ข้อคิดจาก Performance ของ iShares ETFs

แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้ลงทุนใน iShares ETFs กองทุน ETF ขนาดยักษ์ระดับโลก ที่มีทางเลือกให้นักลงทุนอย่างหลากหลาย แต่ผมคิดว่าเราเรียนรู้จาก Performance ของ iShares ได้เยอะทีเดียว

สิ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับ iShares ก็คือ ผลตอบแทนของ  ishares ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เทียบกับ iShares ETF ตัวอื่นๆ ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐเหมือนกัน แต่มีการกรองหุ้นเฉพาะกลุ่มตามเกณฑ์ของ ขนาด ราคา ฯลฯ จะมีผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร เพื่อให้รู้ว่า การใช้เกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เลือกหุ้น มันช่วยหรือไม่ช่วยให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าตลาดมากแค่ไหน?

เวลาวัดผลตอบแทนทำนองนี้ กรอบของเวลาลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเลือกกรอบเวลาที่วัดผลตอบแทนต่างกัน อาจให้ผลสรุปที่แตกต่างกันมากเลยก็ได้ ผมสนใจกรอบเวลาที่ 3-year Performance มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นผลตอบแทนระยะยาวมากพอที่ความผันผวนระยะสั้นของตลาดหุ้นจะไม่ทำให้ภาพบิดเบือนมากเกินไป (แต่ถ้ายาวกว่านี้ บางทีจะเปรียบเทียบไม่ได้มาก เพราะหลายกองทุนยังจัดตั้งมาไม่นานขนาดนั้น)

มาดูบทสรุปกันเลยดีกว่า

iShares S&P total ETF ให้ผลตอบแทนสามปีล่าสุดรวมทั้งสิ้น 73.89% นี่คือ Benchmark ของเรา เพราะกองทุนนี้เป็นกองทุนดัชนีที่ลงทุนในหุ้นตลาดสหรัฐทั้งหมดตามดัชนี S&P โดยยังไม่มีการกรองหุ้นบางตัวออกเลย

มาลองเปรียบเทียบกับ ETFs ตัวอื่น ที่กรองหุ้นตามขนาด Market Capitalization ดู คือหุ้นขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก

S&P total 73.89%
S&P 500 (big)  74.26%
S&P mid-cap  72.23%
S&P small-cap  73.69%

น่าตกใจที่พบว่า ความเชื่อที่ว่าหุ้นตัวเล็กจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะยาว ดูจะใช้ไม่ได้ผลเท่าไร หุ้นตัวใหญ่กลับให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ผลตอบแทนของทั้งสี่ดัชนีในระยะยาวสามปี แทบจะไม่ได้แตกต่างกันเลย คือไม่ได้แตกต่างกันมากถึงขนาดที่เราจะต้องใส่ใจกับ “ขนาด” ของหุ้นเวลาเลือกลงทุน

ลองมาตรวจสอบแนวคิดเรื่อง P/E ดูบ้างว่ากองทุนที่กรองหุ้นพีอีสูงหรือต่ำจะให้ผลตอบแทนที่ต่างจากดัชนีสักแค่ไหน

US core Growth  72.91%
US  core Value  72.62%
US core high dividend 52.63%

น่าประหลาดใจอีกเช่นกันว่า การคัดหุ้นด้วย P/E ก็ไม่ได้นำมาซึ่งผลตอบแทนสามปีที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญใดๆ (P/E สูงกลับได้มากกว่านิดหน่อยด้วย) แต่แถมให้อีกนิดคือ ถ้ากรองด้วยหุ้นที่มี Dividend Yield สูงๆ กลับได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนีค่อนข้างมากทีเดียว (ซึ่งตามทฤษฎีก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะยิ่งปันผลมากก็แสดงว่าเติบโตได้ต่ำ ยิ่งถ้าตลาดเป็นขาขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนี)

บางทีตลาดทุนสมัยใหม่อาจมีความฉลาดมากพอที่จะทำให้การคัดหุ้นด้วยวิธีการที่ง่ายมากๆ แบบนี้ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว? มันง่ายเกินไป

