Skip to content

Blog

473: การตีแตกหุ้นสำคัญแค่ไหน

ผมเคยเป็นนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการเข้าใจหุ้นสักตัวหนึ่งในทะลุปรุโปร่งถึงแก่นแท้ แล้วลงทุนด้วยเงินมากๆ เพื่อให้สามารถทำกำไรได้ครั้งละเยอะๆ ในช่วง 3-4 ปีแรกที่ผมเริ่มต้นลงทุน และมองว่า การเลือกหุ้นให้ถูกตัวคือเรื่องสำคัญที่สุดของการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ แต่หลังจากนั้นความคิดของผมก็เริ่มเปลี่ยนไป เอาเข้าจริงๆ หุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรแน่นอน ต่อให้คิดมาดีแค่ไหน ก็ยังเจอปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อีกเยอะมาก สุดท้ายแล้ว วิธีการลงทุนอะไรก็ตามที่ต้องพึ่งความสามารถในการเลือกหุ้นให้ถูกตัวมากๆ กลายเป็นวิธีการที่ไม่ดีอย่างที่คิด นอกจากนี้ เวลาเราเห็นกูรูหุ้นคนไหนเก่งมาก เพราะว่าเลือกหุ้นถูกตัวตลอด แล้วเราอยากเดินตามแนวทางของกูรูคนนั้น เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จบ้าง แต่การเลือกหุ้นให้ถูกตัวตลอดเวลาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้าเราไม่ได้เป็นอัจฉริยะหรือมีวิสัยทัศน์ขนาดกูรูคนนั้น มันจะกลายเป็นทางสู่ความหายนะ เพราะเราจับวิธีการที่ต้องการทักษะบางอย่างที่กูรูมี แต่คนธรรมดาไม่มี คนที่เลือกหุ้นถูกตัวตลอดเวลาไม่มีอยู่ในความเป็นจริง เพราะหุ้นเต็มไปด้วยปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ที่เราเห็นบางคนเลือกหุ้นถูกอยู่เรื่อยๆ มักเป็นเพราะเราไม่ได้เห็นภาพทั้งหมด เขาแค่หันด้านที่เขาประสบความสำเร็จให้เราดูเท่านั้น เวลาที่เขาเลือกหุ้นผิด เขาไม่ได้บอกเรา คนที่มีความเชื่อว่าต้องเลือกหุ้นถูกตัวเก่งเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุน ก็จะมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนที่ชอบซื้อหุ้นตามคนอื่นด้วย คือคิดว่าก็เราไม่เก่งขนาดกูรู ทำไมเราไม่ซื้อหุ้นตามกูรูล่ะ ทัศนคติแบบนี้มักนำพานักลงทุนไปสู่การเป็นแมงเม่าแห่ตามคนอื่น ซึ่งก็มักไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ผมกลับชอบแนวคิดที่ว่าจริงๆ… Read More »473: การตีแตกหุ้นสำคัญแค่ไหน

472: ลงทุนระยะยาวอย่าดูผลประกอบการ

อาจฟังดูแปลกๆ แต่สำหรับการลงทุนระยะยาว อย่าเลือกหุ้นหรือตัดสินใจอะไรโดยดูจากผลประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ตาม นักลงทุนไม่ควรมองผลประกอบการในอดีตอยู่แล้ว อย่างที่เขาบอกว่า ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้การันตีอนาคต บริษัทที่รุ่งเรืองในอดีตไม่ได้แปลว่าอนาคตจะรุ่งเรือง การตัดสินใจซื้อขายหุ้นโดยดูจากงบการเงินในอดีตเปรียบเสมือนคนที่ขับรถโดยมองกระจกหลัง มูลค่าปัจจุบันของบริษัทมีค่าเท่ากับค่าปัจจุบันของผลรวมของกระแสเงินสดอิสระในอนาคตทั้งหมดรวมกัน ไม่มีอะไรในมูลค่าบริษัทที่เกี่ยวกับอดีตของบริษัทเลยแม้แต่น้อย ผลประกอบการในงวดปัจจุบันก็ไม่ได้ใช่ตัวบอกว่าหุ้นน่าซื้อหรือไม่เช่นกัน สมมติว่าอยู่ดีๆ ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง 50% แต่ผลประกอบการหุ้นน้ำมันในปัจจุบันจะยังไม่สะท้อนราคาน้ำมันนี้ทันที เพราะผลประกอบการในปัจจุบันยังขึ้นอยู่กับสัญญาขายน้ำมันที่ทำไว้ในอดีต จนกว่าสัญญาเหล่านั้นจะหมดอายุลงราคาขายน้ำมันถึงจะสะท้อนราคาน้ำมันใหม่ ถ้าเรามองผลประกอบการปัจจุบันที่ยังดีอยู่แล้วบอกตัวเองว่า พื้นฐานยังไม่เปลี่ยนเลยไม่ขายหุ้น แบบนี้เราจะกลายเป็นคนสุดท้ายในตลาดเสมอ เพราะกว่าผลประกอบการจะแย่ลงให้เห็นอาจเป็นอีกหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งราคาหุ้นร่วงไปก่อนนานแล้ว แม้แต่ผลประกอบการในอนาคตก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดเช่นกัน คนที่เล่นหุ้นโดยดูผลประกอบการในอนาคต (ประมาณการกำไรในอนาคต) คือคนที่ลงทุนระยะสั้น เช่น หนึ่งปี ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในหมู่นักลงทุนสถาบัน ที่มองหุ้นทีละหนึ่งปี กำหนดราคาเป้าหมายหนึ่งปีข้างหน้าไว้โดยดูจากประมาณการกำไรหนึ่งปี แล้วถ้าประมาณการกำไรถูกปรับขึ้นหรือลดลง ก็ค่อยปรับราคาเป้าหมายขึ้นและลงตามไปเรื่อยๆ (ถ้าประมาณการถูกปรับลดลง ก็ขาดทุน) แบบนี้ก็เป็นการลงทุนแบบปีต่อปี ไม่ใช่การลงทุนระยะยาว… Read More »472: ลงทุนระยะยาวอย่าดูผลประกอบการ

