on Active Investing #4

หุ้นที่เราอยากได้เข้าพอร์ตคือหุ้นของธุรกิจที่ 1.) ปัจจัยพื้นฐานดีพอสมควร 2.) ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก และ 3) ราคาหุ้นยังไม่แพงเกินไป

หุ้นที่น่าถือลงทุนที่สุดคือ หุ้นเติบโต เพราะในระยะยาว กำไรที่ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้นได้ โดยที่เราไม่ได้ทำอะไร แค่ถือมันไว้เฉยๆ หุ้นปันผล กลับไม่ใช่หุ้นที่น่าถือไว้ในระยะยาว เพราะแม้ว่าจะได้ปันผลสูงกว่าตลาด แต่ถ้าหากธุรกิจไม่โตขึ้น กำไรก็ไม่เพิ่มขึ้นในระยะยาว เงินปันผลก็ไม่เติบโต ถ้าหากเราได้เงินปันผลปีละ 4-5% อาจมองว่าสูงกว่าพันธบัตรก็จริง แต่ถ้าราคาหุ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เพราะว่ากำไรไม่โต ก็ไม่คุ้ม เพราะการลงทุนในหุ้นนั้น เราต้องได้ผลตอบแทนอย่างน้อย 10% ต่อปี จึงถือว่าคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เราต้องแบกรับ และลำพังผลตอบแทนจากเงินปันผลอย่างเดียว แทบไม่มีทางบรรลุเป้าหมายนี้ได้เลย Continue reading “on Active Investing #4”

on Active Investing #3

การคัดเลือกหุ้น วัดมูลค่า และกระจายความเสี่ยง ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจหรือปฏิบัติยาก เวลาลงทุนแบบ Active แต่เรื่องที่เข้าใจยาก จับหลักได้ยาก ปฏิบัติยาก เวลาลงทุนแบบ Active ก็คือ การบริหารพอร์ตหลังจากที่เราซื้อหุ้นไปแล้ว

  Continue reading “on Active Investing #3”

on Active Investing #2

หลักการหนึ่งที่ใช้เป็นหลักของนักลงทุนแนว Value Investing คือ ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่ากิจการที่ประเมินได้ เวลาปฏิบัติจริง หลักการข้อนี้ มีความ Subjective ค่อนข้างสูง เพราะมูลค่ากิจการที่ประเมินได้ของแต่ละคนนั้น ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

บางคนประเมินมูลค่าจากปัจจัยพื้นฐานระยะสั้น เช่น แผนธุรกิจของปีหน้า เพื่อ Forecast EPS ปีหน้า แล้วหา Forward PE ที่เหมาะสม หรือบางคนก็อาจจะประเมินจากปัจจัยพื้นฐานระยะยาว เช่น ดู Durable Competitive Advantage และหรือ Megatrend แล้วกำหนด P/E ที่เหมาะสมขึ้นมา เป็นต้น ซึ่งก็แน่นอนว่า ไม่จำเป็นต้องออกมาเท่ากัน  Continue reading “on Active Investing #2”

Story Brief: ETRON

ประเทศไทย เคยเป็นฐานการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) ที่สำคัญของโลกมาก่อน ถึงขนาดเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ (Re-export content สูง) แต่เนื่องจากตลาดนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ปัจจุบัน PCB เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ทำให้บริษัทในกลุ่มนี้ต้องดิ้นรนปรับตัวหาตลาดหรือสินค้าใหม่ๆ ในช่วงหนึ่งไทยกลายเป็นผู้ผลิตแผงวงจรฮารด์ดิสก์ แต่สุดท้ายฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มล้าสมัยอีก เพราะการเติบโตของตลาดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนซึ่งใช้ Flash Storage มากกว่า โดยรวมหุ้นในกลุ่มนี้จึงมีอนาคตที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

CCET บริษัทสัญชาติไต้หวัน   Continue reading “Story Brief: ETRON”

Story Brief: หุ้นรับเหมา

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง การได้รับเงินช้า การประมูลงานของรัฐที่ถูกเบรกด้วยปัจจัยการเมืองได้ตลอดเวลา รายได้เป็น Project-based สร้างฐานลูกค้าไม่ได้ ต้องอาศัยสายสัมพันธ์ ทำให้ไม่แน่ใจว่าทำบัญชีอย่างไร เป็นหุ้นที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการลงทุน มีไว้เล่นเก็งกำไรข่าวมากกว่า 

ITD เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ รับงานระดับชาติ เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคเพื่อไทย ผลประกอบเท่าทุนหรือไม่ก็ขาดทุนแทบทุกปี บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่าถ้าผลประกอบเป็นตามนี้จริงทำไมยังทำธุรกิจต่อไป

CK เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ เช่นกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบริษัทที่มีบริษัทลูกทำธุรกิจอย่างอื่นเพื่อ smooth out  ผลประกอบการเยอะ อาทิ CKP, TTW, BECL, BMCL

STEC เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ ของตระกูลชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย

