Skip to content

จิตวิทยาหุ้น

200: พฤติกรรมแปลกๆ ในการเทรดหุ้นของเรา

2349268098_fdda9baf60

พฤติกรรมแปลกๆ อันแรก คือ สมมติว่า เราถือหุ้นตัวหนึ่งมานานมาก เช่น สามปี แต่มันก็เป็นหุ้นที่ค่อนข้างนิ่งมากในช่วงที่ถืออยู่ เช่น แกว่งในช่วงแคบๆ 10.1-10.5 บาท ไม่หนีไปจากนี้เลย

ถ้าวันหนึ่ง Read More »200: พฤติกรรมแปลกๆ ในการเทรดหุ้นของเรา

188: การตั้งกฎเพื่อการควบคุมจิตใจ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ “จิตวิทยา” หุ้นเป็นเรื่องยาก คือ  เวลาที่เรา Bias นั้น เรามักจะไม่รู้ตัวเสมอว่าเรากำลัง Bias แบบเดียวกับ คนเมาที่ชอบเถียงคนรอบข้างว่าไม่ได้เมา เวลาเรา bias จิตใต้สำนึกของเราจะพยายามเลือกเหตุผลที่สอดคล้องกับการใช้อารมณ์ของเรามาสนับสนุน เพื่อให้เรารู้สึกว่า เรากำลังใช้เหตุผลอยู่ ที่ทั้งจริงๆ แล้ว เรากำลังใช้อารมณ์ แต่เลือกเหตุผลเฉพาะที่ถูกใจเรามาอธิบายเท่านั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะจับได้ว่า ตัวเองกำลัง bias อยู่ วิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการลดการใช้อารมณ์โดยเฉพาะ อารมณ์ชั่ววูบในการลงทุน คือ การปิดหน้าจอซื้อขายหุ้นไปโดยสิ้นเชิง ลองสังเกตตัวเองมั้ยครับว่า ถ้าให้นั่งอยู่หน้าจอเทรดที่มีราคาหุ้นกระพริบขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา ประเดี๋ยวเราจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับพอร์ตของเรา อาจสั่งซื้อหรือสั่งขายอะไรสักอย่าง ถ้าจะให้นั่งอยู่หน้าจอตลอดเวลาโดยบังคับไม่ให้ตัวเองเทรดอะไรเลย จะพบว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่เรามองเห็นนี้แหละที่กระตุ้นการใช้อารมณ์ชั่ววูบมากที่สุด ถ้าเป็นเอามากๆ ก็อาจต้องหยุดอ่านหนังสือพิมพ์หุ้นรายวันไปด้วยเลย นอกเหนือจากการลดการมองหน้าจอโดยไม่จำเป็นลงแล้ว มาตรการอีกอย่างหนึ่งที่อาจนำมาใช้ได้ คือ… Read More »188: การตั้งกฎเพื่อการควบคุมจิตใจ

185: คุยกันเรื่องจิตวิทยาหุ้น ตอนที่ 2

ในตอนนี้จะขอพูดถึงอิทธิพลของราคาหุ้นที่มีต่อนักลงทุนที่อาศัยการหา Valuation (Fair Value) วิธีใดวิธีหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนโดยเฉพาะ ตามหลัก Value Investment (แท้ๆ) นั้น มูลค่าของกิจการ (Fair Value) ต้องประเมินมาจากตัวธุรกิจล้วนๆ เช่น รายได้ กำไร กระแสเงินสด มูลค่าสินทรัพย์ เป็นต้น และไม่เกี่ยวกับภาวะตลาดหุ้น หมายความว่า ไม่ว่าตลาดหุ้นในเวลานั้นจะกำลังเป็นหมีหรือกระทิง ก็ไม่ควรส่งผลใดๆ ต่อมูลค่าของกิจการที่คำนวณได้ หรือที่เราเรียกว่าต้องเป็น Absolute Valuation การประเมินมูลค่่าหุ้นใดๆ ที่อิงตลาดหุ้น ตัวอย่างเช่น หุ้นตัวนี้ราคาถูกอยู่ เพราะพีอียังต่ำที่สุดในกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Relative Valuation นั้น เป็นสิ่งที่อันตราย เพราะถ้าหากเวลานั้น หุ้นกำลังแพงหมดทั้งตลาด การที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่งมีพีอีต่ำกว่าตัวอื่นในตลาดก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นตัวนั้นจะถูก… Read More »185: คุยกันเรื่องจิตวิทยาหุ้น ตอนที่ 2

178: คุยกันเรื่องจิตวิทยาหุ้น ตอนที่ 1

นักลงทุนในตลาดหุ้นจะได้เปรียบคนอื่นอยู่สามวิธีเท่านั้น หนึ่งคือข้อมูล สองคือวิสัยทัศน์ และสามคือจิตใจ ผมว่าอันหลังสุดเป็นอะไรที่ ทั้งง่ายที่สุดและยากที่สุดในเวลาเดียวกัน มันง่ายเพราะมันไม่เกินศักยภาพที่ทุกคนจะฝึกให้เก่งกว่าคนอื่นได้ (ไม่มีภาษาอังกฤษหรือความรู้บัญชีเป็นกำแพง ฯลฯ) แต่ที่มันยากคือ มันเป็นอะไรที่ลึกๆ อยู่ข้างในจิตใจ บางคนมีความรู้ท่วมหัว แต่ก็ไม่ช่วยอะไรเลย  เพราะตกอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์โดยที่ไม่เคยรู้ตัวเองเลย ต่อไปนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่มาจากทฤษฎีอะไรที่ไหน แต่มาจากการสังเกตของผมเองตั้งแต่เริ่มต้นลงทุนมาและคิดว่าน่าจะนำมาแชร์ให้กับคนอื่นได้ ผมว่าแนวคิดที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับจิตวิทยาหุ้นก็คือ  การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจะส่งผลต่อความคิดของเราเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นในแง่ปัจจัยพื้นฐานเสมอ” และอิทธิพลนี้มันรุนแรงมากๆ แทบไม่มีใครไม่ได้รับอิทธิพลนี้เลย แค่มากหรือน้อย หรือรู้ตัวได้มากแค่ไหนเท่านั้น ถ้าลองคิดถึงพฤติกรรมแปลกๆ ของนักลงทุนทั้งหลายในตลาดหุ้น เราจะพบว่า เกือบทุกพฤติกรรมล้วนมาหลักการนี้ทั้งสิ้น พูดง่ายๆ ก็คือ มันคือบทสรุปของเรื่องจิตวิทยาการลงทุนเลยก็ว่าได้ (IMHO) ตัวอย่างแรกที่ง่ายที่สุด คุณเคยสงสัยหรือไม่ครับว่า ทำไมตอนหุ้นไทยวิ่งไป 1700 จุด ก่อนต้มยำกุ้ง แล้วหล่นกลับลงมาจนเหลือแค่ 200 จุดนั้น ทำไมถึงไม่มีใครรอดชีิวิตเลย… Read More »178: คุยกันเรื่องจิตวิทยาหุ้น ตอนที่ 1