ปีที่แล้ว SSC เลิกสัญญากับเป๊ปซี่และคาราบาวแดง เพราะค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแบรนด์อยู่ในระดับที่ทำกำไรไม่ได้ และหันมาทำแบรนด์ เอส โคล่า เองโดยอาศัยจุดแข็งเรื่องระบบจัดจำหน่ายที่ตัวเองมีอยู่
การทำแบรนด์เอง Continue reading “งบการเงิน SSC”
ปีที่แล้ว SSC เลิกสัญญากับเป๊ปซี่และคาราบาวแดง เพราะค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแบรนด์อยู่ในระดับที่ทำกำไรไม่ได้ และหันมาทำแบรนด์ เอส โคล่า เองโดยอาศัยจุดแข็งเรื่องระบบจัดจำหน่ายที่ตัวเองมีอยู่
การทำแบรนด์เอง Continue reading “งบการเงิน SSC”
AOT เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว และบริษัทนี้ก็เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างผูกขาดมากที่สุดในบรรดาธุรกิจท่องเที่ยวทุกชนิด แต่ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้าตลาด หุ้นตัวนี้เจอมรสุมการเมืองอย่างหนัก เชื่อว่าตอนนี้สงครามน่าจะสงบลงพอสมควรแล้ว ธุรกิจน่าจะเติบโตไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีได้ ราคาค่าบริการก็ขึ้นได้ เพราะเครื่องบินเป็นของฟุ่มเฟือย แรงกดดันให้ควบคุมราคา จึงไม่น่าจะมีมากนักเทียบกับค่าทางด่วนหรือค่ารถเมล์
JUBILE บริษัทนี้มีโมเดลธุรกิจที่ดี เพราะขยายตัวไปตามโมเดิร์นเทรด ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แค่ออกแบบแล้วจ้างผลิต เป็นมีลักษณะของ brand management business ไม่ต้องลงทุนมาก ส่วนจะยังเติบโตต่อได้อีกหรือไม่ก็ขึ้นกับว่ายังมีช่องว่างในการขยายตัวที่ยังไม่ได้ใช้เหลืออีกมากน้อยแค่ไหน
TOG ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า แต่คนเราน่าจะใส่คอนแทคเลนส์กันมากขึ้น แว่นตาน้อยลงมิใช่หรือ?
JMART ธุรกิจร้านขายมือถือไม่ใช่ธุรกิจที่ดีนัก กำไรน้อย แข่งขันรุนแรง ในช่วงที่ตลาดเติบโตสูงอาจจะดูดี แต่เมื่อไรที่ตลาดชะลอตัว จะอยู่ยาก มีผู้ให้บริการมือถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ยังไม่นับร้านแบบเอสเอ็มอีที่เป็นกองทัพมดอีกมากมาย สินค้ามาตรฐานของเหมือนๆ กัน สร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ยาก บอกตรงๆ ว่ามองไม่ออกจริงๆว่า JMART มีจุดแข็งตรงไหนจึงสามารถขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง ต้องรอดูกันต่อไป ส่วนธุรกิจบริหารหนี้ ในนาม JMT นั้น ก็น่าจะมีดีอยู่บ้าง เพราะซื้อหนี้มาในราคาที่ถูกมาก ถ้าเก็บหนี้ได้ไม่เยอะนักก็น่าจะทำกำไรได้แล้ว เป็นธุรกิจที่ counter-cyclical ด้วย บริษัทยังมีอีกธุรกิจหนึ่งคือเหมาพื้นที่เช่าจากบิ๊กซีและมาซอยให้ร้านเอสเอ็มอีเช่าช่วงอีกที ในนาม IT-Junction (JAS Asset) ธุรกิจนี้ก็น่าจะดีกว่าเปิดร้านเอง กำลังจะ spin-off เพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ น่าจะเป็นสตอรี่ให้กับ JMART ได้
