Skip to content

เจาะลึก

รีวิวหนังสือ the Future of Almost Everything – Patrick Dixon

หนังสือที่พูดถึงทุกเรื่องเกี่ยวกับอนาคต ทั้งระดับโลก ประเทศ อุตสาหกรรม และชีวิตประจำวัน หนังสือเต็มไปด้วยรายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม

431: NIM และ NPL

ธุรกิจธนาคารมีรายได้หลักสองทาง ทางแรกคือการปล่อยสินเชื่อ อีกทางคือการเก็บค่าธรรมเนียมบริการต่างๆ รายได้จากการปล่อยสินเชื่อเกิดจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับที่ได้จากการปล่อยกู้ กับดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องจ่ายตอบแทนผู้ฝากเงิน บางทีเราเรียกส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสองตัวนี้ว่า NIM เช่น ระดมเงินฝากมาให้ดอกเบี้ย 2% แล้วเอามาปล่อยกู้คิดดอกเบี้ย 6% ส่วนต่าง 4% ก็คือ รายได้ของธนาคาร ซึ่งต้องนำมาหักค่าโสหุ้ยในการดำเนินงานอีกที เหลือเป็นกำไร ในความเป็นจริง NIM มีความซับซ้อนกว่านั้นมาก เพราะธนาคารมีเงินฝากหลายรูปแบบ อัตราดอกเบี้ยของแต่ละแบบไม่เท่ากัน เงินฝากบัญชีกระแสรายวันแทบไม่มีต้นทุนทางการเงินของธนาคารเลย ในขณะที่ เงินฝากบัญชีฝากประจำมีต้นทุนการเงินสูงสำหรับธนาคาร ธนาคารขนาดใหญ่จึงมักมีข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนแหล่งเงิน เพราะคนนิยมเบิกบัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์กับธนาคารใหญ่มากกว่า เพราะมีคนใช้เยอะ สาขาก็ทั่วถึงฝากถอนง่าย และมีบริการที่ครบมากกว่า แต่บัญชีสองประเภทนี้มีเงินเข้าออกทุกวัน ไม่นิ่ง ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องสำรองเงินสดไว้ให้บริการลูกค้ากลุ่มนี้เยอะกว่า กลายเป็นต้นทุนอีกแบบหนึ่ง แต่ยังไงๆ ก็ต้องมีเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่เคลื่อนไหว ทำให้ธนาคารสามารถเอาเงินจำนวนนี้ไปปล่อยกู้ยาวๆ กินดอกเบี้ยสูงได้ ได้กำไรส่วนต่างมหาศาลได้เลย… Read More »431: NIM และ NPL

426: ลองคาดการณ์การเพิ่มทุนของ BJC

หลังจากเฮเรื่องซื้อบิ๊กซีกันไปแล้ว ก็ได้เวลาผู้ถือหุ้นของ BJC มานั่งวิตกว่า “แล้วจะต้องเพิ่มทุนเท่าไรหว่า” การซื้อกิจการที่ใหญ่กว่าตัวเองมากๆ ใช่ว่าจะดีเสมอไป ถ้าหากทำให้ฐานะการเงินอ่อนแอลงมากๆ ก็อาจส่งผลลบแทนที่จะเป็นบวกได้

เรารู้ว่าบิ๊กซีจะต้องมาอยู่ใต้ร่มของ BJC เพราะ BJC เป็นเรือธงด้านอุปโภคบริโภคของธุรกิจในเครือเสี่ยเจริญ ซึ่งเสี่ยเจริญได้ใช้เงินซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นหลักของบิ๊กซีมาแล้ว 1.2 แสนล้านบาท และเตรียมเงินไว้สำหรับตั้งโต๊ะซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก (ในรูปของวงเงินสินเชื่อธนาคาร) ซื้อเงินจำนวนนี้เรายังไม่รู้ว่าจะมีมูลค่าเท่าไร เพราะไม่รู้ว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยจะเอามาขายมากน้อยแค่ไหน แค่รู้แน่ๆ ว่า กลุ่มเซ็นทรัลจะไม่ขาย ตรงนี้จึงเป็นตัวแปรที่ยังไม่นิ่ง แต่เพื่อให้เราสามารถคิดต่อไปได้ สมมติว่า ไม่มีใครมาขายเลยก่อนก็แล้วกัน ก็เท่ากับว่า BJC ต้องมีหนี้เพิ่มขึ้น 1.2 แสนล้านบาท (แต่ถ้าเป็นกรณีเยอะสุด ทุกคนมาขายหมด ต้องมีหนี้เพิ่ม 2 แสนล้านบาท) Read More »426: ลองคาดการณ์การเพิ่มทุนของ BJC

417: วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO)

ลักษณะธุรกิจของ OTO ดูน่าสนใจ เพราะทุกวันนี้บริการหลังการขายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการทำธุรกิจ และการ outsource คอลเซ็นเตอร์ ก็ช่วยประหยัดต้นทุน ตลอดจนทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถมี Call Center ให้ลูกค้าได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูงนัก

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี แสดงให้เห็นถึงการที่ตลาดยังอยู่ใน growth phase และก็น่าจะยัง เป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ในอนาคตด้วย และปัจจุบัน OTO ก็สร้าง Top-line growth ได้สูงกว่าอุตสาหกรรม ซี่งเป็นสัญญาญที่ดีในแง่ของส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างการประหยัดต่อขนาดและข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน Read More »417: วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO)

416: โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG)

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) เป็นเครือข่ายสถานพยาบาล 13 แห่ง เน้นเติบโตตามการขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมฝั่งตะวันออก ตั้งแต่สมุทรปราการไปจนจรดปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ จุฬารัตน์ 3, 9, 11 จุดเด่นของหุ้นตัวนี้น่าจะเป็น แผนการเติบโตที่ต่อเนื่อง ทั้งแผนขยายรพ.เดิม และเพิ่มสาขาใหม่ จนถึงต้นปี 2017 เป็นอย่างน้อย ซึ่งปัจจุบันแม้ลูกค้าจะเติบโตต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดในการขยายตึก ทำให้ต้องปิดส่วนให้บริการไปบางส่วน เพื่อก่อสร้างส่วนขยาย การให้บริการในปัจจุบันจึงไม่เต็มที่ แต่เมื่อส่วนขยายทั้งหมดแล้วเสร็จ บริษัทก็จะมีศักยภาพในการให้บริการเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 40% จากปัจจุบัน ปัจจุบันอัตราการใช้บริการรวม (ทุกสาขา) ยังไม่เต็ม คืออยู่ที่ 70% ขึ้นไป แต่จำนวนคนไข้เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อย 17% ตามเทรนด์สังคมสูงอายุ… Read More »416: โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG)

415: สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA)

สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA) ให้บริการสปาและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ มีสาขากระจายอยู่ตามทำเลนักท่องเที่ยว หรือย่านใจกลางเมืองกทม. ภายใต้แบรนด์ Let’s Relax และ Rarinjinda Read More »415: สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA)

414: บมจ. เอ็กโซติค ฟู้ด (XO)

XO ส่งออกน้ำจิ้มและเครื่องแกงสำเร็จรูปเป็นหลัก ตลาดหลักคือตลาดยุโรป (70%)

หลายปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกน้ำจิ้มและเครื่องแกงสำเร็จรูป มีการเติบโตที่สูง และยังสูงอยู่แม้ว่าส่งออกไทยจะตกลง หรือเงินยูโรจะอ่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดนี้มีโมเมนตัมที่ค่อนข้างดีทีเดียว Read More »414: บมจ. เอ็กโซติค ฟู้ด (XO)