NWR ผู้รับเหมารายใหญ่อีกราย แต่เจ้าของเดียวกันกับ ITD แต่รับพวกงานสร้างอาคารด้วย

UNIQ เป็นผู้รับเหมางานใหญ่อีกรายหนึ่ง แต่ขนาดบริษัทไม่ใหญ่เท่า มีงานสำคัญคือรถไฟฟ้าสายสีแดง (ร่วมกับ STEC)

STPI รับเหมางานเหล็ก มีลูกค้าต่างประเทศมากกว่าในประเทศ เจ้าของเดียวกันกับ STEC

BJCHI รับเหมางานเหล็กในต่างประเทศเป็นหลัก (ออสเตรเลีย 80%)

SRICHA รับเหมางานเหล็กและเครื่องกล ปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากงานก่อสร้างโรงถลุงแร่ที่มาดากาสก้า

SEAFCO, PYLON รับงานเสาเข็ม

VTE รับงานไฟฟ้าภายในอาคาร

TTCL รับงานออกแบบวิศวกรรม ความเสี่ยงจะน้อยกว่าเป็นผู้รับเหมา เพราะรับจ้างผู้รับเหมาอีกที แต่ก็มีความเสี่ยงทางอ้อมด้วยเหมือนกัน

TRC รับงานออกแบบวิศวกรรม เน้นกลุ่มอุตสากรรมก๊าซ เช่น ปตท. และมีรายได้จากโอมานบางส่วน

PPS รับงานที่ปรึกษางานก่อสร้าง

PLE รับงานก่อสร้างคอนโดจาก Developer อีกที

SYNTEC รับงานก่อสร้างเน้นอาคารสูง

PREB รับงานก่อสร้างตึกสูงเป็นหลัก โดยเฉพาะคอนโด เจ้าของเดียวกันกับกลุ่ม AP 

on Active Investing #1

ช่วงนี้ขอเขียนเกี่ยวกับการลงทุนแบบ Active บ้าง ซึ่งซีรีส์นี้น่าจะเป็นซีรีส์สุดท้ายแล้ว หลังจากที่เขียนบล็อกมานานหลายปี คิดว่าน่าจะถ่ายทอดสิ่งที่อยากเล่าไปค่อนข้างจะครบถ้วนแล้ว หลังจากซีรีส์นี้ คงไม่มีความถี่ในการออกบทความที่แน่นอนเหมือนเก่า แต่จะเขียนเมื่อมีเรื่องที่อยากเล่ามากกว่า  (ไว้เขียนซีรีส์นี้จบค่อยว่ากันอีกที)​  Continue reading “on Active Investing #1”

QE revisited

US – ปัจจุบัน Fed ยังซื้อสินทรัพย์เพิ่ม (ทำ QE) อีกเดือนละ  $45 billions แต่น่าจะทยอยซื้อน้อยลงเรื่อยๆ จนหยุดซื้อในที่สุด ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตลาดแรงงานกลับมาเต็มที่และเงินเฟ้อแตะ 2% ซึ่งน่าจะยังอีกนานมากหลังจากนั้น Continue reading “QE revisited”

Story Brief: AGRI & FOOD

 GFPT ธุรกิจคล้าย CPF อย่างมาก (FEED+FARM+FOOD) แต่เน้นที่ไก่เป็นหลัก มีการขยายกำลังการผลิตทุกปี แต่ค่อยเป็นค่อยไป

LEE ทำ FEED เป็นหลัก ธุรกิจทรงๆ ดูเหมือนผู้ถือหุ้นหลักจะโฟกัสการเติบโตที่ธุรกิจอื่นๆ ของตัวเองมากกว่า Continue reading “Story Brief: AGRI & FOOD”

Pros and Cons ของ Active Investing

เวลาลงทุนพอร์ต Active เรามักมีปรัชญาการลงทุนอะไรบางอย่างเป็นหลักยึดกว้างๆ แต่เวลาตัดสินใจซื้อขายหุ้น เราใช้ดุลยพินิจเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะไม่ตายตัวและเป็น case by case โดยอาจมีปรัชญาการลงทุนของเราเป็นฐานของการตัดสินใจเท่านั้นและขึ้นอยู่กับการตีความของเราอีกที

การใช้หลักที่ต้อง Continue reading “Pros and Cons ของ Active Investing”

Stock Commentary: หุ้นอื่นๆ (3)

หุ้นอื่นๆ ในชุดสุดท้ายนี้ จะเป็นหุ้นที่ผมตั้งขอสังเกตไว้ว่าเป็นหุ้น “แปลกๆ” บางตัวไม่รู้ว่าทำธุรกิจอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแน่ บางตัวขาดทุนเรื้อรังก็ยังไม่หายไปสักที หลายตัวมีธุรกรรมการเงินแปลกๆ อยู่เรื่อยๆ เช่น ออกวอแรนต์ซ้ำซาก เพิ่มทุนแบบ PP บ่อยๆ หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่เคยถูกทำแบ็คดอร์มาก่อน

บางคนมีความเชื่อว่าหุ้นพวกนี้ Continue reading “Stock Commentary: หุ้นอื่นๆ (3)”