คอนทราเรียนตัวจริง vs ตัวปลอม

ชอบพูดกันมากกว่า การลงทุนต้องเป็น contrarian ถึงจะสำเร็จ โลภเมื่อคนอื่นกลัว กลัวเมื่อคนอื่นโลภ ซื้อเมื่อคนอื่นขาย ขายเมื่อคนอื่นซื้อ

ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิด แต่ว่าการเป็น contrarian จริงๆ นั้น มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คนทั่วไปคิด

ประการแรก ตลาดไม่ได้ผิดเสมอไป ถ้าหากตลาดผิดเสมอ การลงทุนให้รวยต้องเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ แค่ทำให้ตรงกันข้ามกับตลาด เราก็จะรวยแล้ว แต่ถ้าใครเล่นหุ้นมาสักระยะจะรู้ว่าการทำเงินในตลาดหุ้นมันไม่ได้ง่ายมากขนาดนั้น บางครั้งตลาดก็ถูก เราเองต่างหากที่ตกข่าว

ปัญหาอีกอย่างของการเป็น contrarian ก็คือ นักลงทุนมักลุกขึ้นมาเป็น contrarian พร้อมๆ กัน เช่น เวลาหุ้นเริ่มตกใหม่ๆ ทุกคนจะออกมาบอกว่า ยิ่งตกยิ่งซื้อ อยากเป็น contrarian พร้อมๆ กัน ซึ่งพอหุ้นตกต่อไปอีกเยอะๆ ตอนนี้ contrarian จะเริ่มหายไป วงแตก เริ่มกลัวกันหมด ซึ่งตอนนั้นหุ้นก็อาจจะน่าซื้อพอดี เพราะไม่เหลือใครที่อยากเป็น contrarian พอดี แต่ทุกคนดันจิตตก อยากขาย พอขายเสร็จหุ้นก็เด้ง เป็นต้น

การเป็น contrarian ในตลาดที่ทุกคนอยากเป็น contrarian จึงไม่ใช่การเป็น contrarian โดยนิยาม เพราะ contrarian ย่อมทำต่างจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงเวลาที่คนส่วนใหญ่อยากเป็น contrarian ด้วย

Sir John Templeton ได้ชื่อว่าเป็น contrarian ตัวพ่อ สำหรับเขาแล้ว การเป็น contrarian ธรรมดานั้นไม่เวิร์ก เพราะใครๆ ก็คิดแบบนั้น สำหรับตัวเขาต้องเป็น extrem contrarian เท่านั้น เขารอซื้อหุ้นที่ตกหนักมากจนไม่เหลือใครที่อยากเป็น contrarian อีกแล้วเท่านั้น ถึงจะเป็นวิธีที่ได้ผล

2 Replies to “คอนทราเรียนตัวจริง vs ตัวปลอม”

  1. แต่ก็มีราคาที่ต้องแลกใช่มั้ยครับพี่โจ๊ก …เช่นถ้าเราเป็นคอนทาเรียนแบบฮารด์คอร์ รอซื้อที่ราคาถูกมากๆ (เช่น บางคนรอบนี้ อาจจะรอซื้อตอนดัชนี 800) ก็อาจจะไม่ได้ซื้อเลยก็ได้ … กลยุทธ์ ที่ compromise กว่า อาจจะเป็นการแบ่งโซน ทยอยซื้อหลายๆไม้ ที่ช่วงราคาที่อาจจะไม่ได้ถูก แต่ก็ไม่ได้แพง

    1. ใช่ครับ ขึ้นอยู่กับ risk preference ของแต่ละคน ยินดีจะแลกราคาถูกกับไม่ได้ซื้อเลยมากแค่ไหน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *