One Up on Wall Street & Beat the Street

ช่วงนี้ผมกำลังเริ่มอ่านหนังสือ One Up on Wall Street ของ Peter Lynch รอบใหม่ จำไม่ได้ว่า เล่มนี้ผมอ่านไปแล้วกี่รอบ แต่ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผมอ่านซ้ำบ่อยมาก

สำหรับผมแล้ว หนังสือสองเล่มของปีเตอร์ ลินซ์ คือ One Up on Wall Street และ Beat the Street คือ หนังสือการลงทุนที่ดีที่สุด มันดีมากขนาดที่ว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือสองเล่มนี้ให้ละเอียด พยายามทำความเข้าใจทุกแมจเสจ และอ่านซ้ำบ่อยๆ ผมว่า คุณไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือการลงทุนเล่มอื่นๆ อีกเลยก็ยังได้ มันคือคัมภีร์ไบเบิลของการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

พอร์ตสาธิต 7thLTG เป็นแนวการลงทุนแบบค่อนข้าง Passive ถ้าใครถามผมว่า แล้วเราควรลงทุนในแนว Active อย่างไรดี ผมจะชี้ให้เขาไปอ่านหนังสือของปีเตอร์ ลินซ์ทั้งสองเล่มเลย เพราะผมเห็นว่า เขาเขียนวิธีการและเทคนิคสำหรับการลงทุนแบบ Active ทุกอย่างเอาไว้ดีแล้ว ครบถ้วน และสมบูรณ์แบบอย่างที่สุด

ข้อเด่นอีกอย่างหนึ่งของหนังสือปีเตอร์ลินซ์คือ เขาเขียนหนังสือแนะนำวิธีลงทุนที่เหมาะกับคนธรรมดาทั่วไป (ใน One Up on Wall Street) หาใช่วิธีสำหรับเซียนหุ้น ซึ่งคนทั่วไป อาจจะปฏิบัติไม่ได้ก็ได้ ส่วนหนังสือ Beat the Street จะเป็นหนังสือที่แนะนำผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนทั่วไปที่อยากได้เทคนิคที่ลึกมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ หนังสือเต็มไปด้วย เกร็ดในการเลือกหุ้นนับร้อยๆ เกร็ด ซึ่งหาไม่ได้ในหนังสือการลงทุนทั่วไป ที่มักมีแต่ปรัชญา หรือแรงบันดาลใจ แต่ดันไม่บอกว่า เวลาปฏิบัติต้องทำยังไง ดูยังไง อย่างเป็นรูปธรรม

ทุกครั้งที่อ่านหนังสือสองเล่มนี้ซ้ำ ผมมักจะเจอประเด็นใหม่ๆ ที่ไม่พบในการอ่านครั้งก่อนๆ อยู่เสมอ เพราะบางครั้ง ประสบการณ์เราเพิ่มขึ้น เราถึงจะเข้าใจข้อความบางส่วนในหนังสือซึ่งเราอาจอ่านแล้วไม่เข้าใจในการอ่านครั้งแรกๆ        

Screen Shot 2558-06-28 at 4.53.18 PM

BTS Commentary

หุ้นตัวนี้ดูผิวเผินน่าจะเป็น superstock ได้เลยทีเดียว รถไฟฟ้านับวันจะมีแต่คนใช้มากขึ้น แถมยังผูกขาดในแต่ละเส้นทางนั้นๆ อีกต่างหาก แต่ถ้าเข้าไปดูรายละเอียดของบริษัทให้มากขึ้น จะพบว่า ก็อาจไม่ได้ถึงขั้นนั้น Continue reading “BTS Commentary”

รอเศรษฐกิจฟื้น

ช่วงนี้หุ้นไทยย่อลงมา และยังกลับไปที่จุดเดิมไม่ได้ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างอึมครึมพอสมควร

อันที่จริง ก่อนที่ดัชนีจะย่อลงมา ทุกคนก็ทราบดีว่า พีอี ตลาดไม่ได้ต่ำเลย และเศรษฐกิจไทยก็ดูไม่ดีนัก ภาวะแบบนี้ไม่ต้องมีไอคิวสูงก็รู้ว่าไม่น่าลงทุน แต่เหตุที่ทำให้ไม่มีใครสนใจ เป็นเพราะราคาหุ้นไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นไปตลอด ทิศทางของราคาหุ้นมีผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนสูงกว่าเรื่องปัจจัยพื้นฐานเสมอ ครั้งนี้จึงไม่ได้มีอะไรต่างจากดอยทุกครั้งที่ผ่านมา มันเป็นพฤติกรรมที่ hard-wired อยู่ในสมองของนักลงทุน จึงเปลี่ยนไม่ได้ Continue reading “รอเศรษฐกิจฟื้น”

Private Equity

ช่วงสิบปีที่ผ่านมาถือว่าตลาดทุนพัฒนาไปเยอะมาก มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งอนุพันธ์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุน ETFs ฯลฯ กลุ่มคนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นก็ขยายวงกว้างขึ้นอย่างมากมายเมื่อเทียบกับสมัยก่อน   Continue reading “Private Equity”

มอง ICT&Media ในสหรัฐฯ

ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ น่าจะเป็น Verizon กับ AT&T ตามมาด้วยรายเล็กอื่นๆ อีก 3-4 ราย ธุรกิจนี้เป็น natural monopoly คือ ถ้าปล่อยให้แข่งขันเต็มรูปแบบตามปกติกลับไม่ส่งผลดีต่อประเทศ เพราะการวางเครือข่ายซ้ำซ้อนจะมีเยอะมาก สิ้นเปลืองทรัพยากร สุดท้ายแล้วควรมีแค่ 2-3 ราย เพื่อให้เกิดการแข่งขันบ้าง และในเวลาเดียวกันก็ไม่ทำให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อนมากเกินไป สุดท้ายแล้วบ้านเราก็คงเป็นแบบเดียวกัน

เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง Verizon และ AT&T เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายพื้นฐานแทบทุกอย่าง ไม่ใช่แค่มือถือ แต่มี โทรศัพท์บ้าน บรอดแบรนด์ และทีวี ด้วย บริการเหล่านี้ต่างก็มี โครงสร้างพื้นฐานบางส่วนที่ทับซ้อนกัน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำให้หมดทุกอย่าง เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนไปแล้วเป็นเงินจำนวนมหาศาลให้ได้รายรับกลับมาให้มากที่สุด Continue reading “มอง ICT&Media ในสหรัฐฯ”

Stock Commentary April 2015 (Youtube Edition)

คุยกันทั่วไปเกี่ยวกับมุมมองการลงทุนในช่วงนี้

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=ZKAm1lA1iU0]

https://youtube.com/watch?v=ZKAm1lA1iU0

ข้อคิดจาก Performance ของ iShares ETFs

แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้ลงทุนใน iShares ETFs กองทุน ETF ขนาดยักษ์ระดับโลก ที่มีทางเลือกให้นักลงทุนอย่างหลากหลาย แต่ผมคิดว่าเราเรียนรู้จาก Performance ของ iShares ได้เยอะทีเดียว

สิ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับ iShares ก็คือ ผลตอบแทนของ  ishares ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เทียบกับ iShares ETF ตัวอื่นๆ ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐเหมือนกัน แต่มีการกรองหุ้นเฉพาะกลุ่มตามเกณฑ์ของ ขนาด ราคา ฯลฯ จะมีผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร เพื่อให้รู้ว่า การใช้เกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เลือกหุ้น มันช่วยหรือไม่ช่วยให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าตลาดมากแค่ไหน?

เวลาวัดผลตอบแทนทำนองนี้ กรอบของเวลาลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเลือกกรอบเวลาที่วัดผลตอบแทนต่างกัน อาจให้ผลสรุปที่แตกต่างกันมากเลยก็ได้ ผมสนใจกรอบเวลาที่ 3-year Performance มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นผลตอบแทนระยะยาวมากพอที่ความผันผวนระยะสั้นของตลาดหุ้นจะไม่ทำให้ภาพบิดเบือนมากเกินไป (แต่ถ้ายาวกว่านี้ บางทีจะเปรียบเทียบไม่ได้มาก เพราะหลายกองทุนยังจัดตั้งมาไม่นานขนาดนั้น)

มาดูบทสรุปกันเลยดีกว่า

iShares S&P total ETF ให้ผลตอบแทนสามปีล่าสุดรวมทั้งสิ้น 73.89% นี่คือ Benchmark ของเรา เพราะกองทุนนี้เป็นกองทุนดัชนีที่ลงทุนในหุ้นตลาดสหรัฐทั้งหมดตามดัชนี S&P โดยยังไม่มีการกรองหุ้นบางตัวออกเลย

มาลองเปรียบเทียบกับ ETFs ตัวอื่น ที่กรองหุ้นตามขนาด Market Capitalization ดู คือหุ้นขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก

S&P total 73.89%
S&P 500 (big)  74.26%
S&P mid-cap  72.23%
S&P small-cap  73.69%

น่าตกใจที่พบว่า ความเชื่อที่ว่าหุ้นตัวเล็กจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะยาว ดูจะใช้ไม่ได้ผลเท่าไร หุ้นตัวใหญ่กลับให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ผลตอบแทนของทั้งสี่ดัชนีในระยะยาวสามปี แทบจะไม่ได้แตกต่างกันเลย คือไม่ได้แตกต่างกันมากถึงขนาดที่เราจะต้องใส่ใจกับ “ขนาด” ของหุ้นเวลาเลือกลงทุน

ลองมาตรวจสอบแนวคิดเรื่อง P/E ดูบ้างว่ากองทุนที่กรองหุ้นพีอีสูงหรือต่ำจะให้ผลตอบแทนที่ต่างจากดัชนีสักแค่ไหน

US core Growth  72.91%
US  core Value  72.62%
US core high dividend 52.63%

น่าประหลาดใจอีกเช่นกันว่า การคัดหุ้นด้วย P/E ก็ไม่ได้นำมาซึ่งผลตอบแทนสามปีที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญใดๆ (P/E สูงกลับได้มากกว่านิดหน่อยด้วย) แต่แถมให้อีกนิดคือ ถ้ากรองด้วยหุ้นที่มี Dividend Yield สูงๆ กลับได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนีค่อนข้างมากทีเดียว (ซึ่งตามทฤษฎีก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะยิ่งปันผลมากก็แสดงว่าเติบโตได้ต่ำ ยิ่งถ้าตลาดเป็นขาขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนี)

บางทีตลาดทุนสมัยใหม่อาจมีความฉลาดมากพอที่จะทำให้การคัดหุ้นด้วยวิธีการที่ง่ายมากๆ แบบนี้ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว? มันง่ายเกินไป

นอกจากนี้ iShares ยังมี ETF อีกกล่มหนึ่งที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐเหมือนกัน แต่มีการกำหนด Asset Allocation ด้วยคือถือหุ้น 50%, 60% และ 70% ของพอร์ต

core Conservative ETF 18.09%
core Moderate ETF 25.12%
core Aggressive ETF 49.41%

ไม่น่าแปลกที่ทั้งสามกองทุนให้ผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนี เนื่องจากในช่วงสามปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐเป็นขาขึ้นตลอดทาง การมีหุ้นในพอร์ตในสัดส่วนที่น้อยลง ย่อมทำให้แพ้ตลาดแน่นอน แต่ถ้าตลาดหุ้นสหรัฐเป็นขาลง บทสรุปก็จะกลับเป็นตรงข้ามกันเลย สิ่งหนึ่งที่อาจสรุปได้ด้วยก็คือว่า Asset Allocation อาจมีผลต่อผลตอบแทนของเราอย่างค่อนข้างมีนัยสำคัญ เลือก Allocation ผิด ผลตอบแทนจะต่างกันได้มากกว่าการกรองหุ้นด้วยวิธีต่างๆ กันอย่างมาก

นอกจากเกณฑ์กรองหุ้นเหล่านี้แล้ว สมัยนี้ iShares ยังมีของเล่นใหม่ๆ มาให้นักลงทุนลองอีก อย่างแรกเรียกว่าพวก Enhanced ETF คือเกือบจะเหมือน ETF ปกติที่เป็น passive Index funds แต่ว่ามีการใส่เกณฑ์ quantitative บางอย่างเข้าไปกรองหุ้นอีกชั้นหนึ่ง เช่นดู ROE, ROA ประกอบด้วย เพื่อช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีก (หวังว่า) เช่น iShares Enhanced U.S Large-Cap ETF ก็เหมือน S&P500 Index ที่ลงทุนแต่ในหุ้น Large-Cap 500 ตัวเหมือนธรรมดา แต่ใช้เกณฑ์ quantiative บางอย่างกรองหุ้นอีกที น่าเสียดายที่กองทุนนี้เพิ่งมีได้ไม่ถึงสามปี เลยมีแต่ผลตอบแทน หนึ่งปีมาให้ดูเปรียบเทียบ

S&P500 13.62%
S&P500 Enhanced 11.68%

ผลปรากฎว่า กลับทำให้ผลตอบแทนต่ำลง แต่เพื่อให้ความเป็นธรรมก็ยังไม่อยากสรุป เอาไว้ให้ผ่านไปครบสามปีก่อน ถ้ายังไม่ลืมผมจะเอาผลลัพธ์มาให้ดูกันอีกที

