AOT เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว และบริษัทนี้ก็เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างผูกขาดมากที่สุดในบรรดาธุรกิจท่องเที่ยวทุกชนิด แต่ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้าตลาด หุ้นตัวนี้เจอมรสุมการเมืองอย่างหนัก เชื่อว่าตอนนี้สงครามน่าจะสงบลงพอสมควรแล้ว ธุรกิจน่าจะเติบโตไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีได้ ราคาค่าบริการก็ขึ้นได้ เพราะเครื่องบินเป็นของฟุ่มเฟือย แรงกดดันให้ควบคุมราคา จึงไม่น่าจะมีมากนักเทียบกับค่าทางด่วนหรือค่ารถเมล์
JUBILE บริษัทนี้มีโมเดลธุรกิจที่ดี เพราะขยายตัวไปตามโมเดิร์นเทรด ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แค่ออกแบบแล้วจ้างผลิต เป็นมีลักษณะของ brand management business ไม่ต้องลงทุนมาก ส่วนจะยังเติบโตต่อได้อีกหรือไม่ก็ขึ้นกับว่ายังมีช่องว่างในการขยายตัวที่ยังไม่ได้ใช้เหลืออีกมากน้อยแค่ไหน
TOG ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า แต่คนเราน่าจะใส่คอนแทคเลนส์กันมากขึ้น แว่นตาน้อยลงมิใช่หรือ?
JMART ธุรกิจร้านขายมือถือไม่ใช่ธุรกิจที่ดีนัก กำไรน้อย แข่งขันรุนแรง ในช่วงที่ตลาดเติบโตสูงอาจจะดูดี แต่เมื่อไรที่ตลาดชะลอตัว จะอยู่ยาก มีผู้ให้บริการมือถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ยังไม่นับร้านแบบเอสเอ็มอีที่เป็นกองทัพมดอีกมากมาย สินค้ามาตรฐานของเหมือนๆ กัน สร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ยาก บอกตรงๆ ว่ามองไม่ออกจริงๆว่า JMART มีจุดแข็งตรงไหนจึงสามารถขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง ต้องรอดูกันต่อไป ส่วนธุรกิจบริหารหนี้ ในนาม JMT นั้น ก็น่าจะมีดีอยู่บ้าง เพราะซื้อหนี้มาในราคาที่ถูกมาก ถ้าเก็บหนี้ได้ไม่เยอะนักก็น่าจะทำกำไรได้แล้ว เป็นธุรกิจที่ counter-cyclical ด้วย บริษัทยังมีอีกธุรกิจหนึ่งคือเหมาพื้นที่เช่าจากบิ๊กซีและมาซอยให้ร้านเอสเอ็มอีเช่าช่วงอีกที ในนาม IT-Junction (JAS Asset) ธุรกิจนี้ก็น่าจะดีกว่าเปิดร้านเอง กำลังจะ spin-off เพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ น่าจะเป็นสตอรี่ให้กับ JMART ได้
AS ธุรกิจเกมออนไลน์น่าจะถึงจุดอิ่มตัวไปแล้ว ต่อให้มีเกมใหม่ๆ ออกมา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เล่นโดยรวมเพิ่มขึ้น บริษัทจึงต้องหาธุรกิจใหม่ๆ จึงจะโตต่อไปได้ ปัญหาคือ กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กฆ่าเวลา หรือเล่นเกมบนไอแพด มากขึ้น
ASIA หุ้นตัวนี้ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของโรงแรมเอเชียแถวปทุมวันเท่านัน แต่มีโรงแรมเอเชียในเครือทั้งหมด 4 แห่ง และยังเป็นเจ้าของห้าง Zeer ย่านรังสิติด้วย ซึ่งเป็นส่วนของธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายตัวได้อีก
SST เดิมทำธุรกิจโกดังสินค้า แต่ตอนนี้หันมาทำธุรกิจอาหารมากขึ้น หลังจากเข้าซื้อกิจการของดังกิ้นโดนัท และ au bon pain
EFORL เปลี่ยนชื่อมาจาก AIM เดิมทำธุรกิจพัฒนาไอทีและสื่อโฆษณาในห้างโมเดลเทรด แต่ประสบปัญหา จึงซื้อกิจการบริษัทตัวแทนขายเครื่องมือแพทย์ เปลี่ยนมาเน้นทางนี้แทน
