BGH

BGH เป็นหุ้นเติบโต ที่อาศัย M&A เป็นกลยุทธ์เติบโตที่สำคัญ และในเวลาเดียวกัน ตัวธุรกิจโรงพยาบาลเองก็เป็นธุรกิจที่มี organic growth ที่ดีอยู่แล้ว เนื่องจากเมกกะเทรนด์ผู้สูงอายุ ทำให้มันเข้านิยาม 7thLTG ของเราได้ไม่ยากนัก Continue reading “BGH”

TFEX

ขอออกตัวก่อนว่า ความเห็นของผมเกี่ยวกับ Derivatives เป็นความเห็นส่วนตัว ผมไม่ได้ผูกขาดความถูกต้อง ฉะนั้น ถ้าใครจะมีมุมมองเรื่อง Derivatives ต่างไปจากผมนั้น ไม่ได้แปลว่า ผมคิดว่าความคิดของผมต้องถูก ของคนอื่นต้องผิด เรียกว่าเป็นแค่ความเห็นหนึ่งในหลายๆ ความเห็นเท่านั้นก็แล้วกันครับ

แนวคิดที่เป็นจุดกำเนิดของผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำพวก Derivatives นั้น ฟังดูดีมากทีเดียว เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วย “ป้องกันความเสี่ยง” ฟังดูเป็นอะไรที่อนุรักษ์นิยม รอบคอบ ปลอดภัย ฯลฯ

แต่พอมันถูกเอามาใช้งานในทางปฏิบัติแล้ว ตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมา กลับออกแบบมาเพื่อการเก็งกำไรมากกว่าการป้องกันความเสี่ยง อันนี้ไม่ใช่เพราะ TFEX เท่านั้น แต่เป็นมาตั้งแต่ประเทศต้นแบบเลย

เป็นต้นว่า ถ้าคุณลงทุนกองทุน SET50 อยู่ แบบว่าตั้งใจจะถือลงทุนระยะยาว ทีนี้พอลงทุนไปได้สักพัก ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงบางอย่างที่น่ากลัว เช่น คุณกลัวว่าจะมีวิกฤตใหญ่เร็วๆ นี้ขึ้นมา แต่คุณไม่อยากขายกองทุน SET50 ของคุณออกมา เพราะตั้งใจว่าจะถือยาว คุณก็อาจจะต้องการ Short SET50 Futures บางส่วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีวิกฤตใหญ่ๆ หรือแม้แต่ซื้อ SET50 Put Options เพื่อปิดความเสี่ยงที่ว่านี้ คุณจะพบว่า โปรดักส์พวกนี้ไม่ได้ออกมาให้คุณทำแบบนั้นเท่าไร เพราะโปรดักซ์พวกนี้มีอายุแค่ 3 เดือน กลายเป็นว่าถ้าคุณต้องการป้องกันความเสี่ยงนานกว่าสามเดือน คุณต้องซื้อโปรดักส์เหล่านี้ใหม่ทุกสามเดือน ถ้าคุณจะประหยัดค่าคอมโดยเปลี่ยนไปซื้อตัวที่หมดอายุนานๆ เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือนแทน คุณก็จะพบว่า ตัวยาวๆ พวกนั้น แทบไม่มีสภาพคล่องเลย ส่วนต่างราคาจากปัจจุบันก็สูงมาก ตอนซื้อยังไม่เท่าไร แต่ตอนจะปิดสัญญาแล้ว match order ไม่ได้ แทบที่จะป้องกันความเสี่ยงกลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงให้เราแทน

และจะว่าไปแล้ว การป้องกันความเสี่ยงได้แบบนี้ มันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเท่าไร ถ้าคุณตั้งใจจะถือลงทุนอะไรระยะยาวจริงๆ ถ้าระหว่างทางตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงมาก มันก็ไม่มีผลอะไร เพราะคุณก็ไม่ควรจะขายระหว่างทางเพราะตลาดผันผวนอยู่ดี คุณจะได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยสุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับอีก 3-10 ปีข้างหน้าว่าราคามันจะเป็นเท่าไรตอนที่ถึงเวลาขาย ไม่เกี่ยวกับว่าระหว่างทางมันจะขึ้นลงแรงแค่ไหน เพราะคุณไม่ได้ขายระหว่างทางอยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะคอยป้องกันความเสี่ยงระหว่างทาง ปัญหาอยู่ที่จิตใจของคุณเองที่ขาดความมั่นคงในวินัยของการลงทุนมากกว่า

แต่สมมติว่าคุณ short TFEX เพื่อป้องกันความเสี่ยงชั่วคราวจริงๆ แล้วโชคดี คิดถูก ตลาดหุ้นหล่นแรงจริงๆ คุณปิดสัญญาก็จะได้กำไรมาส่วนหนึ่ง แต่ในภาพที่ตรงกันข้ามคือ แทนที่หุ้นจะมีวิกฤต หุ้นดันขึ้นแทน จะกลายเป็นว่าแทนที่ performance ของกองทุน SET50 ของคุณจะสูงขึ้นตามตลาดแล้วกลับกลายเป็นคุณไม่ได้อะไรเลย เพราะคุณดันไป short TFEX ไว้ด้วย มันเลยหักล้าง gain การลงทุนของคุณหมด

ดีลที่ข้างหนึ่งได้กำไรส่วนเพิ่มมา แต่อีกข้างคือสูญกำไรที่ควรจะได้ไปด้วยจริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นดีลที่น่าสนใจเท่าไร เพราะว่า upside กับ downside มันก็เท่ากัน ไม่รู้จะทำไปให้เสียเวลาเสียค่าคอมทำไม ถ้าคุณไม่ใช่พวกนักเก็งกำไรอยู่แล้ว

สรุปแล้ว ผมว่า TFEX เหมาะจะใช้เก็งกำไร คือเทรดดิ้งมากกว่า ไม่เหมาะกับการป้องกันความเสี่ยงหรอก เพราะผลิตภัณฑ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อนักป้องกันความเสี่ยง และถึงจะออกแบบมา คุณก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาในฐานะนักลงทุน เพราะคุณก็ไม่ได้หวังจะรวยจากเก็งกำไรตั้งแต่ต้น

ประโยชน์แค่อันเดียวที่ผมพอจะนึกออกก็คือ คุณสามารถขายหุ้นได้เสมอ โดยที่ไม่ต้องมีของอยู่ก่อน ปกติแล้วถ้าไม่มี TFEX คุณจะซื้อหุ้นเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าคุณจะขายหุ้น เพราะคิดว่าตลาดจะร่วงแรง คุณต้องมีของเหลืออยู่ในพอร์ตพอดี ถึงจะขายทำกำไรจากการ cover short ได้ แต่มี TFEX ถึงคุณจะพลาดขายหุ้นหมดพอร์ตไปแล้ว แต่หุ้นยังขึ้นต่อ และคุณต้องการขายอีก คุณสามารทำได้ด้วยการ short TFEX แทนการขายหุ้น จึงเป็น flexibility อย่างหนึ่งสำหรับคนในตลาดหุ้น ของการมี TFEX

แต่ก็อย่าลืมว่าการ short TFEX ในลักษณะนี้ เป็น naked short คุณมี upside จำกัด (สูงสุดคือ SET Index = 0) แต่มี download แบบไม่จำกัด (เพราะ SET Index สามารถขึ้นต่อไปแค่ไหนก็ได้เลย) มันมี risk profile ที่คุณข้างอันตรายมาก ถ้าคุณไม่มีวินัยมากพอ สามารถนำหายนะมาสู่คุณได้เลย (ถ้าคุณคิดผิด ตลาดหุ้นขึ้นต่อไปเรื่อยๆ คุณจะขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีขีดจำกัด)

ถ้าคุณจะไม่ใช่ TFEX ป้องกันความเสี่ยง แต่เอามาเทรดเพื่อเก็งกำไรแบบที่มันถูกออกแบบมา มันก็ยังมีเรื่องไม่สบอารมณ์อีกหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือว่า TFEX ไม่ได้วิ่งตาม SET แบบตรงๆ ทุกนาที บางทีมันก็วิ่งไปคนละทางอยู่นานกว่าจะกลับมาวิ่งตามกันใหม่ ถ้าคุณเดาว่าช่วงบ่ายตลาดจะลง ก็เลย short แล้วปรากฏว่าตลาดบ่ายลงจริง บ่อยครั้งคุณจะพบว่า TFEX ดันขึ้นซะอย่างงั้น และภาวะไปคนละทางบางทีก็กินเวลาอยู่หลายชั่วโมง กลายเป็นว่า อุตส่าห์คิดถูก แต่ก็ไม่ได้กำไรอีก

