งบการเงิน SSC

ปีที่แล้ว SSC เลิกสัญญากับเป๊ปซี่และคาราบาวแดง เพราะค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแบรนด์อยู่ในระดับที่ทำกำไรไม่ได้ และหันมาทำแบรนด์ เอส โคล่า เองโดยอาศัยจุดแข็งเรื่องระบบจัดจำหน่ายที่ตัวเองมีอยู่

การทำแบรนด์เอง

น่าจะช่วยให้ธุรกิจมีมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเสียค่ารอยัลตี้ให้เจ้าของแบรนด์  แต่ปัญหาก็คือว่า ตลาดน้ำอัดลมไม่ได้โตมากนัก การที่มีแบรนด์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแบรนด์ก็เท่ากับต้องแย่งลูกค้ากัน จากเดิมที่ SSC เคยครองตลาดถึง 50% ในนามเป๊ปซี่ กลายเป็นต้องแบ่งกันระหว่าง เอส โคล่า กับเป๊ปซี่ ซึ่งก็ถือว่า เอส ทำได้ดีระดับหนึ่ง ที่ชิงตลาดมาได้ 20% ตั้งแต่ปีแรก แต่ก็ไม่สามารถชดเชยยอดขายที่หายไปได้ ทำให้แม้ว่าต้นทุนบางส่วนจะหายไปจริง ทำให้ Gross Margin ปรับตัวดีขึ้น แต่ยอดขายหดตัวถึง 50% จึงกลายเป็นขาดทุนแทน เพราะบริษัทย่อมมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ปรับลดไม่ได้ไม่ว่าจะขายได้มากหรือน้อย ยังไม่นับปีแรกที่ต้องใช้จายเรื่องการสร้างแบรนด์เยอะ

Screen Shot 2557-05-13 at 9.52.32 AM

งานนี้ SSC จึงต้องหาทางเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด (เท่าตัว) เพื่อให้รายได้กลับมาได้สัดส่วนกับ Fixed Cost เดิม บริษัทถึงจะกลับมามีกำไร และมีมาร์จิ้นสูงขึ้นตามที่ตั้งใจไว้ได้  แต่นั่นก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องง่ายนักในธุรกิจที่ตลาดค่อนข้างอิ่มตัวแบบนี้

ถ้าเราไม่เห็นการขยับตัวแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เราอาจจะยังเห็น SSC ต้องขาดทุนไปอีกพักใหญ่ๆ เลย

2 Replies to “งบการเงิน SSC”

  1. อารมณ์เหมือน pranda ที่ขยับมาทำรีเทลมากขึ้น แต่ส่วนของโรงงาน กับ จัดจำหน่าย น้อยลง จนไม่คุ้มกับต้นทุนคงที่เลยครับ.

    1. ค่าโสหุ้ยโดยเฉพาะเงินเดือนพนักงานเป็นอะไรที่ลดยากจริงๆ เพราะว่ามันมีต้นทุนทางสังคมสูง บริษัทที่ธุรกิจแย่ลงบางทีก็ต้องทนขาดทุนไป เพราะว่าปลดคนไม่ได้เต็มที่ตามสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนไป

Comments are closed.