นอกจากนี้ iShares ยังมี ETF อีกกล่มหนึ่งที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐเหมือนกัน แต่มีการกำหนด Asset Allocation ด้วยคือถือหุ้น 50%, 60% และ 70% ของพอร์ต

core Conservative ETF 18.09%
core Moderate ETF 25.12%
core Aggressive ETF 49.41%

ไม่น่าแปลกที่ทั้งสามกองทุนให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนี เนื่องจากในช่วงสามปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐเป็นขาขึ้นตลอดทาง การมีหุ้นในพอร์ตในสัดส่วนที่น้อยลง ย่อมทำให้แพ้ตลาดแน่นอน แต่ถ้าตลาดหุ้นสหรัฐเป็นขาลง บทสรุปก็จะกลับเป็นตรงข้ามกันเลย สิ่งหนึ่งที่อาจสรุปได้ด้วยก็คือว่า Asset Allocation อาจมีผลต่อผลตอบแทนของเราอย่างค่อนข้างมีนัยสำคัญ เลือก Allocation ผิด ผลตอบแทนจะต่างกันได้มากกว่าการกรองหุ้นด้วยวิธีต่างๆ กันอย่างมาก

นอกจากเกณฑ์กรองหุ้นเหล่านี้แล้ว สมัยนี้ iShares ยังมีของเล่นใหม่ๆ มาให้นักลงทุนลองอีก อย่างแรกเรียกว่าพวก Enhanced ETF คือเกือบจะเหมือน ETF ปกติที่เป็น passive Index funds แต่ว่ามีการใส่เกณฑ์ quantitative บางอย่างเข้าไปกรองหุ้นอีกชั้นหนึ่ง เช่นดู ROE, ROA ประกอบด้วย เพื่อช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีก (หวังว่า) เช่น iShares Enhanced U.S Large-Cap ETF ก็เหมือน S&P500 Index ที่ลงทุนแต่ในหุ้น Large-Cap 500 ตัวเหมือนธรรมดา แต่ใช้เกณฑ์ quantiative บางอย่างกรองหุ้นอีกที น่าเสียดายที่กองทุนนี้เพิ่งมีได้ไม่ถึงสามปี เลยมีแต่ผลตอบแทน หนึ่งปีมาให้ดูเปรียบเทียบ

S&P500 13.62%
S&P500 Enhanced 11.68%

ผลปรากฎว่า กลับทำให้ผลตอบแทนต่ำลง แต่เพื่อให้ความเป็นธรรมก็ยังไม่อยากสรุป เอาไว้ให้ผ่านไปครบสามปีก่อน ถ้ายังไม่ลืมผมจะเอาผลลัพธ์มาให้ดูกันอีกที

ของเล่นอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า Factor ETFs คือ มีการใส่เกณฑ์บางอย่างเข้าไป เพื่อใช้ในการปรับพอร์ตแทนที่จะใช้ Market-cap weight แบบดัชนีทั่วไป  (บางทีเรียกกองแบบนี้ว่า Smart Beta) เช่น Momentum Factor คือเลือกแต่หุ้นที่มีโมเมนตัมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ถ้าโมเมนตัมหายไปเมื่อไรก็ปรับออกจากดัชนี เป็นต้น ดูคล้ายเป็นพอร์ตที่ลงทุนตามสัญญาณเทคนิกชนิดหนึ่ง ปรากฎว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนประมาณ 14.48% ซึ่งถือว่าชนะ S&P500 ได้

S&P500 (benchmark) 13.62%
 momentum factor  14.48%
 size factor  15.78%
value factor 12.29%
quality factor 11.62%

พวก Factor ETFs ดูมีผลงานที่น่าสนใจ แต่ว่ายังเกิดขึ้นได้แค่ปีกว่า ขอรอดูผลงานสามปีว่าจะเป็นเช่นไรแล้วค่อยสรุปอีกที

