Skip to content

GLOBAL

229: Management Watchdog 2012 (Result)

บริษัท เป้าหมายเมื่อต้นปี 2012 ผลลัพธ์  PTT รายได้รวม 2.83 ล้านล้านบาท  2.79 ลล.  SPALI รายได้รวมเกิน 20000 ล้านบาท หรือส่งมอบบ้านเกิน 6000 ยูนิต   12000 ล  UAC  รายได้รวมเกิน 1 พันล้านบาท   0.81 พล. APCS รายได้รวมเกิน 1.1 พันล้านบาท (+30%) 1.073 พล. SAMART รายได้เกิน 2.75 หมื่นล้าน กำไรเกิน 1… Read More »229: Management Watchdog 2012 (Result)

201: Management Watchdog 2013

มาอีกแล้วครับ Management Watchdog เจ้าเก่า ใครพบเบาะแสของบจ.ไหนแจ้งเพิ่มเติมไว้ใน comment ของกระทู้นี้ได้ (พร้อมระบุที่มา) ผมจะนำมารวมกันไว้ให้เหมือนเช่นเคย ส่วนผลลัพธ์ของปี 2012 ต้องรอให้งบปีออกก่อน คิดว่า ช่วงต้นเดือนมี.ค.น่าจะนำมาสรุปให้ดูกันได้ครับ ตัวย่อ เป้าหมาย ที่มา CPN รายได้โตกว่า 15% (12% actual) ดู MINT รายได้โตปีละ 15-20% (12% actual) ดู BGH รายได้โต 13-14% (7.2% actual) ดู PS รายได้ 3.4 หมื่่นล้านบาท (3.9… Read More »201: Management Watchdog 2013

TUF : ชีวิตหลัง M&A

ถ้าอยากเห็นภาพธุรกิจของหุ้นตัวนี้แบบเร็วๆ  สิ่งที่ควรมองดูเป็นอันดับแรกเลยก็คือ break down revenue ของมันครับ บริษัทนี้ขายทูน่าประมาณครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งคือกุ้ง ซาดีน แซลมอล และอื่นๆ รวมกัน โดยเป็น Global Company ที่มีการกระจายรายได้ในแง่ภูมิภาคที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบมาก เพราะขายอเมริกา 1/3 ยุโรป 1/3 และที่เหลืออีก 1/3 เมื่อก่อนนี้ขายแบบ OEM เป็นหลัก แต่หลังจาก M&A ครั้งใหญ่ก็กลายเป็นบริษัทที่ขาย OEM 60% อีก 40% เป็นสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปเป็นธุรกิจที่มีความเป็น Global สูงมากครับ เพราะสามารถหาวัตถุดิบจากทั่วโลก มาป้อนโรงงานผลิตที่อยู่ในประเทศๆ เดียว แล้วส่งกลับออกไปขายทั้งโลกได้เลย… Read More »TUF : ชีวิตหลัง M&A

130: 0373: Management Watchdog 2012

มาอีกแล้วครับกับโครงการ Management Watchdog ประจำปี โครงการนี้เป็น Web Collaboration นะครับ ใครพบเห็นข่าวผู้บริหาร บจ.ให้เป้าปี 2555 ไว้ที่ไหน สามารถแจ้งไว้ที่คอมเมนท์ของหน้านี้ได้ ผมจะนำมารวบรวมไว้ในตารางข้างล่างนี้ต่อไป (ระบุที่มาไว้ด้วยก็ดีครับ) ที่อยากได้เป็นพิเศษคือ บรรดาบริษัทของปีก่อนๆ เพราะจะได้เห็นผลงานติดต่อกันหลายๆ ปี จบปี 2555 เราจะมาตรวจสอบกันอีกทีว่า ผู้บริหารแต่ละคนตั้งเป้าหมายไว้ ทำได้ใกล้เคียงหรือแตกต่างมากน้อยแค่ไหน บริษัท เป้าหมาย ที่มา  PTT รายได้รวม 2.83 ล้านล้านบาท  ดู  SPALI รายได้รวมเกิน 20000 ล้านบาท หรือส่งมอบบ้านเกิน 6000 ยูนิต  ดู… Read More »130: 0373: Management Watchdog 2012

97: 0349: Guru Watchdog (Result)

สืบเนื่องจาก 0252: Guru Watchdog Jim Rogers (Source 1 2 3 ) – ช่วงนี้ผมสะสมดอลลาร์เพิ่มขึ้น เพราะเห็นว่าทุกคนมองดอลลาร์ร้ายกันหมด แต่ก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ที่ผมถืออยู่ เพราะยังไงๆ ดอลลาร์ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ ในระยะยาว ผมแค่อยากจะลองทำกำไรระยะสั้นเท่านั้น แต่ผมไม่ใช่คนเล่นสั้นที่เก่งเลย [อันนี้ถือว่าถูก เพราะ USD Index ต้นปี 78 ขึ้นไปสูงสุด 88 ตอนนี้ 80ได้กำไรน้อยมาก แต่ก็ยังถือว่าไม่ทำให้ขาดทุน] – ตอนนี้ ผมยังไม่ซื้อทองคำเพิ่ม เพราะผมถือทองคำอยู่แล้ว แต่จะไม่ขายมันด้วย ถ้าหากทองคำลงไปแตะต่ำกว่าพันเหรียญ ผมก็จะซื้อเพิ่มอีก เพราะภายในปี… Read More »97: 0349: Guru Watchdog (Result)

