TCAP ในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ของธนาคารขนาดกลาง ที่พยายามเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการขยายขนาดของสินทรัพย์ เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด จะได้มีโครงสร้างต้นทุนที่แข่งขันกับธนาคารขนาดใหญ่ได้
TCAP หรือ ทุนธนชาตนั้น ถือหุ้น ธนาคารธนชาต (TBANK) แค่ 50% (อีกครึ่งเป็นของธนาคารโนวาสโกเทีย) และมีบริษัทลูกอื่นๆ เป็นสถาบันการเงินรูปแบบต่างๆ ในเครือธนชาต รวมกับเป็นเครือข่ายสถาบันการเงินแบบครบวงจร
แต่เดิม ธนาคารธนชาต ถือว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งค่อนข้างเสียเปรียบ 4 แบงก์ใหญ่ ในแง่การแข่งขัน ซึ่งในระยะยาวแล้วแทบจะเป็นไปได้ยากที่จะแข่งได้ ในปี 2553 จึงมีการเข้าซื้อกิจการของธนาคารนครหลวงไทย เพื่อนำสินทรัพย์มารวมกันให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็ช่วยให้ ธนชาต กลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่อันดับ 6 ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นแค่ขนาดกลางแต่ก็ยังดีกว่าเป็นขนาดเล็กไปเรื่อยๆ
แต่การขยายขนาดด้วยการซื้อกิจการก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใกล้เคียงกันด้วยแล้ว ถือว่าเป็นการโหนเงินทุนกันเลยทีเดียว ทำให้ต้องร่วมทุนกับกลุ่มโนวาสโกเทีย และถึงแม้จะแบ่งกันเป็นเจ้าของแล้ว ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นก็มีฐานทุนที่ดูไม่แข็งแรงมากนักเมื่อเทียบกับธนาคารไทยตัวอื่นๆ ธนาคารใหม่จึง operate ภายใต้ข้อสงสัยของตลาดมาตลอดว่าจะต้องเพิ่มทุนในที่สุดหรือไม่
ที่ผ่านมาบริษัทก็ยังรักษาสถิติไม่เพิ่มทุน เพื่อมิให้ผู้ถือหุ้นต้อง dilute เอาไว้ได้ แต่พอไม่เพิ่มทุน การขยายขนาดสินทรัพย์ต่อไปก็ต้องอาศัยการสร้างกำไรสะสม ซึ่งค่อนข้างช้า และการที่ยังเล็กกว่าธนาคารขนาดใหญ่อยู่ ทำให้สร้างกำไรสะสมได้ช้ากว่าธนาคารขนาดใหญ่ ถ้าปล่อยไว้ ขนาดก็จะเริ่มทิ้งห่างใหม่อีกเหมือนกัน จึงอาจไม่ใช่เรื่องดีก็ได้ที่ไม่ต้องเพิ่มทุน
เมื่อรวมกิจการกัน ก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ แบบฝันเอา ต้องมีค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการเก ิดขึ้น เช่น การปรับโครงสร้างองค์กร ปรับระบบไอทีใหม่ เพื่อรวมให้เป็นระบบเดียวกัน การตกแต่งสิ่งก่อสร้างใหม่ การที่บุคลากรจะถูกดูดออกไปจากองค์กรในช่วงเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งปัญหาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกัน ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดแรงกดดันผลกำไรในช่วงที่รวมกิจการกันใหม่ๆ มากกว่าที่จะช่วยให้กำไรดูดีขึ้นได้เลย