มีข้อน่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ถ้าหากดูผลตอบแทนแค่หนึ่งปี เกณฑ์หลายอย่างที่อาจให้ผลตอบแทนสามปีไม่ต่างจากดัชนี จะให้ผลตอบแทนที่ต่างกันได้มาก แต่เราไม่ควรนำผลตอบแทนระยะสั้นแบบนั้นมาเป็นข้อสรุป เพราะช่วงเวลาสั้นๆ นั้น noise อาจมีขนาดใหญ่กว่า signal มากทำให้ได้ข้อสรุปที่บิดเบือน เมื่อนำข้อสรุประยะสั้นๆ มาใช้ก็มักพบว่าได้ผลที่ไม่ดีเหมือนเดิม เพราะ noise ในตลาดหุ้นในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่เคยเหมือนกัน

แม้ว่าเราจะไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ผลตอบแทนของ iShares ก็อาจทำให้เราคิดได้ว่า การใช้เกณฑ์หลายๆ อย่าง (โดยเฉพาะเกณฑ์แบบ Quantitative เช่น พีอีต่ำ ปันผลสูง หรือหุ้นขนาดเล็ก) ที่เราเคยมีความเชื่อว่าจะทำให้กรองหุ้นแล้วทำให้ได้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้นั้น อาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่เราคิด ตลาดหุ้นมีความสามารถมากกว่าที่เราคิดที่จะพยายามทำให้ไม่มีใครได้กำไรแบบง่ายๆ และมันตอกย้ำความเชื่อส่วนตัวของผมว่า Stock Selection นั่นควรจะเป็น Qualitative Process คือเราควรจะรู้ว่าบริษัทที่เราจะลงทุนนั้นทำธุรกิจอะไร โอกาสอยู่ที่ตรงไหน ธุรกิจนั้นๆ มันดีเพราะว่าอะไร และหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคตนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นที่มีพีอีสูงหรือว่าต่ำ เป็นหุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แต่ราคาหุ้นที่เราจะเข้าลงทุนต้องเหมาะสม (คือไม่เกิน) ระดับการเติบโตที่เป็นไปได้ของมัน

 

ปรับพอร์ต Index Fund

เมื่อต้นปีได้ทำพอร์ตตัวอย่างสำหรับการซื้อ Index Fund เอาไว้  (เกือบลืมไปแล้วว่าทำไว้) บัดนี้ถึงทำ Rebalance สิ้นปี

กฎของเราก็คือ Rebalance ปีละครั้ง ให้ปรับใหม่ให้ Equity อยู่ระหว่าง 50-70% ของพอร์ต (ให้อิสระภายในกรอบนี้)​ ก็เลยเลือกมั่วๆ ไปที่ Equity 55%

ขอบันทึกผลการปรับพอร์ตประจำปีไว้ตามนี้นะครับ

Before

Screen Shot 2557-12-11 at 8.44.30 AM

 

After

Screen Shot 2557-12-16 at 9.47.15 AM สิ้นปีแล้วก็ได้เวลาอันสมควรที่ผมจะเลิกเขียนบทความทุกสัปดาห์ตามที่เคยแจ้งล่วงหน้าไว้แล้วนะครับ ต่อไปนี้ ถ้ามีเรื่องอยากจะเล่าค่อยเขียนครับ ขอเวลาไปทดลองทำอะไรใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ชีวิตบ้าง

นอกจากบทความตามฤกษ์สะดวกแล้ว ปีนี้ผมตั้งใจจะว่าจะรวบรวมข่าวหุ้น เฉพาะที่ผมเห็นว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวกับ “Growth Story” ที่เป็นระยะกลางถึงยาวของบริษัทจดทะเบียน เท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นข่าวที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ฯลฯ เท่านั้น สำหรับนักลงทุนที่สนใจปัจจัยพื้นฐาน และการลงทุนในระยะกลางถึงยาวจริงๆ จะได้ไม่ถูกเบนความสนใจด้วยข่าวระยะสั้นอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ โดยเมื่อผมพบเห็นข่าวไหนที่คิดว่าเข้าข่ายนี้ ผมจะนำมาขึ้น Status Update บน Facebook Page ถ้าหากใครสนใจติดตาม ก็สามารถเข้าไปกด Like Page เอาไว้ได้ที่ http://facebook.com/dekisugibooks ครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