471: การลงทุนที่ดีควรเป็นอย่างไร

มาถึงจุดนี้ก็น่าจะสรุปได้แล้วว่า การลงทุนที่ดีในความคิดของผมต้องมีลักษณะยังไง เลือกลงทุนแต่เฉพาะธุรกิจที่มีพื้นฐานที่แข็งแรงและมีอนาคตเติบโตเท่านั้น ส่วนการซื้อหุ้นเพื่อเก็งผลประกอบการระยะสั้น (เช่น Earnings ปีหน้า) หรือเก็งหุ้นของธุรกิจที่มีปัญหาเพื่อหวังว่าจะกลับตัว หรือเก็งหุ้นวัฏจักรต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่การลงทุน มีความอดทนรอคอยที่จะซื้อหุ้นเหล่านั้นในราคาที่ไม่แพงในระดับที่มากกว่านักลงทุนปกติทั่วๆ ไป และเมื่อซื้อแล้วก็ไม่มีนโยบายที่จะขายหุ้นเหล่านั้นออกมา โอกาสที่ดีก็อย่างเช่น เมื่อตลาดหุ้นปรับฐานใหญ่ในรอบหลายๆ ปี  (แต่ถ้าหุ้นเหล่านั้นถูกอยู่แล้ว หรือตลาดหุ้นถูกอยู่พอดี (เช่น Market P/E < 15) ก็อาจซื้อหุ้นเหล่านั้นได้เลยแต่โอกาสแบบนั้นไม่ได้มีบ่อยๆ ในช่วงชีวิตของคน) เมื่อลงทุนเต็มพอร์ตแล้ว พอร์ตมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีพอสมควร เช่น มีหุ้น 5-10 ตัว วิธีการลงทุนทั้ง 3 ข้อนี้ต้องไปด้วยกันทั้งยวง ถ้าทำแค่บางส่วนจะไม่เวิร์กเลย (แต่เชื่อมั้ยว่าถึงจะบอกอย่างนี้แล้วก็จะยังมีคนเอาไป quote เป็นส่วนๆ อยู่ดี เช่น… Read More »471: การลงทุนที่ดีควรเป็นอย่างไร

470: ตลาดหุ้นไทยลงทุนระยะยาวได้ด้วยเหรอ?

จากที่เล่าไปสองโพสต์ที่แล้ว สมมติว่าเรามีพอร์ตหุ้นที่เต็มไปด้วยหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง และซื้อมาในราคาไม่แพง มีการกระจายของพอร์ตที่เหมาะสม เช่น 5-10 ตัว เราคงสบายใจ ที่จะถือพอร์ตนี้ไว้เฉยๆ ในระยะยาวๆ แต่ในทางปฏิบัติ มีปัญหามากมาย ประการแรก หุ้นไทยถือยาวได้เหรอ? ที่จริงผมเห็นด้วยว่า หุ้นไทยถือยาวไม่ได้ แต่ผมหมายความว่า หุ้นไทยส่วนใหญ่ถือยาวไม่ได้ ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่า หุ้นไทยทุกตัวถือยาวไม่ได้ และในความเป็นจริง ตลาดหุ้นไทยมีหุ้น 700 ตัว ไม่ได้แปลว่า เราจะต้องเล่นทุกตัว ถ้าหากเราสามารถหาหุ้นที่มีคุณภาพสูงได้แค่ 5 ตัว จาก 700 ตัว เราก็สามารถสร้างพอร์ตในฝันของเราได้แล้ว ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับหุ้นไทย มีอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งของผมเคยบอกว่า การที่ PowerPoint มีฟังก์ชั่นหรูๆ นับพัน เช่น… Read More »470: ตลาดหุ้นไทยลงทุนระยะยาวได้ด้วยเหรอ?

469: Burn the bridge behind you

นักกลยุทธ์บอกว่า การตัดทางเลือกของตัวเอง บางครั้งอาจส่งผลดีมากกว่า กองทหารที่ทุบหม้อข้าวตัวเอง ทหารย่อมต้องสู้ตาย เพราะทางหนีไม่มีแล้ว การตัดทางเลือกให้ตัวเองจึงกลายเป็นการทำให้ตัวเองให้พลังมากกว่าเดิม หุ้นก็เหมือนกัน ทางเลือกของหุ้นคือ ซื้อแล้วขายเมื่อไรก็ได้ ง่ายแค่ปลายนิ้ว ฟังดูเหมือนเป็นข้อดีของการลงทุนในหุ้น แต่จริงๆ มันเป็นข้อเสีย ถ้าซื้อแล้วขายเมื่อไรก็ขายได้เลย เวลาซื้อเราจะไม่คิดเยอะ ไม่ระมัดระวัง ไม่รอบคอบ เพราะถ้าผิด ก็แค่ขายทิ้ง ถ้าสังเกตให้ดี วอเรน บัฟเฟต จะมีกลยุทธ์ทุบหม้อข้าวเยอะมาก เพื่อหลอกตัวเองให้ซื้อหุ้นแต่ละครั้งอย่างรอบคอบจริงๆ เป็นต้นว่า เขาหลอกตัวเองว่ามีบัตรเจาะรูอยู่ใบหนึ่ง มีสิบช่อง ถ้าซื้อหุ้นหนึ่งตัว ก็จะเจาะรูทิ้งหนึ่งรู ทั้งชีวิตเจาะได้แค่สิบรู ดังนั้น ทุกครั้งที่ซื้อหุ้นสักตัว จะต้องคิดให้ดีมากๆ ต้องเป็นโอกาสที่ดีมากจริงๆ ถึงจะเอา เพราะเท่ากับว่าชีวิตนี้จะซื้อหุ้นได้น้อยลงไปอีกหนึ่งตัวเลยทีเดียว นอกจากนี้เขายังหลอกตัวเองก่อนจะซื้อหุ้นว่า สมมติว่าหลังจากนี้ตลาดหุ้นจะปิดไปอีกห้าปี เรายังกล้าซื้อหุ้นตัวนั้นหรือไม่… Read More »469: Burn the bridge behind you

468: ทำไมบางคนถึงซื้อหุ้นแล้วไม่ยอมขาย

นอกจากแนว Magic Formula แล้ว การลงทุนแบบ Lump sum มีทางเลือกอะไรอีกบ้าง? อันที่จริง สมัยก่อน ไม่มีใครลงทุนแบบ Magic Formula หรอก แนวนี้เพิ่งเข้ามาในช่วงหลังๆ เมื่อแนวคิดเรื่อง Quant หรือ System Trade เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ก่อนหน้านี้ การลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานน่าจะได้รับอิทธิพลจากแนว Value Investing มากที่สุด แนว VI ให้ความสำคัญกับมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมอย่างยิ่งยวด ต่อให้หุ้นพื้นฐานดีขนาดไหน ถ้าซื้อเกินราคาก็จะกลายเป็นการลงทุนที่แย่ การที่มีปรัชญาเรื่องไม่ซื้อของเกินราคาเป็นแกนหลัก ทำให้บ่อยครั้งเราไม่สามารถลงทุนเต็มพอร์ตได้ตั้งแต่ Day 1 เพราะตลาดหุ้นไม่ได้มีของถูกให้ซื้ออยู่ตลอดเวลา ซึ่งนับเป็นข้อเสียสำคัญของการลงทุนแนวนี้ เพราะเงินอาจไม่สามารถทำให้เราได้ตลอดเวลา บางทีตลาดหุ้นก็แพงยาวเป็น 5-6… Read More »468: ทำไมบางคนถึงซื้อหุ้นแล้วไม่ยอมขาย

467: ออกแบบแนวการลงทุนสำหรับคนที่มีเงินก้อน (lump sum investing)

10 ปีที่แล้ว ผมประดิษฐ์แนวการลงทุนอย่างหนึ่งขึ้นมา เรียกชื่อมันว่า 7LTG  10 ปีผ่านไป ผมพบว่ามันเป็นแนวการลงทุนที่ดีทีเดียว แต่ถึงกระนั้น มันก็ไม่ได้เหมาะกับนักลงทุนทุกรูปแบบ และมันก็ยังมีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่ง ที่ว่าไม่เหมาะกับนักลงทุนบางกรณีนั้น ก็คือ 7LTG เหมาะมากกับคนที่มีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ (steam of income)  เช่น มีเงินเดือนประจำ แล้วอยากออมเงิน แต่ไม่เหมาะกับคนที่มีเงินก้อนอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มแรก เพราะ 7LTG ใช้วิธี Dollar Cost Averaging (DCA) กว่าเงินก้อนใหญ่ๆ จะแบ่งทยอยลงจนหมด คงใช้เวลานานมากๆ และนั่นก็เป็นจุดอ่อนหนึ่งของ 7LTG ด้วย เพราะว่ามันคือการลงทุนแบบ DCA ซึ่งอาจจะมีข้อดีตรงที่ช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อแพงได้ แต่ตามทฤษฎีการเงิน ตลาดหุ้นมันจะเป็นขาขึ้นในระยะยาวๆ… Read More »467: ออกแบบแนวการลงทุนสำหรับคนที่มีเงินก้อน (lump sum investing)