การเทรด TFEX เป็นสุดๆ ของ mind game เพราะมันเป็น leverage ทำให้จิตใจของเราหวั่นไหวได้มากกว่าปกติหลายเท่า ทำให้เราตัดสินไปตามอารมณ์มากขึ้น และผิดพลาดมากขึ้น  ว่ากันว่า ลูกค้ารายย่อย 10 คนที่เปิดบัญชี TFEX นั้น สุดท้ายแล้วจะขาดทุนประมาณ 10 คน ครับ ของที่ดูง่ายมากที่สุดในตลาดหุ้นนั้นยากที่สุดครับ

CPALL revisited

ไตรมาส 1/57  CPALL สามารถรักษารายได้รวม (นับรวม MAKRO)  ให้เพิ่มขึ้นได้ราว 3% ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแย่ ซึ่งเฉพาะ CPALL เองนั้น มี Same-store Sales Growth (sss growth) ที่ติดลบ 1% แต่จริงๆ แล้วก็ยังเป็นบวกอยู่เล็กน้อย แต่ติดลบเนื่องจากมีการเปลี่ยนวิธีบันทึกรายได้ยอดขายบัตรเติมเงินใหม่ (เปลี่ยนจากบันทึกเป็นรายได้ กลายเป็นบันทึกเฉพาะค่าต๋ง) และการขยายสาขาจำนวนมากถึง 222 สาขาในไตรมาสเดียว ตลอดจน MAKRO ที่มี sss growth เป็นบวกค่อนข้างมากมา  ซึ่งในแง่นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้ตัดสินใจซื้อ MAKRO ไปด้วย สรุปแล้ว ในแง่ top line ไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วงนัก ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวก็น่าจะกลับมาได้เหมือนเดิม 

ตัว CPALL เองนั้น ยังมี gross margin ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากสินค้าไพรเวทแบรนด์ที่มีสัดส่วนในร้านเพิ่มขึ้น และสินค้ากลุ่มอาหารที่สร้างกำไรดีต่อเนื่อง แต่การที่มีตัวเลขกำไรสุทธิลดลงอย่างมากนั้น (-15%) ก็มาจากภาระหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินมาซื้อ MAKRO เป็นเหตุผลสำคัญ หากตัดภาระดอกเบี้ยออกไป CPALL อย่างเดียวก็ยังมี EBIT ลดลง (-7%) เนื่องจากต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการด้วย

ในเมื่อ MAKRO ที่ซื้อมามีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีและดีขึ้น ความน่าเป็นห่วงจึงน่าจะอยู่ที่เรื่องหนี้สินเป็นหลักว่าทำอย่างไรจะลดหนี้สินลงให้ได้ ซึ่งในเวลานี้ CPALL มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ถึงสองแสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการลดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของหนี้ลงไปส่วนหนึ่งด้วยการ Refinancing หนี้ใหม่ จากหนี้เป็นดอลล่าร์ กลายเป็นหุ้นกู้และหนี้ธนาคารในประเทศ และยืดอายุของหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาวขึ้นด้วย (อายุเฉลี่ย 6-7 ปี)

แต่ในเรื่องของขนาดหนี้นั้น CPALL คงต้องลดมันลงด้วยกระแสเงินสดจากธุรกิจเป็นหลัก ซึ่ง ณ เวลานี้ บริษัทมี Debt/EBITDA ราว 7 เท่า (เท่ากับใช้เวลา 7 ปี ในการทำกำไรมาใช้หนี้ให้หมด สมมติว่าไม่ได้ขยายสาขาหรือจ่ายเงินปันผลเลย) จึงนับว่ายังเป็นหนี้ที่สูงอยู่  ดังนั้น ถ้าบริษัทจะขยายตัวด้วยการซื้อกิจการเพิ่มอีก ก็จะดูเป็นความเสี่ยงมากกว่า บริษัทน่าจะต้องเน้นการโตด้วยการขยายสาขาต่อไป ซึ่งถ้าทำแบบนั้นไปเรื่อยๆ ก็น่าจะค่อยๆ มีกำไรดีขึ้นเรื่อยๆ ได้ จากการที่ภาระดอกเบี้ยค่อยๆ ลดลงทุกปีและรายได้มีการเติบโต เป็นลักษณะของการค่อยๆ ปรับปรุงงบไปเรื่อยๆ มากกว่า บริษัทไม่จำเป็นต้องลดหนี้ลงทั้งหมดก็ได้ แต่ควรลดหนี้ลงมาให้ D/E ดูเป็นปกติ ซึ่งก็ยังนับว่าต้องใช้เวลาอีกพอสมควรเหมือนกัน