E เปลี่ยนชื่อมาจาก S2Y เดิมทำธุรกิจดอทคอม แต่ขาดทุนหนัก เลยถูกนักลงทุนกลุ่มใหม่ แบ็กดอร์ เอามาทำธุรกิจโรงแรม (Tune Hotel), Domino’s Pizza และ Coffee Bean & Tea Leaf ซึ่งก็ต้องถือว่าธุรกิจใหม่ค่อนข้างดีกว่าหุ้นที่ถูกแบ็กดอร์ส่วนใหญ่อยู่บ้าง เพราะมีตัวตนค่อนข้างชัดเจน บางทีปัจจุบันนี้มันอาจจะกลายเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจจริงจังแล้วก็ได้ แต่เราก็ไม่มีทางรู้แน่ ต้องรอดูกันต่อไป
ADAM มาจากหุ้น RK ทำธุรกิจผลิตรายการทีวีและวิทยุแต่ประสบปัญหา ต้องหาผู้ร่วมทุนใหม่ ปัจจุบันกลับมาทำช่องทีวีดาวเทียม T Sport
PATKL กระโดดเข้าสู่ธุรกิจเอธานอล แต่ล้มเหลว กลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ
TH ทำหนังสือพิมพ์จีนเก่าๆ แต่ถูก วิชัย ทองแตง แบ็คดอร์ เข้ามาแล้ว ส่วนเขาจะเอาบริษัทนี้ไปทำอะไรนั้น ต้องรอดูกันต่อไป
SLC แต่เดิมทุกธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ถูกแบ็คดอร์ โดยกลุ่มทุนหลายรอบ จนสุดท้าย เชื่อกันว่าน่าจะเป็นของกลุ่มวิชัย ทองแตง เอามาทำธุรกิจช่องข่าวสปริงนิวส์เป็นหลัก และล่าสุดประมูลดิจิตอลทีวีได้หนึ่งช่อง
เวลานั่งขุดประวัติหุ้นเก่าๆ แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า ตลาดหุ้นบ้านเรามีธุรกิจบางชนิดที่เข้ามาในตลาดหุ้นมากเป็นพิเศษ แต่ว่ามีความยั่งยืนต่ำมาก เราจะเห็นหุ้นกลุ่มนี้ตัวแล้วตัวเล่าที่เข้ามาเฟื่องฟูดูมีอนาคตที่ยิ่งใหญ่อยู่พักหนึ่ง แล้วถึงเวลาขาลงก็ถึงขั้นบริษัทไม่เหลืออะไรเลย ตัวแล้วตัวเล่า เพราะอุตสาหกรรมนี้ในบ้านเรามีความเป็นอนิจจังสูง หุ้นในกลุ่มนี้ก็คือ ธุรกิจสื่อ เป็นหุ้นที่นักลงทุนระยะยาวไม่ควรจะไปยุ่งครับ
การเข้ามาทำแบ็คดอร์นี่อธิบายได้ไหมคับ ว่าคืออะไร และเค้าทำกันยังไง
บริษัทที่อยู่นอกตลาด แต่ต้องการเข้าตลาดโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปกติ ก็ใช้วิธีทำแบคดอร์แทน คือรวมกิจการกับบริษัทอะไรก็ได้ที่อยู่ในตลาดอยู่แล้ว ทำให้สามารถเข้าตลาดได้เร็วกว่าง่ายกว่า
ซึ่งก็อาจแฝงมาด้วยการซุกซ่อนอะไรบางอย่าง จึงไม่อยากทำ filing ปกติ
แล้วบริษัทจะได้อะไรละคับหากเข้าตลาดทางback door (ในเมื่อIPOปกติได้เงินทุนจากนักลงทุนเอาไปทำธุรกิจต่อ)
-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาด ประหยัดเวลาไป 18 เดือน
-เข้ามาก่อนแล้วค่อยเพิ่มทุนก็ได้
-เอา asset แปลกๆ เข้ามาขายนักลงทุนโดยไม่ต้องผ่านเกณฑ์ไฟลิ่ง
อะไรประมาณนี้
ดูเเล้วbusiness. Model. ของบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่ดีมากก็มีเเต่ ค้าปลีก กับ โรงพยาบาล
รึป่าวครับ. เพราะยังโตไปได้เรื่อยๆ
ถ้าเอาหุ้นเกรด A เลย ก็เกือบจะบอกว่าอย่างนั้น ถ้าเอา B+ หรือ B ด้วย กลุ่มอื่นๆ ก็น่าจะมีหลายตัวที่สอบผ่านได้
ส่วนตัวไม่ค่อยยุ่งกะหุ้นพวกนี้ครับ แต่อ่านแล้วก็สนุกดีเหมือนกัน ได้เห็นพัฒนาการบริษัทแปลกๆ ทำให้มองภาพตลาดหุ้นไทยได้กว้างขึ้นเยอะเลย
Asia จะเป็นอย่างไร ถ้า Zeer ถูกนำเข้าในตลาดหลักทรัพย์แล้วคับ ส่วนตัวเห็นว่า Zeer มีทำเลที่ดี และยังขยายธุรกิจได้อีกเยอะครับ และถ้า Zeer เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจกว่า หรอป่าวคับ
ASIA ก็เป็นหุ้นที่ดูน่าสนใจทีเดียว แต่คงต้องจับตาดูไปเรื่อยๆ ก่อน
What about VGI krub?
