เวลาลงทุนพอร์ต Active เรามักมีปรัชญาการลงทุนอะไรบางอย่างเป็นหลักยึดกว้างๆ แต่เวลาตัดสินใจซื้อขายหุ้น เราใช้ดุลยพินิจเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะไม่ตายตัวและเป็น case by case โดยอาจมีปรัชญาการลงทุนของเราเป็นฐานของการตัดสินใจเท่านั้นและขึ้นอยู่กับการตีความของเราอีกที
การใช้หลักที่ต้อง ตีความแทนที่จะใช้กฎที่ตายตัวแบบแนว Passive นี่แหละที่เป็นปัญหาใหญ่ของการลงทุนแบบ Active เพราะ นักลงทุนสองคนที่ยึดหลักการลงทุนเดียวกัน เช่น “ขายหุ้นต่อเมื่อพื้นฐานเปลี่ยน” เมื่อเกิดข่าวร้ายขึ้นกับหุ้น XYZ คนแรกอาจจะมองว่าข่าวร้ายนี้ทำให้พื้นฐานเปลี่ยนแล้ว แต่คนที่สองอาจจะมองว่าข่าวร้ายนี้ยังไม่พอถึงขั้นทำให้พื้นฐานเปลี่ยน จะเห็นได้ว่า นักลงทุนสองคนนี้ยึดหลักเดียวกัน แต่ทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกันเลย ความสามารถในการตัดสินใจหรือตีความจึงกลายมาสิ่งที่แยกความแตกต่างระหว่างนักลงทุนแนว Active ที่เก่งกับไม่เก่ง ไม่ใช่ตัวหลักการที่ใครๆ ก็รู้เหมือนๆ กัน
การลงทุนแนว Active นั้นสามารถคาดหวังผลตอบแทนได้มากกว่าการลงทุนแนว Passive ก็จริง แต่ต้องเป็นสำหรับกรณีที่นักลงทุนคนนั้นมีความสามารถสูงกว่าคนทั่วไปในตลาดด้วย ไม่ใช่สำหรับทุกๆ กรณี เพราะเป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยความสามารถส่วนตัวผู้ลงทุนในการตัดสินใจแยกแยะใช้เหตุผลข้อมูลและวิจารญาณมากกว่า มิฉะนั้นแล้วการลงทุนแบบ Active กลับให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม
xx
แล้วอย่างเรื่องการเมืองเมื่อเย็นนี้. คุณสุมาอี้มีความเห็นหรือคำแนะนำต่อเพื่อนสมาชิกอย่างไรบ้างครับ. ขอบคุณครับ
การเมืองเก็งยากครับ บางทีอยู่ดีๆ ก็ปลดล็อกหุ้นวิ่งฉิว บางทีทุกคนคิดว่าใกล้จบก็กลับยืดเยื้อต่อมาเป็น 7-8 เดือน พยายามอย่าไปเก็งครับ ผมคิดว่าก็ยังลงทุนได้อยู่ แต่ถ้าไม่สบายใจ ก็อาจจะลดพอร์ตลงมาบางส่วน อะไรทำนองนี้ แต่อย่าไปทำอะไรที่สุดโต่ง เช่น ล้างพอร์ต หรือ เข้าเต็มพอร์ต เพราะถ้าเราผิด เราจะกลายเป็นมวยวัดไปเลยครับ
นี่ถ้าบทความนี้เขียนหลังวันที่ 28 พค 2557
ผมจะนึกถึงน้าแอดเลยนะครับเนี่ย 🙂
ผมloginมา แต่ไม่สามารถอ่านบทความครับ ช่วยด้วยครับคุณสุมาอี้
login ของคุณ pituckj หมดอายุไปเมื่อ Jun 14 ครับ สามารถต่อสมาชิกได้ด้วยการล็อกอินแล้วไปที่หน้า สมัครสมาชิก จะมีตัวเลือกให้ต่ออายุครับ