Dollar Cost Averaging หมายถึงการทยอยซื้อหุ้นครั้งละเท่าๆ กันเมื่อคิดเป็นจำนวนเงิน เช่น ถ้าตั้งใจจะซื้อหุ้นสัก 12000 บาท แทนที่จะซื้อครั้งเดียว 12000 บาทเลย ก็อาจจะแบ่งซื้อ 1000 บาทต่อเดือนเป็นเวลาหนึ่งปี เนื่องจากเราซื้อด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม ถ้าในระยะเวลาหนึ่งปีนั้นหุ้นตัวนั้นเป็นขาลง เราก็จะได้จำนวนหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆ สรุปแล้วเราก็จะได้จำนวนหุ้นมากกว่าการซื้อครั้งเดียว ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้มือใหม่ลงทุนด้วยวิธีนี้เพื่อลดโอกาสที่จะขาดทุนครั้งละมากๆ หากหุ้นที่ซื้อมีราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี อย่าลืมว่าเมื่อหุ้นเป็นขาลงหนึ่งปีได้ หุ้นก็มีสิทธิ์เป็นขาขึ้นหนึ่งปีได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิธีนี้แม้จะทำให้โอกาสในการขาดทุนหนักๆ น้อยลง แต่ก็ทำให้โอกาสที่จะกำไรมากๆ ลดลงด้วย เพราะถ้าเราซื้อครั้งเดียวด้วยเงินทั้งหมด แล้วหุ้นเป็นขาขึ้น เราจะได้กำไรมากกว่าการทยอยซื้อ ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาทั้งโอกาสและความเสี่ยงแล้ว วิธี Dollar Cost Averaging จึงไม่ได้ให้ risk-adjusted return ที่แตกต่างไปจากการซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว (investors are not better off)
ยิ่งในกรณีที่คุณเชื่อว่าหุ้นที่คุณจะซื้อมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง เช่น (ขึ้น 70 ลง 30) คุณยิ่งไม่ควรใช้ Dollar Cost Averaging เข้าไปใหญ่เพราะกรณีเช่นนี้กลับทำให้ risk-adjusted return ต่ำลง (ยกเว้นคุณคิดว่าหุ้นที่จะซื้อมีโอกาสลงมากกว่าขึ้นอย่างนี้ DCA จะช่วยได้ แต่ผมว่าถ้าเราคิดว่ามันจะลง เราน่าจะอยู่เฉยๆ มากกว่านะครับ จะเสี่ยงซื้อไปทำไม)
สรุปก็คือ สำหรับนักลงทุนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการลงทุน วิธี Dollar Cost Averaging จะไม่แตกต่างจากวิธีปกติ ส่วนนักลงทุนที่มีความรู้และพยายามเลือกซื้อหุ้นที่ตนเองคิดว่ามีโอกาสขึ้นมากกว่าลงเท่านั้น ไม่ควรใช้วิธีนี้เลยเพราะจะได้ risk-adjusted return ที่ต่ำกว่าเดิม
คารวะท่านแม่ทัพ!
เหอๆ ลองทำดูน่ะครับ
ผมเคยทำเมื่อปีที่แล้วกับ TTA ครับ ซึ่งเป็นช่วงขาลง (ค่าระวางเรือกำลังตก) ผลออกมา เจ๊งครับ
ตอนนี้เลิกใช้วิธีนี้แล้วครับ เน้นหาความรู้ในตัวบริษัทที่จะลงทุนแทน
หวัดดีครับ คุณ apichai214 ขอบคุณสำหรับ comment ครับ
ใช้กับค่าระวางเรือ มันดูไม่ค่อยเข้าน่ะครับ
ผมว่า ในไทย เหมาะกับ หุ้นรัฐวิสาหกิจแปรรูป ถึงจะน่าใช้ DCA
ปล.แวะเข้ามาหาความรู้ครับ ท่านแม่ทัพ
ผมชอบสำนวนการตอบกระทู้ของพี่มากครับ
ขอขุดอ่านไปเรื่อยๆนะครับ