VGI ไว้ขอไปทำการบ้านมาก่อน
ตามไปดู ASIA มา ดู model ธุรกิจ ดูงบการเงินก็ใช้ได้เลย ปีนี้อาจจะเอาเซียร์ รังสิตเข้าตลาดด้วย แต่สภาพคล่องน้อยมาก คุณนรินทร์มีความเห็นยังไงครับ ส่วนตัวไม่ค่อยชอบหุ้นที่สภาพคล่องต่ำ
แล้วอย่าง EFORL ละครับ คุณสุมาอี้คิดยังไงกับประเด็นการเข้าซื้อ AIM ที่เป็นบริษัทค่อนข้างแย่ ทั้งที่ชุดผู้บริหารก่อนหน้านี้อยู่บริษัท E for L international ซึ่งเป็นบริษัทที่ดีบริษัทหนึ่งเลย
1.ทำไมถึงไม่ปั้นบริษัท E for L inter เข้าตลาดหุ้นเอง แบบนี้ประโยชน์ที่ได้นอกจากเรื่องระยะเวลาที่ใช้เวลาสั้น แต่ EFORL ต้องแบกรับงบขาดทุนสะสมของ AIM เดิม หรือน่าจะได้ประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มหรือไม่ครับ
2.หลังเข้ามา บริษัท ซื้อ Space Med เป็นบริษัทลูก และประกอบกิจการขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ เหมือนบริษัทแม่แต่คนละชนิดกับอันนี้พอเข้าใจ แต่ในคณะบริหารยังมีบริษัทนอกตลาดคือ E for L international ซื้อขายอุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดคนละอย่างกัน แต่บางชนิดเหมือนกัน(คือเป็นคู่แข่งกัน) ซึ่งในกรณีแบบนี้ประโยชน์ที่ได้ของการมีสองบริษัทที่อยู่ทั้งนอกและในตลาดหุ้น โดยประกอบกิจการแบบเดียวกันและเจ้าของเป็นกลุ่มเดียวกันคืออะไรจะเอื้อมประโยชน์กันแบบไหนครับ หากมองในแง่ธรรมภิบาลเป็นอย่างไร เรื่องการโยกย้ายถ่ายโอนเงินของบริษัทในตลาดซึ่งตรวจสอบได้กับนอกตลาดที่ตรวจสอบไม่ได้จะมีปัญหาไหมครับ…ขอบคุณมากครับ
ประเด็นพวกนี้เราสามารถสงสัยได้เสมอครับ แต่สุดท้ายแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเขาสุจริตหรือไม่สุจริตได้แค่เชื่อไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น แต่โดยมากถ้าเป็นบริษัทใหม่ที่เรายังไม่เคยเห็นพฤติกรรม ผมจะเป็นห่วงไว้ก่อนครับ
AOT ที่มีโครงการสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ สุวรรณภูมิเฟส 2 จากปัจจุบันที่ผู้โดยสารล้นสนามบิน ก็น่าจะถือว่ามีสตอรี่ มีแผนเติบโตรึป่าวครับพี่?
AOT คงโตได้เรื่อยๆ เพราะนักท่องเที่ยวไทยเพิ่มปีละเป็นล้านทุกปี ถึงการท่องเที่ยวจะเหวี่ยงรุนแรงมาก แต่พอสงบ มันก็จะกลับมาเดินตามเทรนด์เดิมอย่างรวดเร็ว ถ้า AOT ไม่สะดุดขาตัวเอง
เป็นสมาชิกแล้วทำไมเปิดอ่านข้อความไม่ได้คับ…ล๊อกอินหลายครั้งก็ไม่ได้
ปรับให้อ่านบทความได้แล้วครับ
ผมก็อ่านไม่ได้ครับ (จ่ายค่าสมาชิคแล้ว) ล๊อกอินได้แต่อ่านไม่ได้
โอนเข้าบัญชีธนาคารรึเปล่าครับ ถ้าใช่ต้องแจ้งธนาคารที่โอนเข้าและจำนวนที่โอนให้ด้วย ขอบคุณครับ
ใช้บัตรเครดิตคับ
เป็นความผิดพลาดของระบบผมเอง ตอนนี้แก้ไขให้แล้วครับ ขออภัยด้วย