MINT revisited

7thLTG ใกล้ครบปีอีกแล้ว (25 กย นี้) ได้เวลารีวิวหุ้นในพอร์ตว่าทำธุรกิจกันไปถึงไหนแล้ว

สำหรับ MINT บริษัทนี้เมื่อตอนเริ่มต้น พอร์ตเมื่อหลายปีที่แล้ว เราเลือกบริษัทนี้เพราะอะไร  ทุกวันนี้บริษัทก็ยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ MINT เป็นบริษัทที่มีสัญญากับผู้ถือหุ้นว่าจะต้องนำส่งการเติบโตของกำไรในระยะยาวที่อัตรา 15-20% ต่อปี ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด โดยอาศัยการขยายสาขาธุรกิจร้านเชนร้านอาหาร และโรงแรม เป็นกลยุทธ์เติบโตหลัก (ซึ่งเป็นวิธีเติบโตที่ทำได้ง่ายที่สุดแล้ว) ในเวลาเดียวกันก็ต้องรักษาหรือเพิ่มมาร์จิ้นทางธุรกิจด้วย โดยพึ่งพาการขยายตัวที่ใช้เม็ดเงินลงทุนน้อยลง (asset-light, รับจ้างบริหาร, สร้างแบรนด์ที่เป็นของตัวเอง) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อปี 2007 MINT มีร้านอาหาร 676 สาขา มีห้องพัก 3, 076 ห้อง ตอนนี้มีร้านอาหาร 1, 568 สาขา และมีห้องพักกว่า 12, 270 ห้องพักแล้ว ต้องถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา และต่อเนื่องยาวนาน เป็นตัวอย่างของหุ้น Long-term Growth

แน่นอนว่า ระหว่างทาง ผลประกอบการของหุ้นตัวนี้ มีความผันผวนสูงมาก เนื่องจาก อยู่ในธุรกิจที่อิงกับการท่องเที่ยว ซึ่งผู้บริโภคมีความอ่อนไหวสูง และเพราะบริษัทมีนโยบายขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ทำให้ช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ผลประกอบจะออกมาแย่เป็นพิเศษ เพราะบริษัทไม่ได้ชะลอการลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ถ้าหากเป็นนักลงทุนที่รอได้ การที่บริษัทลงทุนแบบต่อเนื่องน่าจะนำมาซึ่งการเติบโตที่สูงกว่าในระยะยาว ดังนั้นใครที่ลงทุนหุ้นตัวนี้ ก็ต้องไม่คาดหวังผลงานเป็นรายไตรมาส และใครที่อยากลงทุนแบบตูมเดียวกับหุ้นตัวนี้ก็น่าจะรอซื้อตอนที่การท่องเที่ยวย่ำแย่มากกว่าช่วงที่ดีๆ นะครับ 

เวลาที่โตไปเรื่อยๆ บริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร ไม่ใช่ขยายไปเรื่อยๆ กำไรบางลงเรื่อยๆ แบบนั้นก็ไปไม่รอด ทุกวันนี้บริษัทที่จำนวนห้องพักที่ไม่ใช่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเองกว่าครึ่งแล้ว เทียบกับปี 2008 ที่ยังไม่มีเลย โมเดลบริหารใช้เงินลงทุนน้อยกว่าโมเดลเป็นเจ้าของเอง อีกทั้งบริษัทยังมีโรงแรมนอกประเทศไทยมากขึ้นเป็น 54% แล้วเทียบกับแค่ 6% เมื่อปี 2008 เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศไทย  ถือได้ว่า มีการจัดการความเสี่ยงและหาวิธีปรับปรุงมาร์จิ้นไปด้วย ไม่ใช่รายได้โตอย่างเดียว

