกเหรียญเหล่านั้นเป็นครั้งแรกบ้าง มี vesting period หรือไม่ เหรียญมี inflation หรือป่าว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อ Supply ในตลาด เช่น ช่วงที่เหรียญของ Dev หรือนักลงทุนกลุ่มใหญ่หลุด vesting… Read More »517: User Adoption is key.

515: Note on Fantom Network

Fantom เป็น Blockchain สัญชาติเกาหลี ที่ผู้ก่อตั้งได้ลาออกไปแล้ว แต่มีจุดเด่นมากๆ ตรงที่ได้ Andre ผู้ก่อตั้ง Yearn มาเป็นหนึ่งในทีมงานด้วย (เคยถอยออกมาเป็นที่ปรึกษาพักหนึ่ง แล้วก็กลับเข้ามาเต็มตัวใหม่อีก) Fantom มีสถาปัตยกรรมที่แปลกกว่า Blockchain ทั่วไป และทำให้มันสามารถรองรับธุรกรรมได้ถึง 20000 tps แต่ทว่าการที่มันรองรับ EVM ทำให้ในความเป็นจริง มันจะทำงานได้ช้ากว่านั้นมาก (แต่ก็เร็วกว่า Ethereum เยอะ) Staker ได้รับผลตอบแทนมากน้อยตาม locking period ที่ตัวเองเลือก สูงสุด 1 ปี ปัจจุบันให้ผลตอบแทนประมาณ 10% แต่นอกจากการ Stake แล้ว… Read More »515: Note on Fantom Network

514: Notes on Polygon Network

Polygon (เดิมชื่อ Matic) ก่อตั้งโดยนักพัฒนาชาวอินเดียที่เคยทำงานใน Ethereum (แต่ไม่ใช่ Key man) Polygon เป็น L2 ที่ทำงานอยู่บน Ethereum โดยอาศัยเทคโนโลยี Plasma ซึ่งคิดค้นโดย Butarin ทำให้ Polygon สามารถรองรับธุรกรรมได้มากถึง 65000 tps และเสร็จใน 2 วินาที เท่านั้น ในอนาคตยังมีแผนที่จะไปเป็น side chain ให้กับ Blockchain อื่นๆ ด้วย เพื่อเพิ่ม interoperatablity รวมทั้งพัฒนาให้รองรับ zk, Optimism ในอนาคตด้วย จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ… Read More »514: Notes on Polygon Network

513: DOT and its tokenomics

ในบรรดา Blockchain ที่มาท้าทาย Ethereum นั้น Polkadot เป็นตัวหนึ่งที่ค่อนข้างจะคิดการใหญ่ และมีความแตกต่างจากตัวอื่นค่อนข้างมาก จุดเด่นนอกเหนือจากการที่ผู้ก่อตั้งคือ Gavin Wood ซึ่งเป็นอดีต CTO ของ Ethereum เองแล้ว ตัวระบบเองยังค่อนข้างแตกต่าง ตั้งแต่การมี Kusama เป็น Playground สำหรับนักพัฒนาให้ทดลองก็ที่จะเข้าไปทำงานจริงบน Polkadot จะได้ไม่มีปัญหา (บ่งบอกถึงความเป็น Perfectionist ของ Gavin แล ะหมายถึงการพัฒนาที่ค่อนข้างช้าด้วย) ไปจนถึงการออกแบบโครงสร้างให้ประกอบด้วย Parachains ซึ่งมีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกับ Shards ของ Ethereum แต่เป็นอภิมหาโปรเจ็คเหมือนกัน อีกส่วนหนึ่งซึ่งโดยส่วนตัวผมมีความประทับใจมากเป็นพิเศษคือระบบ Parachain Auction… Read More »513: DOT and its tokenomics