เวลาพูดถึง Passive Investing เรามักคิดถึงการลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (Index Fund) แต่ในโลกของ Passive Investing เป็นอะไรที่กว้างกว่านั้น
ข้อดีของ Index Fund คือ การกระจายหุ้นในระดับสูงสุด ซึ่งการกระจายหุ้นของ “ของฟรี” อันเดียวที่จะคงเหลืออยู่ในโลกการเงินยุคอนาคต แต่โลกแห่งความเป็นจริง การกระจายหุ้นที่มากจนเกินไป ก่อให้เกิด ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ได้จากการกระจายความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมซื้อขายและความยุ่งยากในการจัดการที่เพิ่มขึ้น
มีการวิจัยจำนวนมหาศาลที่พบว่า ถ้ากรองหุ้นในตลาดด้วยลักษณะร่วมกันง่ายๆ บางอย่าง (Factor) เช่น พีอีต่ำ มีโมเนต้ม เป็นต้น แล้วคัดเฉพาะหุ้นที่เขาเกณฑ์เหล่านั้นมาจัดทำเป็นดัชนีย่อยๆ แล้วลงทุนตามดัชนีย่อยนั้นแทน พบว่า สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีตลาดอย่างต่อเนื่องได้ เรียกว่าเป็น market bias (abnormaly) บางอย่างที่กี่ปีกี่ชาติก็ยังไม่ถูกทำให้หายไป จึงเป็นที่มาของคำว่า Factor Investing ซึ่งเป็นการลงทุนในดัชนีที่สร้างขึ้นจาก Factor เหล่านี้
ในตลาดหุ้นสหรัฐ มีการพบว่า Factor ที่ชนะตลาดได้ต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยการทำ Back test) มีประมาณ 6 ตัว ตัวที่เป็นที่รู้จักมากได้แก่ พีอีต่ำ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดได้ประมาณ 2% ต่อปี ในระยะยาวๆ อีกตัวคือ โมเมนตัม กล่าวคือ หุ้นที่มีโมเมนตัมในช่วงที่ผ่านมา จะให้ผลตอบแทนในระยะสั้นถึงกลางได้สูงกว่าตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แม้ว่าส่วนต่างที่ชนะตลาดได้จะไม่มากนัก แต่ถ้าลงทุนต่อเนื่องไปในระยะยาวย่อมคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนในดัชนีตลาดปกติ เป็นของฟรีที่ไม่มีเหตุผลที่จะไม่เอา
อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ Factor Investing ก็มีข้อที่ควรระวังด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้า Factor ที่เราเลือกใช้ทำให้เกิดหุ้นที่จะมาสร้างดัชนีมีจำนวนที่น้อยเกินไป เช่น เหลือแค่สี่ห้าตัว ก็อาจเป็นการกระจายที่น้อยเกินไป ทำให้เกิด large deviation จาก expected returns ได้ หรือหุ้นเหล่านั้นบางตัวอาจมีโวลุ่มต่ำเกินไป ถ้าพอร์ตเราใหญ่มาก ก็จะมีปัญหา liquidity ได้ด้วย ดังนั้น Factor ที่ใช้ควรก่อให้เกิดจำนวนหุ้นที่จะลงทุนมากในระดับหนึ่งด้วย เช่น 10 ตัว เป็นต้น
อีกประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าหลาย Factor จะชนะตลาดได้ซ้ำๆ กันหลายๆ ปี แต่ก็ยังไม่เคยพบว่ามี Factor ใด ที่ชนะตลาดได้ทุกปีที่มีสถิติให้ทำการทดสอบได้ เพราะตลาดหุ้นจะมีบางยุคบางสมัยที่มีลักษณะเฉพาะตัวบางอย่างมากๆ ที่ทำให้ Factor บางตัว ไม่ทำงาน เช่น ในยุคของ Great Moderation หุ้นพีอีต่ำจะให้ผลตอบแทนแพ้ตลาดได้ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นที่ยาวนานมากๆ ทำให้หุ้นพีอีสูงให้ผลตอบแทนดีเป็นพิเศษ หรือหุ้นโมเมนตัมก็มักจะมาตายเอาในปีที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น การเทใจให้ Factor ใดอันหนึ่งแบบเต็มร้อย จึงอาจไม่ปลอดภัยมากพอ โดยเฉพาะพอร์ตที่จะลงทุนยาวนานมากๆ จนสภาวะทางมหภาคของประเทศเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ทำให้เกิดแนวโน้มการลงทุนใน multi-factor นั่นคือ เลือก Factor มากกว่าหนึ่งตัวมาใช้ในการจัดทำดัชนี
ประการสุดท้าย ในการลงทุนแบบ Factor Investing ควรมีการทำ Port Rebalancing เป็นระยะๆ ด้วย ซึ่งก็คือการอัพเดทรายชื่อหุ้นใหม่ โดยใช้ Factor เดิม แล้วเปลี่ยนรายชื่อหุ้นที่ลงทุน เพราะหุ้นบางตัวอาจมีลักษณะที่หลุดออกจากโผไปนานแล้ว แต่เราก็ยังลงทุนอยู่ ส่วนช่วงห่างในการทำ Rebalance จะเป็นทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือทุกปีนั้น ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก (ที่จริง นานหน่อยน่าจะดีกว่าเพราะว่าไม่ยุ่งยาก)
ในส่วน momentum ที่ใช้เป็น factor หนึ่งนั้นใช่ momentum indicator ของ technical analysis ที่ว่าหรือไม่ครับ
“Market momentum is measured by continually taking price differences for a fixed time interval. To construct a 10-day momentum line, simply subtract the closing price 10 days ago from the last closing price. This positive or negative value is then plotted around a zero line. The formula for momentum is:
M = V – Vx
V is the latest price, and Vx is the closing price x number of days ago.”
Read more: Momentum And The Relative Strength Index | Investopedia http://www.investopedia.com/articles/technical/03/070203.asp#ixzz4MbZ7gwZq
Follow us: Investopedia on Facebook
ใช่ครับ แต่รายละเอียดพารามิเตอร์ต่างๆ อาจจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่ที่ผู้วิจัยใช้แล้วพบว่าชนะตลาดได้
คุณโจ๊กครับ ผมพบข้อความนี้ ที่เข้าใจว่าเกิดจากพิสูจน์อักษรพลาด “จะให้ผลตอบแทนไม่ระยะสั้นถึงกลางได้สูงกว่าตลาด” ต้องอ่านทวนหลายครั้งถึงเข้าใ่จ ว่าน่าจะเป็นคำว่า “ใน” แทนคำว่า “ไม่”
คิดเหมือนคุณ Seri ครับ
แก้ให้ตามนั้นแล้ว ขอบคุณมากครับ
ในตลาดหุ้นสหรัฐ มีการพบว่า Factor ที่ชนะตลาดได้ต่อเนื่อง (ทดสอบด้วยการทำ Back test) มีประมาณ 6 ตัว
อยากทราบว่า 6 ตัว ประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้างเหรอครับ ขอบคุณครับ
ปํญหาคือผมดันจำไม่ได้แล้ว แต่คุ้นว่าอ่านมาจากหนังสือ the incrediably shrinking alpha
และแน่นอนว่า พีอีต่ำ และโมเมนตัน เป็นสองในหกอันนั้นนะครับ