ของเล่นอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า Factor ETFs คือ มีการใส่เกณฑ์บางอย่างเข้าไป เพื่อใช้ในการปรับพอร์ตแทนที่จะใช้ Market-cap weight แบบดัชนีทั่วไป  (บางทีเรียกกองแบบนี้ว่า Smart Beta) เช่น Momentum Factor คือเลือกแต่หุ้นที่มีโมเมนตัมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ถ้าโมเมนตัมหายไปเมื่อไรก็ปรับออกจากดัชนี เป็นต้น ดูคล้ายเป็นพอร์ตที่ลงทุนตามสัญญาณเทคนิกชนิดหนึ่ง ปรากฎว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนประมาณ 14.48% ซึ่งถือว่าชนะ S&P500 ได้

S&P500 (benchmark) 13.62%
 momentum factor  14.48%
 size factor  15.78%
value factor 12.29%
quality factor 11.62%

พวก Factor ETFs ดูมีผลงานที่น่าสนใจ แต่ว่ายังเกิดขึ้นได้แค่ปีกว่า ขอรอดูผลงานสามปีว่าจะเป็นเช่นไรแล้วค่อยสรุปอีกที

มีข้อน่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ถ้าหากดูผลตอบแทนแค่หนึ่งปี เกณฑ์หลายอย่างที่อาจให้ผลตอบแทนสามปีไม่ต่างจากดัชนี จะให้ผลตอบแทนที่ต่างกันได้มาก แต่เราไม่ควรนำผลตอบแทนระยะสั้นแบบนั้นมาเป็นข้อสรุป เพราะช่วงเวลาสั้นๆ นั้น noise อาจมีขนาดใหญ่กว่า signal มากทำให้ได้ข้อสรุปที่บิดเบือน เมื่อนำข้อสรุประยะสั้นๆ มาใช้ก็มักพบว่าได้ผลที่ไม่ดีเหมือนเดิม เพราะ noise ในตลาดหุ้นในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่เคยเหมือนกัน

แม้ว่าเราจะไม่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ผลตอบแทนของ iShares ก็อาจทำให้เราคิดได้ว่า การใช้เกณฑ์หลายๆ อย่าง (โดยเฉพาะเกณฑ์แบบ Quantitative เช่น พีอีต่ำ ปันผลสูง หรือหุ้นขนาดเล็ก) ที่เราเคยมีความเชื่อว่าจะทำให้กรองหุ้นแล้วทำให้ได้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้นั้น อาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่เราคิด ตลาดหุ้นมีความสามารถมากกว่าที่เราคิดที่จะพยายามทำให้ไม่มีใครได้กำไรแบบง่ายๆ และมันตอกย้ำความเชื่อส่วนตัวของผมว่า Stock Selection นั่นควรจะเป็น Qualitative Process คือเราควรจะรู้ว่าบริษัทที่เราจะลงทุนนั้นทำธุรกิจอะไร โอกาสอยู่ที่ตรงไหน ธุรกิจนั้นๆ มันดีเพราะว่าอะไร และหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคตนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นที่มีพีอีสูงหรือว่าต่ำ เป็นหุ้นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แต่ราคาหุ้นที่เราจะเข้าลงทุนต้องเหมาะสม (คือไม่เกิน) ระดับการเติบโตที่เป็นไปได้ของมัน

 

ลองไปใช้บริการ LDC Dental

LDC Dental มาเปิดสาขาใหม่แถวบ้าน ก็เลยถือโอกาสไปลองใช้บริการดู เป็นการทำการบ้านนักลงทุนไปในตัว

20150126_122246

สนนราคาถือว่ามาตรฐานทั่วไป เช่น ถอนฟัน 900-1, 200 อุดฟัน 900 เป็นต้น (แต่ที่ผมทำประจำอยู่ถูกกว่านี้นิดหน่อย) จุดที่แตกต่างจากเจ้าอื่น ผมยังมองไม่เห็นชัดเจนนัก เช่น มีให้ดูห้องฆ่าเชื้อเครื่องมือ น้ำบ้วนปากผสมน้ำยาบ้วนปากมาด้วย ฯลฯ แต่ก็ไม่อาจถือว่าเป็นจุดเด่นที่มีนัยสำคัญได้ คิดว่า แวยูของบริษัทคงอยู่ที่ฝั่งทันตแพทย์มากกว่า คือ ช่วยให้ทันตแพทย์ได้ทำฟันอย่างเดียว โดยไม่ต้องจัดการเรื่องธุรกิจ ส่วนในแง่ของคนไข้นั้น ไม่ได้ต่างจากร้านทำฟันทั่วๆ ไป

คิดว่าเป็นธุรกิจที่น่าจะไปได้ แต่คงไม่ถึงกับมีจุดโดดเด่น