สรุปแล้วยังเป็นหุ้นที่ชอบอยู่เหมือนเดิมครับ เคยชอบยังไงก็ชอบอย่างงั้น

คำว่าปั่นหุ้น

คำว่า ปั่นหุ้น เป็นคำชาวบ้าน ซึ่งที่จริงแล้วอาจหมายถึง พฤติกรรมที่แตกต่างกันได้หลากหลายอย่าง 

ความหมายที่พบได้ทั่วไป  มากที่สุด ก็น่าจะเป็นการที่ใครสักคน (หรือกลุ่มคน) ที่มีเงินมากๆ รุมซื้อหุ้นตัวนั้นมากๆ เพื่อลากราคาหุ้นให้ทะยานขึ้นไป คนอื่นเห็นว่าหุ้นขึ้นเร็ว เขียวจัง อยากได้กำไรบ้าง ก็จะพากันมาซื้อตาม หวังฟันกำไรบ้าง ยิ่งมีคนเข้ามามากขึ้น ราคาหุ้นก็ยิ่งเพิ่มขึ้นได้อีก กลายเป็น พอราคาหุ้นขึ้นไปอีก ก็ยิ่งมีคนอยากเข้ามามากขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีแรงซื้อพาหุ้นให้ขึ้นต่อไปอีก เรียกว่า หุ้นติดลมบน จนกว่าเพลงจะจบ ใครลุกช้าสุดคนนั้นแพ้ รับผลขาดทุนไปคนเดียว

บางครั้งคนที่ปั่นหุ้นแบบนี้ทำงานเป็นทีม มีหลายคนช่วยกันเปิดบัญชีหลายๆ บัญชี โยนและรับ กันเอง วนไปวนมาหลายๆ รอบ ให้ดูเหมือนหุ้นมีโวลุ่มคึกคัก มีคนต้องการเยอะ โดยไม่ต้องใช้เม็ดเงินมากๆ แบบการซื้อทางเดียว (ซึ่งเสี่ยงกว่าเพราะอาจจะ Exit ไม่ได้) เพราะซื้อและขายแล้วกลับมาซื้อใหม่ ซึ่งกรณีแบบนี้ก็มักจะต้องเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สามารถ waive ค่าคอมมิชชั่นได้ด้วย

กรณีเช่นนี้บ้านเราถือว่าผิดกฎหมายชัดเจน และเป็นข้อหาที่มีคนโดน กลต.เล่นงานอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าเป็นในอเมริกา เข้าใจว่า ปัจจุบันนี้ไม่ถือว่ามีความผิดแล้ว เพราะเขาถือว่าการซื้อหรือขายหุ้นเป็นเรื่องที่ใครใคร่ซื้อก็ซื้อ ใครใคร่ขายก็ขาย คนที่ทำแบบนี้เขาไม่ได้มาบังคับให้คนอื่นซื้อตาม แต่คนอื่นซื้อตามเพราะโลภเอง แต่กฎหมายบ้านเรายังเป็นแบบคิดแทนนักลงทุนอยู่แถมยังมี Ceiling/Floor/SP กันสารพัด พลอยกระทบกระเทือนคนอื่นที่จะซื้อจะขายอยู่เหมือนกัน

ในสหรัฐฯ นั้น ข้อหาปั่นหุ้นมักจะต้องมีเรื่องของการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) มาเกี่ยวข้องด้วย ถึงจะมีความผิด เพราะการใช้ข้อมูลภายในเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนคนอื่นชัดเจน ต่างจากการซื้อหรือขายเพื่อสร้างราคาซึ่งเป็นเสรีภาพที่ทุกคนควรจะทำได้ ดังนั้น คำว่า ปั่นหุ้น อาจมีทั้งแบบที่ซื้อขายสร้างราคาอย่างเดียว กับแบบที่มีการใช้ข้อมูลภายในร่วมด้วย ซึ่งกรณีแรกนั้น บางคนอาจมองว่าผิด แต่บางคนอาจมองว่า ต้องเป็นกรณีหลังเท่านั้น ถึงจะเรียกว่าผิด ส่วนกรณีแรกนั้น ต้องโทษแมงเม่าเองที่มีความโลภ (เพราะถ้าโดดเข้าไปเล่นแล้วได้กำไร แมงเม่าก็ไม่ได้เอาเงินมาแบ่ง กลต. เพราะฉะนั้น ถ้าขาดทุนก็ไม่ควรจะมาบ่นเช่นกัน )