64: 0299: Mr.Soros and his Reflexivity

จอร์จ โซรอส มีแนวคิดว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไรที่ค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น เขาเรียกโมเดลของเขาว่า Reflexivity… โซรอสมองว่าในตลาดหุ้นจะมีความลำเอียงหลักของตลาดอยู่เสมอ นักลงทุนแต่ละคนต่างมีความลำเอียงเป็นของตัวเองซึ่งแรงซื้อแรงขายจะทำให้ความลำเอียงเหล่านั้นหักล้างกันไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหักล้างกันยังไงก็จะยังเหลือความลำเอียงส่วนหนึ่ง ที่หักล้างไม่หมดและกลายเป็นความลำเอียงหลักที่ครอบงำทั้งตลาดในขณะนั้นๆ อยู่ ความลำเอียงหลักทำให้ตลาดไม่เคยอยู่ที่จุดสมดุล มีแต่มากไปกับน้อยไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มที่แท้จริงของมันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบวกด้วยความลำเอียงหลักที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลง มากหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐาน แต่แค่นั้นยังไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับมามีอิทธิพลกับแนวโน้มที่แท้จริงและความลำเอียงหลักอีกที ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่แท้จริงกับ ความลำเอียงหลักที่มีต่อราคาหุ้น ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบทางเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นขึ้น ความลำเอียงของตลาดว่าหุ้นขึ้นจะยิ่งมากขึ้น และทำให้ราคาหุ้นยิ่งขึ้นต่อไปอีก การที่มุมมองของนักลงทุนส่งผลต่อราคาหุ้นแล้วทำให้ราคาหุ้นกลับมาส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนอีกทีนี้เองที่โซรอสเรียกว่า Reflexivity ในตลาดหุ้น ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางนี้ทำให้การทำนายราคาหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก ถ้าเรามีสมมติฐานเกี่ยวกับกลไกในตลาดหุ้นว่าเป็นแบบนี้ เมื่อใดที่มุมมองของนักลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นมีลักษณะส่งเสริมกันเอง เมื่อนั้นราคาหุ้นจะวิ่งออกจากปัจจัยพื้นฐานออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดฟองสบู่ และจะเป็นเช่นนั้นอยู่จนกว่าพวกมันจะขัดขากันเองซึ่งจะทำให้เกิด market correction ขึ้น ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom และ burst อยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามวิ่งเข้าสู่จุดสมดุลเองตลอดเวลาเหมือนอย่างที่ทฤษฏีทางการเงินบอกไว้ และกลยุทธ์ของโซรอสก็คือการพยายามทำกำไรจาก boom… Read More »64: 0299: Mr.Soros and his Reflexivity

54: 0289: เจ็ดแนวโน้มใหญ่ในปัจจุบัน

การมอง Demand Trends ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณาเลือกลงทุน วิธีมอง Demand Trends ที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ การมองแนวโน้มใหญ่ (MegaTrend)  แนวโน้มใหญ่คือ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าและบริการในภาคธุรกิจ แนวโน้มใหญ่มักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นติดต่อกันนานหลายปี ไม่ใช่แค่ชั่วคราวแล้วหายไป (อย่างนั้นจะเรียกว่าเป็น Fads หรือ Fashions) ดังนั้นการวิเคราะห์แนวโน้มใหญ่เป็นวิธีที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว แนวโน้มใหญ่ที่ผมพอจะมองเห็นในปัจจุบันมีดังนี้ (หลายอย่างเกิดขึ้นมาตั้งนานมากแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังดำเนินอยู่)   1. Aging Society ปรากฏการณ์ที่คนแก่กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อคิดเป็นร้อยละของประชากรทั่วโลก ทำให้สินค้าที่เน้นขายคนแก่ย่อมมี Demand ที่เติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต อาทิเช่น ธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น   2. Free Trade ข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่กำลังมีผลบังคับใช้มากขึ้นเรื่อยๆ จะช่วยทำให้การค้าการลงทุนข้ามชาติมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลดีต่อ ธุรกิจนำเข้า ส่งออก รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งหลาย   3. CyberWorld ผู้คนใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตและมือถือแต่ละสัปดาห์มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลดีต่อธุรกิจให้บริการเน็ต เครือข่ายมือถือ ผู้นำเข้าอุปกรณ์มือถือ สินค้าไอที ธุรกิจเกมออนไลน์ ฯลฯ… Read More »54: 0289: เจ็ดแนวโน้มใหญ่ในปัจจุบัน