AS ธุรกิจเกมออนไลน์น่าจะถึงจุดอิ่มตัวไปแล้ว ต่อให้มีเกมใหม่ๆ ออกมา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เล่นโดยรวมเพิ่มขึ้น บริษัทจึงต้องหาธุรกิจใหม่ๆ จึงจะโตต่อไปได้ ปัญหาคือ กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กฆ่าเวลา หรือเล่นเกมบนไอแพด มากขึ้น
ASIA หุ้นตัวนี้ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของโรงแรมเอเชียแถวปทุมวันเท่านัน แต่มีโรงแรมเอเชียในเครือทั้งหมด 4 แห่ง และยังเป็นเจ้าของห้าง Zeer ย่านรังสิติด้วย ซึ่งเป็นส่วนของธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายตัวได้อีก
SST เดิมทำธุรกิจโกดังสินค้า แต่ตอนนี้หันมาทำธุรกิจอาหารมากขึ้น หลังจากเข้าซื้อกิจการของดังกิ้นโดนัท และ au bon pain
EFORL เปลี่ยนชื่อมาจาก AIM เดิมทำธุรกิจพัฒนาไอทีและสื่อโฆษณาในห้างโมเดลเทรด แต่ประสบปัญหา จึงซื้อกิจการบริษัทตัวแทนขายเครื่องมือแพทย์ เปลี่ยนมาเน้นทางนี้แทน
E เปลี่ยนชื่อมาจาก S2Y เดิมทำธุรกิจดอทคอม แต่ขาดทุนหนัก เลยถูกนักลงทุนกลุ่มใหม่ แบ็กดอร์ เอามาทำธุรกิจโรงแรม (Tune Hotel), Domino’s Pizza และ Coffee Bean & Tea Leaf ซึ่งก็ต้องถือว่าธุรกิจใหม่ค่อนข้างดีกว่าหุ้นที่ถูกแบ็กดอร์ส่วนใหญ่อยู่บ้าง เพราะมีตัวตนค่อนข้างชัดเจน บางทีปัจจุบันนี้มันอาจจะกลายเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจจริงจังแล้วก็ได้ แต่เราก็ไม่มีทางรู้แน่ ต้องรอดูกันต่อไป
ADAM มาจากหุ้น RK ทำธุรกิจผลิตรายการทีวีและวิทยุแต่ประสบปัญหา ต้องหาผู้ร่วมทุนใหม่ ปัจจุบันกลับมาทำช่องทีวีดาวเทียม T Sport
PATKL กระโดดเข้าสู่ธุรกิจเอธานอล แต่ล้มเหลว กลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ
TH ทำหนังสือพิมพ์จีนเก่าๆ แต่ถูก วิชัย ทองแตง แบ็คดอร์ เข้ามาแล้ว ส่วนเขาจะเอาบริษัทนี้ไปทำอะไรนั้น ต้องรอดูกันต่อไป
SLC แต่เดิมทุกธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ถูกแบ็คดอร์ โดยกลุ่มทุนหลายรอบ จนสุดท้าย เชื่อกันว่าน่าจะเป็นของกลุ่มวิชัย ทองแตง เอามาทำธุรกิจช่องข่าวสปริงนิวส์เป็นหลัก และล่าสุดประมูลดิจิตอลทีวีได้หนึ่งช่อง
เวลานั่งขุดประวัติหุ้นเก่าๆ แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า ตลาดหุ้นบ้านเรามีธุรกิจบางชนิดที่เข้ามาในตลาดหุ้นมากเป็นพิเศษ แต่ว่ามีความยั่งยืนต่ำมาก เราจะเห็นหุ้นกลุ่มนี้ตัวแล้วตัวเล่าที่เข้ามาเฟื่องฟูดูมีอนาคตที่ยิ่งใหญ่อยู่พักหนึ่ง แล้วถึงเวลาขาลงก็ถึงขั้นบริษัทไม่เหลืออะไรเลย ตัวแล้วตัวเล่า เพราะอุตสาหกรรมนี้ในบ้านเรามีความเป็นอนิจจังสูง หุ้นในกลุ่มนี้ก็คือ ธุรกิจสื่อ เป็นหุ้นที่นักลงทุนระยะยาวไม่ควรจะไปยุ่งครับ