เราอาจคิดว่า คนปั่นหุ้น ไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย แต่ที่จริงแล้ว การปั่นหุ้นมีความเสี่ยงเยอะมากที่จะล้มเหลว ตัวอย่างเช่น ถ้าแก๊งค์ปั่นหุ้นอุตส่าห์ใช้เงินตั้งเยอะ ทำราคาหุ้นขึ้นไปซะสวยเลย แต่โดนผู้ถือหุ้นหลักบางคนของหุ้นตัวนั้นซึ่งมีหุ้นอยู่ในมือเยอะมาก เห็นว่าราคาดี ก็เลยหักหลัง เทหุ้นตัวเองออกมาเพื่อทำกำไร ทำให้ราคาหุ้นร่วงแบบกราวรูด ก็เท่ากับแก๊งค์ปั่นหุ้นโดยผู้ถือหุ้นหลักชุบมือเปิบ ดังนั้น บ่อยครั้งก็เป็นการยากที่จะเชื่อว่า หุ้นบางตัวถูกปั่นโดยบุคคลภายนอกล้วนๆ โดยที่ผู้ถือหุ้นหลักของหุ้นตัวนั้น ไม่ได้รู้เห็น หรือให้ความร่วมมือใดๆ เลย เพราะคนที่คิดจะปั่นหุ้นสักตัว ย่อมต้องแน่ใจว่าจะไม่โดนชุบมือเปิบ การติดต่อไปยังผู้ถือหุ้นหลัก เพื่อแบ่งผลประโยชน์กัน และกับการที่ผู้ถือหุ้นหลักจะไม่เทหุ้นออกมา จึงเป็นการลดความเสี่ยงที่สำคัญยิ่งของการปั่นหุ้น ฉะนั้น จึงยากที่จะเชื่อว่า หุ้นบางตัวโดนปั่นโดยที่ผู้ถือหุ้นหลักไม่เกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น

หุ้นที่มีนักลงทุนสถาบันหลายๆ แห่งถือหุ้นเยอะๆ เช่น 3-4 กองทุนขึ้นไป ดูเป็นหุ้นที่ปั่นยากที่สุด เพราะเป็นเรื่องยากที่จะตกลงกับกองทุนพร้อมกันทีเดียว 3-4 กอง ต่างจากหุ้นที่มีผู้ถือหุ้นหลักถือหุ้นใหญ่แค่รายเดียว ที่เหลือเป็นนักลงทุนรายย่อย ยิ่งถ้าหากมี float น้อยๆ ยิ่งดี ควบคุมสถานการณ์ได้ง่าย ถ้าหากหุ้นที่ float อยู่ในตลาดส่วนใหญ่อยู่ในมือของแก๊งค์ปั่นหุ้นแล้ว ก็ยิ่งควบคุมสถานการณ์และราคาได้ตามอำเภอใจ

นอกจากนี้ การที่ผู้ถือหุ้นหลักให้ความร่วมมือด้วยนั้น ยังสร้างข้อได้เปรียบในเกมให้กับผู้ปั่นหุ้นได้อย่างมหาศาล เพราะผู้ถือหุ้นหลักช่วยออกข่าวดี ข่าวร้าย ตามจังหวะเวลาที่แก๊งค์ปั่นหุ้นต้องการได้ด้วย  ถือว่าเป็นการปั่นหุ้นแบบมีความปลอดภัยสูง ถ้ามีใครเข้ามาชุบมือเปิบ ก็บอกให้ผู้ถือหุ้นหลักออกข่าวร้ายออกมาเพื่อทุบหุ้นลงไปใหม่ ก็ได้ตามใจชอบ ข่าวหลายๆ อย่างเป็นข่าวที่ไม่ต้องเป็นความจริงก็ไม่มีความผิด เช่น บอกว่าจะเข้าซื้อกิจการอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ถึงเวลาจริงๆ บอกว่า คุยกันแล้วไม่ลงตัว ขอยกเลิก แบบนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการให้ข่าวเท็จ เพราะธุรกิจย่อมมีความไม่แน่นอน อย่างนี้เป็นต้น