ยิ่งมาเจอ NPL ในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากลูกค้าของพอร์ตเก่าสองรายแต่เป็นรายใหญ่ที่ล้มละลาย และมูลค่าของรถมือสองในตลาดที่ร่วงแรง ทำให้เกิด NPL ในสินเชื่อกลุ่มนี้อีก ทำให้ NPL ของบริษัทกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึนของ NPL เพียงแค่ 1-2% ของพอร์ตนั้นฟังดูเหมือนจะน้อย แต่จริงๆ แล้วมีผลต่อธนาคารค่อนข้างมาก เพราะธนาคารประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของ High Leveraged ถ้าต้องตัดขาดทุนจากสินเชื่อแค่ส่วนเล็กๆ ก็จะกระทบฐานทุนในส่วนใหญ่ได้เลย เมื่อฐานทุนอ่อนแอลง ก็ขยายสินทรัพย์ก็ทำไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องสะสมกำไรเพื่อกู้ฐานะของทุนขึ้นมาก่อนที่จะคิดเรื่องขยายตัว กลายเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นไปอีกสำหรับธนาคารขนาดกลางที่จะต้องแข่งขันกับธนาคารขนาดใหญ่
อุตสาหกรรมนี้ size does matter จริงๆ ครับ
หากเราต้องการติดตามตัวเลขที่แสดงถึง’ฐานทุน’ของบริษัท เราควรจะดูจากตัวเลขไหนครับ? ใช่ตัวเลขส่วนของผู้ถือหุ้นรึเปล่า? ควรปรับปรุงค่าอะไรรึเปล่า และโดยปรกติเราจะนำตัวเลขที่ว่าไปเปรียบเทียบกับอะไรครับ เช่น เทียบกับสินทรัพย์รวม หรือว่าเทียบกับของบริษัทอื่น? ขอคำแนะนำหน่อยนะครับ
โดยทั่วไปก็คือ ส่วนของเจ้าของในงบดุลนั่นแหละ แต่ถ้าเป็นธนาคาร จะมีข้อกำหนดของส่วนทุนว่าบางตัวในส่วนของเจ้าของนับเป็น tier 1 ได้ บางตัวนับได้แค่เป็น tier 2
tier 1, tier 2 ส่งผลต่อความสามารถในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มโดยตรง เพราะว่าถูกบังคับให้สะสมให้ได้เท่ากับเกณฑ์ขั้นต่ำของ Basil II, III ถ้าหากธนาคารไหนมีน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับสินเชื่อ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่มีหนี้เสียมาก ทำให้ต้องเอากำไรสะสมไปกันสำรอง ธนาคารก็มักจะเลือกโตให้ช้าลง เพื่อสะสมฐานทุนให้แข็งแรงก่อน เป็นโอกาสที่คู่แข่งจะโตแซงไป
พูดถึงเทคโอเว่อร์แล้วผมนึกถึง makroที่ซีพีซื้อไปอะครับ ห็นงบล่าสุดออกมาดีขึ้นอีกทั้งๆที่ศก.ชะลอตัว อยากฟังความเห็นท่านแม่ทัพวิจารณ์makroสักหน่อยครับ
makro ก็คงไปได้เรื่อยๆ ถ้าหากสามารถออกกองทุนได้ด้วยก็จะยิ่งดี
ข้อมูล ณ. วันที่ 29 พค 57
PE ปัจจุบัน 4.66 ก็ต่ำที่สุดในกลุ่ม
PBVปัจจุบัน 0.82 ก็ต่ำที่สุดในกลุ่มเช่นกัน
ปันผล 4.81%
ช่วงนี้เศรษกิจก็กำลังเริ่มเดินหลังจากมีรัฐบาลอำนาจเต็ม
ในระยะหนึ่งปีต่อจากนี้ก็ดูไม่ขี้เหร่นะครับ
เห็นด้วยนะครับที่ p/e ของ tcap ค่อนข้างต่ำ แต่ตัวเลขที่ได้จากเวบ set ต้องปรับนิดหน่อยครับ เพราะปีที่แล้ว กำไรของบริษัท 9231 ล้าน แต่กำไรปกติที่ไม่รวมรายการพิเศษ 6464 ล้านครับ
ถ้า แมคโคร ออกกองทุนได้ มีผลดีอย่างไรหรือครับ คือผมคิดว่า แมคโครไม่น่ามีปัญหาเรื่องเงินสดที่จะมาขยายสาขา หรือการลงทุน
ผมคิดว่า ถ้าจะดี ก็น่าจะดีต่อ CPALL มากกว่ามั้ยครับ
ถ้า Makro คิดการใหญ่ด้วย ก็น่าจะมีประโยชน์ แต่ถ้า status quo ก็คงไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร