เป็นคนส่วนแรกๆ ของโลกที่กำลังเปลี่ยน

วิถีชีวิตของคนจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปตามขนาดของจีดีพีต่อหัว อย่างเช่น ถ้าปีนี้จีดีพีโต 3% จำนวนประชากรแทบไม่เพิ่ม วิถีชีวิตของคนในประเทศก็สูงขึ้น 3% โดยประมาณ เพราะจีดีพีคือรายได้ของทุกคนในประเทศรวมกัน Continue reading “เป็นคนส่วนแรกๆ ของโลกที่กำลังเปลี่ยน”

Celebrity Investing – ซื้อหุ้นตามกูรู

ผมพบว่า นักลงทุนมักมีตรรกว่า ตัวเราเองไม่เก่ง ไม่ได้มีวิสัยทัศน์อะไร ไม่ใช่เซียนหุ้น ในเมื่อเรามีเงินอยู่ ทำไมเราไม่พึ่งพาสมองของคนอื่นที่เก่งกว่า มีความเชี่ยวชาญเรื่องหุ้นโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่าเป็นกูรู ให้เป็นผู้เลือกหุ้น แล้วเราก็แค่เอาเงินซื้อหุ้นตามคนเหล่านั้น แทนที่จะเลือกหุ้นเองให้ผิดพลาดเสียหายเปล่าๆ Continue reading “Celebrity Investing – ซื้อหุ้นตามกูรู”

TFEX

ขอออกตัวก่อนว่า ความเห็นของผมเกี่ยวกับ Derivatives เป็นความเห็นส่วนตัว ผมไม่ได้ผูกขาดความถูกต้อง ฉะนั้น ถ้าใครจะมีมุมมองเรื่อง Derivatives ต่างไปจากผมนั้น ไม่ได้แปลว่า ผมคิดว่าความคิดของผมต้องถูก ของคนอื่นต้องผิด เรียกว่าเป็นแค่ความเห็นหนึ่งในหลายๆ ความเห็นเท่านั้นก็แล้วกันครับ

แนวคิดที่เป็นจุดกำเนิดของผลิตภัณฑ์ทางการเงินจำพวก Derivatives นั้น ฟังดูดีมากทีเดียว เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วย “ป้องกันความเสี่ยง” ฟังดูเป็นอะไรที่อนุรักษ์นิยม รอบคอบ ปลอดภัย ฯลฯ

แต่พอมันถูกเอามาใช้งานในทางปฏิบัติแล้ว ตัวผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมา กลับออกแบบมาเพื่อการเก็งกำไรมากกว่าการป้องกันความเสี่ยง อันนี้ไม่ใช่เพราะ TFEX เท่านั้น แต่เป็นมาตั้งแต่ประเทศต้นแบบเลย

เป็นต้นว่า ถ้าคุณลงทุนกองทุน SET50 อยู่ แบบว่าตั้งใจจะถือลงทุนระยะยาว ทีนี้พอลงทุนไปได้สักพัก ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงบางอย่างที่น่ากลัว เช่น คุณกลัวว่าจะมีวิกฤตใหญ่เร็วๆ นี้ขึ้นมา แต่คุณไม่อยากขายกองทุน SET50 ของคุณออกมา เพราะตั้งใจว่าจะถือยาว คุณก็อาจจะต้องการ Short SET50 Futures บางส่วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีวิกฤตใหญ่ๆ หรือแม้แต่ซื้อ SET50 Put Options เพื่อปิดความเสี่ยงที่ว่านี้ คุณจะพบว่า โปรดักส์พวกนี้ไม่ได้ออกมาให้คุณทำแบบนั้นเท่าไร เพราะโปรดักซ์พวกนี้มีอายุแค่ 3 เดือน กลายเป็นว่าถ้าคุณต้องการป้องกันความเสี่ยงนานกว่าสามเดือน คุณต้องซื้อโปรดักส์เหล่านี้ใหม่ทุกสามเดือน ถ้าคุณจะประหยัดค่าคอมโดยเปลี่ยนไปซื้อตัวที่หมดอายุนานๆ เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือนแทน คุณก็จะพบว่า ตัวยาวๆ พวกนั้น แทบไม่มีสภาพคล่องเลย ส่วนต่างราคาจากปัจจุบันก็สูงมาก ตอนซื้อยังไม่เท่าไร แต่ตอนจะปิดสัญญาแล้ว match order ไม่ได้ แทบที่จะป้องกันความเสี่ยงกลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงให้เราแทน

และจะว่าไปแล้ว การป้องกันความเสี่ยงได้แบบนี้ มันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเท่าไร ถ้าคุณตั้งใจจะถือลงทุนอะไรระยะยาวจริงๆ ถ้าระหว่างทางตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงมาก มันก็ไม่มีผลอะไร เพราะคุณก็ไม่ควรจะขายระหว่างทางเพราะตลาดผันผวนอยู่ดี คุณจะได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยสุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับอีก 3-10 ปีข้างหน้าว่าราคามันจะเป็นเท่าไรตอนที่ถึงเวลาขาย ไม่เกี่ยวกับว่าระหว่างทางมันจะขึ้นลงแรงแค่ไหน เพราะคุณไม่ได้ขายระหว่างทางอยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะคอยป้องกันความเสี่ยงระหว่างทาง ปัญหาอยู่ที่จิตใจของคุณเองที่ขาดความมั่นคงในวินัยของการลงทุนมากกว่า

แต่สมมติว่าคุณ short TFEX เพื่อป้องกันความเสี่ยงชั่วคราวจริงๆ แล้วโชคดี คิดถูก ตลาดหุ้นหล่นแรงจริงๆ คุณปิดสัญญาก็จะได้กำไรมาส่วนหนึ่ง แต่ในภาพที่ตรงกันข้ามคือ แทนที่หุ้นจะมีวิกฤต หุ้นดันขึ้นแทน จะกลายเป็นว่าแทนที่ performance ของกองทุน SET50 ของคุณจะสูงขึ้นตามตลาดแล้วกลับกลายเป็นคุณไม่ได้อะไรเลย เพราะคุณดันไป short TFEX ไว้ด้วย มันเลยหักล้าง gain การลงทุนของคุณหมด

ดีลที่ข้างหนึ่งได้กำไรส่วนเพิ่มมา แต่อีกข้างคือสูญกำไรที่ควรจะได้ไปด้วยจริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นดีลที่น่าสนใจเท่าไร เพราะว่า upside กับ downside มันก็เท่ากัน ไม่รู้จะทำไปให้เสียเวลาเสียค่าคอมทำไม ถ้าคุณไม่ใช่พวกนักเก็งกำไรอยู่แล้ว

สรุปแล้ว ผมว่า TFEX เหมาะจะใช้เก็งกำไร คือเทรดดิ้งมากกว่า ไม่เหมาะกับการป้องกันความเสี่ยงหรอก เพราะผลิตภัณฑ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อนักป้องกันความเสี่ยง และถึงจะออกแบบมา คุณก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาในฐานะนักลงทุน เพราะคุณก็ไม่ได้หวังจะรวยจากเก็งกำไรตั้งแต่ต้น

ประโยชน์แค่อันเดียวที่ผมพอจะนึกออกก็คือ คุณสามารถขายหุ้นได้เสมอ โดยที่ไม่ต้องมีของอยู่ก่อน ปกติแล้วถ้าไม่มี TFEX คุณจะซื้อหุ้นเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าคุณจะขายหุ้น เพราะคิดว่าตลาดจะร่วงแรง คุณต้องมีของเหลืออยู่ในพอร์ตพอดี ถึงจะขายทำกำไรจากการ cover short ได้ แต่มี TFEX ถึงคุณจะพลาดขายหุ้นหมดพอร์ตไปแล้ว แต่หุ้นยังขึ้นต่อ และคุณต้องการขายอีก คุณสามารทำได้ด้วยการ short TFEX แทนการขายหุ้น จึงเป็น flexibility อย่างหนึ่งสำหรับคนในตลาดหุ้น ของการมี TFEX

แต่ก็อย่าลืมว่าการ short TFEX ในลักษณะนี้ เป็น naked short คุณมี upside จำกัด (สูงสุดคือ SET Index = 0) แต่มี download แบบไม่จำกัด (เพราะ SET Index สามารถขึ้นต่อไปแค่ไหนก็ได้เลย) มันมี risk profile ที่คุณข้างอันตรายมาก ถ้าคุณไม่มีวินัยมากพอ สามารถนำหายนะมาสู่คุณได้เลย (ถ้าคุณคิดผิด ตลาดหุ้นขึ้นต่อไปเรื่อยๆ คุณจะขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีขีดจำกัด)

ถ้าคุณจะไม่ใช่ TFEX ป้องกันความเสี่ยง แต่เอามาเทรดเพื่อเก็งกำไรแบบที่มันถูกออกแบบมา มันก็ยังมีเรื่องไม่สบอารมณ์อีกหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือว่า TFEX ไม่ได้วิ่งตาม SET แบบตรงๆ ทุกนาที บางทีมันก็วิ่งไปคนละทางอยู่นานกว่าจะกลับมาวิ่งตามกันใหม่ ถ้าคุณเดาว่าช่วงบ่ายตลาดจะลง ก็เลย short แล้วปรากฏว่าตลาดบ่ายลงจริง บ่อยครั้งคุณจะพบว่า TFEX ดันขึ้นซะอย่างงั้น และภาวะไปคนละทางบางทีก็กินเวลาอยู่หลายชั่วโมง กลายเป็นว่า อุตส่าห์คิดถูก แต่ก็ไม่ได้กำไรอีก

การเทรด TFEX เป็นสุดๆ ของ mind game เพราะมันเป็น leverage ทำให้จิตใจของเราหวั่นไหวได้มากกว่าปกติหลายเท่า ทำให้เราตัดสินไปตามอารมณ์มากขึ้น และผิดพลาดมากขึ้น  ว่ากันว่า ลูกค้ารายย่อย 10 คนที่เปิดบัญชี TFEX นั้น สุดท้ายแล้วจะขาดทุนประมาณ 10 คน ครับ ของที่ดูง่ายมากที่สุดในตลาดหุ้นนั้นยากที่สุดครับ

สูตรสำเร็จของการคัดหุ้น?

บางทีคนเรามักจะชอบวิธีการอะไรที่แน่นอนตายตัว จับต้องได้ ชัดเจน มากกว่าวิธีการที่ยังต้องอาศัยวิจารญาณส่วนตัว ซึ่งอาจจะ bias ก็ได้

นั่นก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต (Stock Selection) แล้ว การใช้สูตรที่แน่นอนตายตัว ยังไม่ใช่หนทางที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีมากนัก

ในหนังสือ Stocks for the long run พบว่า Continue reading “สูตรสำเร็จของการคัดหุ้น?”

Story Brief: หุ้นรับเหมา

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง การได้รับเงินช้า การประมูลงานของรัฐที่ถูกเบรกด้วยปัจจัยการเมืองได้ตลอดเวลา รายได้เป็น Project-based สร้างฐานลูกค้าไม่ได้ ต้องอาศัยสายสัมพันธ์ ทำให้ไม่แน่ใจว่าทำบัญชีอย่างไร เป็นหุ้นที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการลงทุน มีไว้เล่นเก็งกำไรข่าวมากกว่า 

ITD เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ รับงานระดับชาติ เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคเพื่อไทย ผลประกอบเท่าทุนหรือไม่ก็ขาดทุนแทบทุกปี บางทีก็อดสงสัยไม่ได้ว่าถ้าผลประกอบเป็นตามนี้จริงทำไมยังทำธุรกิจต่อไป

CK เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ เช่นกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบริษัทที่มีบริษัทลูกทำธุรกิจอย่างอื่นเพื่อ smooth out  ผลประกอบการเยอะ อาทิ CKP, TTW, BECL, BMCL

STEC เป็นผู้รับเหมารายใหญ่ของประเทศ ของตระกูลชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย

NWR ผู้รับเหมารายใหญ่อีกราย แต่เจ้าของเดียวกันกับ ITD แต่รับพวกงานสร้างอาคารด้วย

UNIQ เป็นผู้รับเหมางานใหญ่อีกรายหนึ่ง แต่ขนาดบริษัทไม่ใหญ่เท่า มีงานสำคัญคือรถไฟฟ้าสายสีแดง (ร่วมกับ STEC)

STPI รับเหมางานเหล็ก มีลูกค้าต่างประเทศมากกว่าในประเทศ เจ้าของเดียวกันกับ STEC

BJCHI รับเหมางานเหล็กในต่างประเทศเป็นหลัก (ออสเตรเลีย 80%)

SRICHA รับเหมางานเหล็กและเครื่องกล ปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากงานก่อสร้างโรงถลุงแร่ที่มาดากาสก้า

SEAFCO, PYLON รับงานเสาเข็ม

VTE รับงานไฟฟ้าภายในอาคาร

TTCL รับงานออกแบบวิศวกรรม ความเสี่ยงจะน้อยกว่าเป็นผู้รับเหมา เพราะรับจ้างผู้รับเหมาอีกที แต่ก็มีความเสี่ยงทางอ้อมด้วยเหมือนกัน

TRC รับงานออกแบบวิศวกรรม เน้นกลุ่มอุตสากรรมก๊าซ เช่น ปตท. และมีรายได้จากโอมานบางส่วน

PPS รับงานที่ปรึกษางานก่อสร้าง

PLE รับงานก่อสร้างคอนโดจาก Developer อีกที

SYNTEC รับงานก่อสร้างเน้นอาคารสูง

PREB รับงานก่อสร้างตึกสูงเป็นหลัก โดยเฉพาะคอนโด เจ้าของเดียวกันกับกลุ่ม AP 

Pros and Cons ของ Active Investing

เวลาลงทุนพอร์ต Active เรามักมีปรัชญาการลงทุนอะไรบางอย่างเป็นหลักยึดกว้างๆ แต่เวลาตัดสินใจซื้อขายหุ้น เราใช้ดุลยพินิจเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะไม่ตายตัวและเป็น case by case โดยอาจมีปรัชญาการลงทุนของเราเป็นฐานของการตัดสินใจเท่านั้นและขึ้นอยู่กับการตีความของเราอีกที

การใช้หลักที่ต้อง Continue reading “Pros and Cons ของ Active Investing”

Stock Commentary: หุ้นอื่นๆ (2)

AOT เมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว และบริษัทนี้ก็เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างผูกขาดมากที่สุดในบรรดาธุรกิจท่องเที่ยวทุกชนิด แต่ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้าตลาด หุ้นตัวนี้เจอมรสุมการเมืองอย่างหนัก เชื่อว่าตอนนี้สงครามน่าจะสงบลงพอสมควรแล้ว ธุรกิจน่าจะเติบโตไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีได้ ราคาค่าบริการก็ขึ้นได้ เพราะเครื่องบินเป็นของฟุ่มเฟือย แรงกดดันให้ควบคุมราคา จึงไม่น่าจะมีมากนักเทียบกับค่าทางด่วนหรือค่ารถเมล์

JUBILE บริษัทนี้มีโมเดลธุรกิจที่ดี เพราะขยายตัวไปตามโมเดิร์นเทรด ในเวลาเดียวกันก็ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แค่ออกแบบแล้วจ้างผลิต เป็นมีลักษณะของ brand management business ไม่ต้องลงทุนมาก ส่วนจะยังเติบโตต่อได้อีกหรือไม่ก็ขึ้นกับว่ายังมีช่องว่างในการขยายตัวที่ยังไม่ได้ใช้เหลืออีกมากน้อยแค่ไหน

TOG ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า แต่คนเราน่าจะใส่คอนแทคเลนส์กันมากขึ้น แว่นตาน้อยลงมิใช่หรือ?

JMART  ธุรกิจร้านขายมือถือไม่ใช่ธุรกิจที่ดีนัก กำไรน้อย แข่งขันรุนแรง ในช่วงที่ตลาดเติบโตสูงอาจจะดูดี แต่เมื่อไรที่ตลาดชะลอตัว จะอยู่ยาก มีผู้ให้บริการมือถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ยังไม่นับร้านแบบเอสเอ็มอีที่เป็นกองทัพมดอีกมากมาย สินค้ามาตรฐานของเหมือนๆ กัน สร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ยาก บอกตรงๆ ว่ามองไม่ออกจริงๆว่า JMART มีจุดแข็งตรงไหนจึงสามารถขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง ต้องรอดูกันต่อไป ส่วนธุรกิจบริหารหนี้ ในนาม JMT นั้น ก็น่าจะมีดีอยู่บ้าง เพราะซื้อหนี้มาในราคาที่ถูกมาก ถ้าเก็บหนี้ได้ไม่เยอะนักก็น่าจะทำกำไรได้แล้ว เป็นธุรกิจที่ counter-cyclical ด้วย บริษัทยังมีอีกธุรกิจหนึ่งคือเหมาพื้นที่เช่าจากบิ๊กซีและมาซอยให้ร้านเอสเอ็มอีเช่าช่วงอีกที ในนาม IT-Junction (JAS Asset) ธุรกิจนี้ก็น่าจะดีกว่าเปิดร้านเอง กำลังจะ spin-off เพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ น่าจะเป็นสตอรี่ให้กับ JMART ได้

AS ธุรกิจเกมออนไลน์น่าจะถึงจุดอิ่มตัวไปแล้ว ต่อให้มีเกมใหม่ๆ ออกมา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เล่นโดยรวมเพิ่มขึ้น บริษัทจึงต้องหาธุรกิจใหม่ๆ จึงจะโตต่อไปได้ ปัญหาคือ กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กฆ่าเวลา หรือเล่นเกมบนไอแพด มากขึ้น

ASIA หุ้นตัวนี้ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของโรงแรมเอเชียแถวปทุมวันเท่านัน แต่มีโรงแรมเอเชียในเครือทั้งหมด 4 แห่ง และยังเป็นเจ้าของห้าง Zeer ย่านรังสิติด้วย ซึ่งเป็นส่วนของธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายตัวได้อีก

SST เดิมทำธุรกิจโกดังสินค้า แต่ตอนนี้หันมาทำธุรกิจอาหารมากขึ้น หลังจากเข้าซื้อกิจการของดังกิ้นโดนัท และ au bon pain

EFORL เปลี่ยนชื่อมาจาก AIM เดิมทำธุรกิจพัฒนาไอทีและสื่อโฆษณาในห้างโมเดลเทรด แต่ประสบปัญหา จึงซื้อกิจการบริษัทตัวแทนขายเครื่องมือแพทย์ เปลี่ยนมาเน้นทางนี้แทน

E เปลี่ยนชื่อมาจาก S2Y เดิมทำธุรกิจดอทคอม แต่ขาดทุนหนัก เลยถูกนักลงทุนกลุ่มใหม่ แบ็กดอร์ เอามาทำธุรกิจโรงแรม (Tune Hotel), Domino’s Pizza และ Coffee Bean & Tea Leaf ซึ่งก็ต้องถือว่าธุรกิจใหม่ค่อนข้างดีกว่าหุ้นที่ถูกแบ็กดอร์ส่วนใหญ่อยู่บ้าง เพราะมีตัวตนค่อนข้างชัดเจน บางทีปัจจุบันนี้มันอาจจะกลายเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจจริงจังแล้วก็ได้ แต่เราก็ไม่มีทางรู้แน่ ต้องรอดูกันต่อไป

ADAM มาจากหุ้น RK ทำธุรกิจผลิตรายการทีวีและวิทยุแต่ประสบปัญหา ต้องหาผู้ร่วมทุนใหม่ ปัจจุบันกลับมาทำช่องทีวีดาวเทียม T Sport

PATKL กระโดดเข้าสู่ธุรกิจเอธานอล แต่ล้มเหลว กลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ

TH ทำหนังสือพิมพ์จีนเก่าๆ แต่ถูก วิชัย ทองแตง แบ็คดอร์ เข้ามาแล้ว ส่วนเขาจะเอาบริษัทนี้ไปทำอะไรนั้น ต้องรอดูกันต่อไป

SLC แต่เดิมทุกธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ถูกแบ็คดอร์ โดยกลุ่มทุนหลายรอบ จนสุดท้าย เชื่อกันว่าน่าจะเป็นของกลุ่มวิชัย ทองแตง เอามาทำธุรกิจช่องข่าวสปริงนิวส์เป็นหลัก และล่าสุดประมูลดิจิตอลทีวีได้หนึ่งช่อง

เวลานั่งขุดประวัติหุ้นเก่าๆ แล้ว ทำให้ได้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า ตลาดหุ้นบ้านเรามีธุรกิจบางชนิดที่เข้ามาในตลาดหุ้นมากเป็นพิเศษ แต่ว่ามีความยั่งยืนต่ำมาก เราจะเห็นหุ้นกลุ่มนี้ตัวแล้วตัวเล่าที่เข้ามาเฟื่องฟูดูมีอนาคตที่ยิ่งใหญ่อยู่พักหนึ่ง แล้วถึงเวลาขาลงก็ถึงขั้นบริษัทไม่เหลืออะไรเลย ตัวแล้วตัวเล่า เพราะอุตสาหกรรมนี้ในบ้านเรามีความเป็นอนิจจังสูง หุ้นในกลุ่มนี้ก็คือ ธุรกิจสื่อ เป็นหุ้นที่นักลงทุนระยะยาวไม่ควรจะไปยุ่งครับ

Stock Commentary : หุ้นอื่นๆ (1)

มานั่งดูว่าตลาดหุ้นไทยยังมีหุ้นกลุ่มไหนอีกที่ผมยังไม่เคยพูดถึงเลยบ้าง ส่วนใหญ่อาจเป็นเพราะเป็นธุรกิจที่ผมไม่สนใจลงทุนเลย หรือหุ้นบางตัวก็อาจมีบางจุดที่ทำให้ไม่กล้าลงทุน จึงขอกล่าวถึงแบบสั้นๆ ย่อๆ เท่านั้น

หุ้นกลุ่มแรกที่จำได้ว่าบ้านเราก็มีอยู่หลายตัว แต่ผมยังแทบไม่เคยกล่าวถึงเลยคือ กลุ่ม  Continue reading “Stock Commentary : หุ้นอื่นๆ (1)”