ความที่การปั่นหุ้นต้องมีงานที่ต้องทำหลายอย่าง ไม่ใช่แค่การทำราคาอย่างเดียว การปั่นหุ้นจึงมีลักษณะเป็น “ขบวนการ” (organized crime) คือ ต้องมีองคาพยบของการปั่นหุ้นทั้งระบบ มีทีม approach ผู้ถือหุ้นหลักเพื่อเสนอผลประโยชน์ พอปั่นหุ้นตัวหนึ่งจนเสียชื่อไปหมดแล้วก็ย้ายทีมไป approach ผู้ถือหุ้นหลักของหุ้นตัวใหม่ (เป็นระบบ turn-key คือ ผู้ถือหุ้นหลักไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ทำตามที่บอกทุกอย่างแล้วรอแบ่งเปอร์เซ็นต์อย่างเดียว) มีช่องทางสำหรับการออกข่าว หรือเขียนเชียร์ผ่านสื่อได้ ไม่ใช่ว่าแค่มีเงินเยอะๆ แล้วจะนั่งอยู่หน้าจอปั่นหุ้นได้เลย แบบนั้นเสี่ยงสุดๆ ครับ 

สมัยก่อนเวลาปั่นหุ้นจะปั่นหุ้นอะไรก็ได้ เพราะรายย่อยสนใจแค่ราคาหุ้นที่ขึ้นลงแรงๆ เท่านั้น ไม่ได้สนใจภาพลักษณ์ของตัวหุ้นเท่าไรนัก หุ้นยิ่งเน่ายิ่งชอบเพราะคิดว่าต้องมีเจ้ามือปั่นแน่ๆ แต่สมัยนี้ รายย่อยมีชั้นเชิงมากขึ้น ถ้าธุรกิจของหุ้นดูเน่ามากๆ บางทีเรียกแขก แขกก็ไม่ยอมมา เหมือนกัน นักปั่นหุ้นยุคปัจจุบันจึงปรับตัวมีชั้นเชิงทางการตลาดมากขึ้นด้วย สมัยนี้เวลาจะปั่นหุ้นสักตัว ต้องเลือกปั่นตัวที่บริษัทมีจุดดึงดูดนักลงทุนในเชิงปัจจัยพื้นฐานได้ด้วย ถึงจะเรียกแขกง่าย เช่น พีอียังต่ำอยู่ ช่วยให้เกิดเหตุผลว่าเป็นหุ้นแวยู หรือต้องมีสตอรี่ที่ฟังดูเซ็กซี่รองรับ หรือมีกูรูหุ้นที่มีต้นทุนทางสังคมสูงๆ บางคนเคยเชียร์ เพราะจะสร้างศรัทธาได้ง่าย ปั่นหุ้นในตลาดหุ้นยุคนี้แค่ทำราคาหุ้นอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้วครับ

หนังสือโรงเรียนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย เล่ม 1 และ 2

Screen Shot 2557-06-29 at 6.03.24 AM newcover2

โครงการทำหนังสือเล่ม ที่รวบรวมบทความทั้งหมดในบล็อกแห่งนี้ บัดนี้ ต้นฉบับหนังสือเสร็จเรียบร้อย พร้อมจะส่งโรงพิมพ์เพื่อเริ่มต้นกระบวนการพิมพ์แล้ว

หนังสือมีทั้งหมดสองเล่มจบ โดยจะไม่มีขายทั่วไป แต่จะแจกฟรีให้กับผู้ที่เป็นสมาชิกถาวรของบล็อกเท่านั้น  และพิมพ์ครั้งเดียว มีจำนวนจำกัด

ผู้สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะได้เป็นสมาชิกถาวรและได้รับแจกหนังสือทั้งสองเล่มโดยอัตโนมัติ รวมทั้งสมาชิกเก่าของบล็อกหากทำการต่อสมาชิกครั้งต่อไป ก็จะได้เป็นสมาชิกถาวรทันทีและได้รับแจกหนังสือทั้งสองเล่มโดยอัตโนมัติด้วยเช่นกัน

วิธีตรวจสอบว่าคุณเป็นสมาชิกถาวรหรือไม่ ให้ล็อกอิน แล้วดูที่มุมซ้ายบนของบล็อก จะต้องมีคำว่า Never อยู่

Screen Shot 2557-06-29 at 5.50.18 AM

สมาชิกถาวรที่ต้องการรับหนังสือทันทีที่หนังสือพิมพ์เสร็จ ให้แจ้งที่อยู่ในประเทศไทยที่ต้องการให้จัดส่งหนังสือได้ ที่นี่ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เมื่อหนังสือพิมพ์เสร็จแล้ว จะถูกจัดส่งไปให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้โดยอัตโนมัติ (คาดว่าน่าจะเป็นปลายปีนี้)​  

 

หนังสือมีจำนวนจำกัด แต่จะพยายามกะจำนวนพิมพ์ให้ทั้งผู้ที่สมาชิกใหม่และต่อสมาชิกภายในปีนี้ได้รับหนังสือทุกคนครับ

สูตรสำเร็จของการคัดหุ้น?