30 Checklist ง่ายๆ สำหรับเลือกหุ้นเติบโต

ผมเชื่อว่าการเลือกหุ้นควรเป็นการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ แต่ เพื่อช่วยให้ง่ายและจับต้องได้มากขึ้น ผมได้ลองคิดถึง Checklist สำหรับการเลือกหุ้นเติบโตสำหรับลงทุน (ระยะกลางและยาว) นักลงทุนอาจใช้ Checklist นี้ เพื่อช่วยกรองหุ้นเบื้องต้น หรือมาเสริมการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของเราก็ได้ครับ

Continue reading “30 Checklist ง่ายๆ สำหรับเลือกหุ้นเติบโต”

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะกลาง (ต่อ)

ในครั้งก่อน ผมได้สรุปไปว่า อุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะกลางในความเห็นของผมเวลานี้คือ ธุรกิจการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสื่อสาร

ในครั้งนี้อยากเขียนถึงบริษัทเหล่านี้เพิ่มเติม เพราะมีประเด็นปลีกย่อยบางประเด็นที่คิดว่าอยากนำเสนอไว้เป็นไอเดียในการเลือกหุ้นเพิ่มเติม Continue reading “อุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะกลาง (ต่อ)”

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะกลาง

ตามที่ได้เคยอธิบายไปว่า ผมมีมุมมองที่ไม่ค่อยสดใสเกี่ยวกับภาคส่งออกของไทยในช่วง 3-5 ปี ข้างหน้า และคิดว่ารัฐฯ จะไม่มีทางเลือก นอกจากต้องส่งเสริมการบริโภคในประเทศ เพื่อให้ช่วยขับดันเศรษฐกิจแทนการส่งออก ซึ่งทุกประเทศเกิดใหม่ก็น่าจะทำแบบเดียวกัน เพื่อทดแทนกำลังซื้อของประเทศพัฒนาแล้วที่ถดถอยลง Continue reading “อุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะกลาง”

อนาคตของภาคส่งออกไทย?

ตัวเลขส่งออกไทย เดือนล่าสุด ค่อนข้างน่าผิดหวังทีเดียว เพราะโตติดลบ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นบวกกันหมด ถ้าหากตัดยอดส่งออกทองคำและพลังงานออกไป ก็อาจติดลบน้อยลง แต่ว่าก็ไม่ควรจะติดลบเลย เพราะที่ผ่านมา ตัวเลขส่งออกไทยมักจะโตได้ดีมาตลอด Continue reading “อนาคตของภาคส่งออกไทย?”

เป็นคนส่วนแรกๆ ของโลกที่กำลังเปลี่ยน

วิถีชีวิตของคนจะค่อยๆ ขยับขึ้นไปตามขนาดของจีดีพีต่อหัว อย่างเช่น ถ้าปีนี้จีดีพีโต 3% จำนวนประชากรแทบไม่เพิ่ม วิถีชีวิตของคนในประเทศก็สูงขึ้น 3% โดยประมาณ เพราะจีดีพีคือรายได้ของทุกคนในประเทศรวมกัน Continue reading “เป็นคนส่วนแรกๆ ของโลกที่กำลังเปลี่ยน”

Celebrity Investing – ซื้อหุ้นตามกูรู

ผมพบว่า นักลงทุนมักมีตรรกว่า ตัวเราเองไม่เก่ง ไม่ได้มีวิสัยทัศน์อะไร ไม่ใช่เซียนหุ้น ในเมื่อเรามีเงินอยู่ ทำไมเราไม่พึ่งพาสมองของคนอื่นที่เก่งกว่า มีความเชี่ยวชาญเรื่องหุ้นโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่าเป็นกูรู ให้เป็นผู้เลือกหุ้น แล้วเราก็แค่เอาเงินซื้อหุ้นตามคนเหล่านั้น แทนที่จะเลือกหุ้นเองให้ผิดพลาดเสียหายเปล่าๆ Continue reading “Celebrity Investing – ซื้อหุ้นตามกูรู”