Skip to content

จิตวิทยาหุ้น

452: a little bit of knowledge is dangerous

เรามีสุภาษิต น้ำขึ้นให้รีบตัก และเราก็มีภาษิต ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม

ทั้งสองสุภาษิตนี้ขัดแย้งกัน แล้วเราควรจะเชื่อภาษิตไหนกันดี

อันที่จริง เรื่องนี้หลายคนน่าจะตอบได้ว่า จริงๆ แล้ว สุภาษิตทั้งสองข้อได้ใช้ทั้งคู่ แต่ต้องใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์

Read More »452: a little bit of knowledge is dangerous

419: ส่ิงที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้หรือรู้ผิด

ปกติคนเรามักแบ่งความรู้หรือข้อมูลออกเป็นแค่สองแบบ คือ ข้อมูลหรือความรู้ที่เรารู้ และ ข้อมูลหรือความรู้ที่เรายังไม่รู้

และเราก็จัดการกับเรื่องที่เรายังไม่รู้ได้ด้วยการไปหาความรู้นั้นๆ มา ให้เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ที่จริงยังมีความรู้อีกแบบหนึ่งที่เราละเลย หรือมองไม่เห็น และมักเป็นอันตรายมากกว่า นั่นคือ ข้อมูลหรือความรู้ที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เราไม่รู้ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เรารู้ผิดๆ เพราะเราจะนิ่งเฉยต่อความรู้ในส่วนนี้ เนื่องจากไม่รู้หรือตระหนักว่ามันเป็นปัญหา ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เราล้มเหลวซ้ำซาก เพราะพยายามแก้ไขปัญหาภายใต้กรอบความรู้เดิมๆ เพราะคิดว่านั่นคือทั้งหมดแล้ว Read More »419: ส่ิงที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้หรือรู้ผิด

385: วิธีมองการซื้อหุ้น

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราซื้อหุ้นอะไรแล้วถือไว้ไม่ได้นาน คือ วิธีที่เรามองการลงทุนในหุ้น ตอนเริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ ผมมักจะติดกับความคิดที่ว่า การซื้อหุ้นให้ได้กำไรคือ ซื้อหุ้นแล้วพอราคามันขึ้นไปมากๆ เราก็ขายออกมา แล้วก็จะได้กำไร ในเมื่อเรามีมุมมองแบบนี้ พอหุ้นขึ้นไปมากๆ เราก็อดรนทนไม่ได้ ต้องขายออกมา เพื่อ “ล็อค”กำไร เอาไว้ ฯลฯ  สุดท้ายแล้วก็จะถือหุ้นไม่ได้นาน เพราะถ้าไม่ได้ขายทำกำไร จะรู้สึกผิดอะไรบางอย่าง ที่จริงแทนที่เราจะมีมุมมองกับหุ้นแบบนั้น เราน่าจะคิดว่า เราไม่ได้ซื้อหุ้น เพื่อที่จะทำกำไรส่วนต่าง แต่เราซื้อหุ้น เพื่อ “สะสม” Wealth ของเราไว้ในตราสารทางการเงิน ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าเงินสดในระยะยาว เราจึงมุ่งที่จะสะสมหุ้นให้เยอะขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ใช่คิดว่าวันหนึ่งจะต้องขายออกมาเพื่อ “ทำกำไร” ก็ในเมื่อหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในระยะยาว แล้วเราจะขายหุ้นเพื่ออะไร ขายแล้วจะหนีไปไหน หนีไปหาเงินสด เพื่อให้เงินของเราทำงานให้เราน้อยลงอย่างนั้นหรือ ทำไมเราไม่คิดว่าจะเก็บความมั่งคั่งของเขาเอาไว้ในหุ้นให้ได้มากที่สุดและตลอดไป เพื่อให้เงินของเราทำผลตอบแทนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้… Read More »385: วิธีมองการซื้อหุ้น

365: จิตวิทยากับการไหลเข้าออกของเงินในกองทุนรวมไทย

การวิจัยที่จัดทำโดย Prof.Dr.Thorsten Hens เรื่อง Behavioural Finance and Mutual Fund Flows: an international study พบว่า ในการให้นักลงทุนในประเทศต่างๆ ตอบแบบสอบถาม นักลงทุนไทยโดยเฉลี่ย ที่ยินดีจะถือหุ้นยาวขึ้นอีกหนึ่งเดือน เพื่อรอให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Patience Index) มีอยู่น้อยที่สุดเป็นอันดับที่หก จาก 53 ประเทศ และมีระดับของความไม่ชอบขาดทุน (Loss-aversion) สูงเป็นอันดับ 3 จากทั้งหมด การวิจัยยังพบด้วยว่า ยิ่งประเทศมีระดับ Loss-aversion ของนักลงทุนสูงเท่าไร ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เงินจะไหลเข้ากองทุนรวม ในช่วงที่กองทุนรวมเป็นขาขึ้น และไหลออกเมื่อกองทุนรวมเป็นขาลงมากเท่านั้น และทั้ง Loss-aversion กับ… Read More »365: จิตวิทยากับการไหลเข้าออกของเงินในกองทุนรวมไทย

317: หุ้นหลายเด้ง

เวลาเราเห็นหุ้นตัวหนึ่ง เช่น XYZ เคยอยู่ 1 บาท แล้วภายในเวลาไม่นานนัก เช่น ไม่ถึงสองปี มันก็ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น 8 บาท เราอาจบอกตัวเองว่า อึม ถ้าซื้อ XYZ เอาไว้ตั้งแต่ตอนบาทเดียว ตอนนี้ก็กำไรแปดเด้งไปแล้ว

Read More »317: หุ้นหลายเด้ง

314: Fooled by Randomness

ถ้าสมมติว่าเรารู้ว่าเหรียญบาทเหรียญหนึ่งเป็นเหรียญที่ถ่วงไว้ไม่ให้สมดุล คือ โอกาสที่จะออกหัวคือ 55% และก้อยคือ 45% Read More »314: Fooled by Randomness