บางทีคนเรามักจะชอบวิธีการอะไรที่แน่นอนตายตัว จับต้องได้ ชัดเจน มากกว่าวิธีการที่ยังต้องอาศัยวิจารญาณส่วนตัว ซึ่งอาจจะ bias ก็ได้

นั่นก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต (Stock Selection) แล้ว การใช้สูตรที่แน่นอนตายตัว ยังไม่ใช่หนทางที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีมากนัก

ในหนังสือ Stocks for the long run พบว่า Continue reading “สูตรสำเร็จของการคัดหุ้น?”

Story Brief: AUTO

บ้านเราเป็นประเทศที่ส่งออกรถยนต์มาก และตลาดในประเทศก็ค่อนข้างใหญ่ และมีการเติบโตในส่วนของรถสี่ล้อ อย่างไรก็ตาม โรงงานประกอบรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างประเทศล้วนๆ รวมทั้งซัพพลายเออร์ทางตรง (tier 1) ของโรงงานรถยนต์ก็เป็นคู่ค้าที่มาจากต่างประเทศด้วย ดังนั้นหุ้นรถยนต์ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นซัพพลายเออร์ลำดับที่สองที่ขายชิ้นส่วนให้กับ tier 1 มากกว่า (tier 2, 3) ทำให้กำไรอาจจะไม่สูงนัก แต่เติบโตไปตามตลาดรถยนต์ได้

นอกจาก SAT และ STANLY ที่เคยกล่าวถึงไปแล้ว ขอกล่าวถึงหุ้นยานยนต์ตัวอื่นๆ แบบสั้นๆ

Continue reading “Story Brief: AUTO”

จิตวิทยากับการไหลเข้าออกของเงินในกองทุนรวมไทย

การวิจัยที่จัดทำโดย Prof.Dr.Thorsten Hens เรื่อง Behavioural Finance and Mutual Fund Flows: an international study พบว่า

ในการให้นักลงทุนในประเทศต่างๆ ตอบแบบสอบถาม นักลงทุนไทยโดยเฉลี่ย ที่ยินดีจะถือหุ้นยาวขึ้นอีกหนึ่งเดือน เพื่อรอให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Patience Index) มีอยู่น้อยที่สุดเป็นอันดับที่หก จาก 53 ประเทศ และมีระดับของความไม่ชอบขาดทุน (Loss-aversion) สูงเป็นอันดับ 3 จากทั้งหมด Screen Shot 2557-05-26 at 11.34.52 AM

Screen Shot 2557-05-26 at 11.35.22 AM
การวิจัยยังพบด้วยว่า ยิ่งประเทศมีระดับ Loss-aversion ของนักลงทุนสูงเท่าไร ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เงินจะไหลเข้ากองทุนรวม ในช่วงที่กองทุนรวมเป็นขาขึ้น และไหลออกเมื่อกองทุนรวมเป็นขาลงมากเท่านั้น และทั้ง Loss-aversion กับ Patience Index ล้วนสัมพันธ์กับ ระดับความผันผวนของ net inflow/outflow ของกองทุนรวมของประเทศนั้นๆ ด้วย  

Story Brief: FASHION HOME PERS

หุ้นกลุ่ม CONSUMPTION (FASHION-HOME-PERS) กลุ่มนี้โดยรวมแล้ว ผมไม่แนะนำให้ลงทุนเลย เพราะส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หรืออาจถึงขั้นเป็นธุรกิจพระอาทิตย์ตกดิน (หมดยุค) อีกทั้งโอกาสจะกลับตัวก็มีน้อย เพราะมีสไตล์การบริหารงานแบบเก่า แค่รู้จักไว้เฉยๆ ว่าเขาทำอะไรก็พอ Continue reading “Story Brief: FASHION HOME PERS”