มานั่งดูว่าตลาดหุ้นไทยยังมีหุ้นกลุ่มไหนอีกที่ผมยังไม่เคยพูดถึงเลยบ้าง ส่วนใหญ่อาจเป็นเพราะเป็นธุรกิจที่ผมไม่สนใจลงทุนเลย หรือหุ้นบางตัวก็อาจมีบางจุดที่ทำให้ไม่กล้าลงทุน จึงขอกล่าวถึงแบบสั้นๆ ย่อๆ เท่านั้น
หุ้นกลุ่มแรกที่จำได้ว่าบ้านเราก็มีอยู่หลายตัว แต่ผมยังแทบไม่เคยกล่าวถึงเลยคือ กลุ่ม Continue reading “Stock Commentary : หุ้นอื่นๆ (1)”
TCAP ในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ของธนาคารขนาดกลาง ที่พยายามเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการขยายขนาดของสินทรัพย์ เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด จะได้มีโครงสร้างต้นทุนที่แข่งขันกับธนาคารขนาดใหญ่ได้
TCAP หรือ ทุนธนชาตนั้น ถือหุ้น Continue reading “Stock Commentary : TCAP”
นั่งนับดู หุ้นในตลาดหลักทรัพย์บ้านเรา ก็มีหุ้นที่เกี่ยวกับธุรกิจทีวีดิจิตอล เยอะมากเหมือนกัน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ระยะยาวยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า ธุรกิจนี้จะทำเงินได้แค่ไหน เพราะ Continue reading “Sector Commentary : หุ้นดิจิตอลทีวี”
ปี 2014 คาดกันว่า อุปทานน้ำมันโลกอาจเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าอุปสงค์อยู่เล็กน้อย ฉะนั้นถ้าไม่มีสงครามหรืออุบัติเหตุใหญ่มาช่วย ราคาน้ำมันดิบก็อาจจะทรงตัวถึงลดต่ำลงเล็กน้อย ทำให้ภาพของอุตสากรรมน้ำมันในช่วงหนึ่งปีข้างหน้านี้ไม่สดใสมากนัก เช่นเดียวกับค่าการกลั่น ก็มีแนวโน้มทรงตัวไม่หวือหวามากนัก ก็ยิ่งทำให้ปีนี้ไม่ใช่ปีที่หุ้นโรงกลั่นเป็นที่สนใจของตลาดสักเท่าไร (จะว่าไปแล้วก็รวมถึงหุ้นน้ำมันทั้งหมดด้วย)
หนทางที่หุ้นโรงกลั่นแต่ละตัวจะเรียกร้องความสนใจได้ ก็น่าจะเป็น Continue reading “Sector Commentary: หุ้นโรงกลั่น”
ROBINS ดูเป็นหุ้นเติบโตที่น่าสนใจ เนื่องจากมีแผนการขยายสาขาปีละ 5 สาขาไปเรื่อยๆ อีกทั้ง ROBINS ยังมีฐานสำคัญในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคตด้วย
ธุรกิจของ ROBINS นั้นต่างจาก Continue reading “Stock Commentary : ROBINS”
BJC เคยเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่อยู่ในเรดาห์ของ 7thLTG เนื่องจากมีแผนการขยายงานที่ค่อนข้างใหญ่ (แม้ว่าจะพึ่งการควบควมกิจการเป็นหลักก็ตาม) และก็เกือบๆ จะถูกบรรจุเข้าไปในพอร์ตด้วย
HMPRO มีการจ่ายปันผลเป็นหุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาต่อหุ้นที่เราเห็นหลอกตาได้ว่าหลายปีที่ผ่านมา HMPRO สร้าง Wealth ให้ผู้ถือหุ้นเท่าไร
ณ สิ้นปี 2010 HMPRO Continue reading “HMPRO 4-year returns”