https://youtu.be/U6MHuQvQxGg
the big short (2015)
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=LWr8hbUkG9s]
เพิ่งไปดูหนังเรื่องนี้มาครับ The Big Short (2015) หนังสร้างจากเรื่องจริงในหนังสือของ Michael Lewis เกี่ยวกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นหายนะวิกฤตซับไพร์ม ก่อนคนอื่น และสามารถทำกำไรมหาศาลได้จากมัน
โดยส่วนตัวผมว่าข้อคิดที่ได้จากหนังเรื่องนี้คือ ฟองสบู่ไม่ได้เกิดจากคนที่กล้าเสี่ยงแบบบ้าบิ่นมากเท่ากับการที่คนจำนวนมากเชื่อว่ามีอะไรบางอย่างที่เชื่อถือได้อย่างแน่นอนว่าปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นหลักทรัพย์ตัวไหนก็ตาม หรือแม้แต่ทฤษฎีหรือหลักการลงทุนอะไรบางอย่าง เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราเชื่อแบบนั้น เราจะทุ่มสุดตัว และหมดตัวได้ ต่างจากอะไรก็ตามที่เรายังเชื่อว่ามีความเสี่ยงอยู่ เราจะระมัดระวังมากกว่า และทำให้ได้ไม่ได้เสียหายจากมัน
คนเรามักชอบให้มีคนมาบอกว่า “คุณจะปลอดภัย” (Everything is gonna be alright) มากกว่าที่จะอยากรับรู้ข้อเท็จจริงตามเนื้อผ้า นี่เป็นเหตุให้เกิดภาวะเชื่อตามๆ กัน เพราะมันสร้างความอุ่นใจให้เราได้มากกว่า และทำให้เกิดธุรกิจหมอดู นักพยากรณ์ ที่ปรึกษาการลงทุน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฯลฯ ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากกว่าทำให้เรารู้สึกสบายใจ ทั้งที่การป้องกันความเสี่ยงจริงๆ คือการเผชิญหน้ากับข้อมูล ข้อเท็จจริง ตามเนื้อผ้า ไม่ว่าข้อเท็จจริงนั้นจะทำให้เราสบายใจหรือรู้สึกหดหู่ก็ตาม ตัวละครในเรื่องคือกลุ่มคนที่เลือกอย่างหลัง เขาเช็คข้อมูลด้วยตนเอง ตัดสินใจจากข้อมูล และยอมโดนคนอื่นหัวเราะเยาะ เพราะคิดอะไรแปลกๆ ไม่เหมือนชาวบ้าน และสุดท้ายพวกเขาก็รอดตาย และได้รางวัลสมกับที่พวกเขายอมแลกมันมาด้วยการค้นหาความจริงและทำสิ่งที่คนรอบข้างไม่เห็นด้วย
Market Commentary End of 2015
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=8rw9cwr6TNE]
พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่
สมัยผมยังเด็ก ผมสังเกตว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคไม่เหมือนกับตอนนี้พอสมควรเลย
โดยภาพรวม ผู้บริโภคยุคก่อนค่อนข้างประหยัด (พูดหยาบๆ ว่า งงกว่า)สมัยนี้มาก ไม่ค่อยกล้าใช้ของเหมือนสมัยนี้ ไปห้างไม่ซื้อของ ห้างมีไว้ตากแอร์ ดูของจนพอใจ แล้ววิ่งไปซื้อจริงตามย่านตึกแถวอีกรอบ เพื่อให้ได้ราคาต่ำสุด
พอซื้อของมาแล้วก็ใช้จนคุ้ม เสื่อมสภาพแล้วก็ทนใช้อยู่อย่างนั้น ถ้าเสียก็เลือกจะซ่อมมากกว่าซื้อใหม่ ทีวีนี่ตบแล้วตบอีกให้ภาพกลับมาใหม่ ใช้จนกว่าจะตบไม่ได้แล้ว อายุใช้งานว่ากันเป็น 15-20 ปี Continue reading “พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่”
ส่ิงที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้หรือรู้ผิด
ปกติคนเรามักแบ่งความรู้หรือข้อมูลออกเป็นแค่สองแบบ คือ ข้อมูลหรือความรู้ที่เรารู้ และ ข้อมูลหรือความรู้ที่เรายังไม่รู้
และเราก็จัดการกับเรื่องที่เรายังไม่รู้ได้ด้วยการไปหาความรู้นั้นๆ มา ให้เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ที่จริงยังมีความรู้อีกแบบหนึ่งที่เราละเลย หรือมองไม่เห็น และมักเป็นอันตรายมากกว่า นั่นคือ ข้อมูลหรือความรู้ที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เราไม่รู้ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เรารู้ผิดๆ เพราะเราจะนิ่งเฉยต่อความรู้ในส่วนนี้ เนื่องจากไม่รู้หรือตระหนักว่ามันเป็นปัญหา ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เราล้มเหลวซ้ำซาก เพราะพยายามแก้ไขปัญหาภายใต้กรอบความรู้เดิมๆ เพราะคิดว่านั่นคือทั้งหมดแล้ว Continue reading “ส่ิงที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้หรือรู้ผิด”
กลยุทธ์หุ้นกับตลาดทุนในยุคนี้
ตลาดทุนยุคนี้ ไม่ถือว่าธรรมดา เพราะธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบผิดปกติ (Unconventional) อย่างต่อเนื่องยาวนาน และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงเป็นเรื่องยากที่ใครจะอาศัยประสบการณ์ในการคาดเดาตลาด (ก็ทุกคนยังไม่เคยเจอมาก่อน) บางทีก็รู้สึกแปลกใจที่บางคนฟันธงได้ว่า ต่อไปจะเกิดแบบนั้นแบบนี้ เพราะแม้แต่เฟดเองซึ่งมีทรัพยากรในการเข้าถึงข้อมูลมากมาย ก็ยังต้องจับตาดูเศรษฐกิจแบบใกล้ชิด ก่อนที่จะตัดสินใจไปทีละขั้น
นโยบายดอกเบี้ยต่ำผิดปกตินี้ ยังส่งผลต่อตลาดทุน ในแบบที่ไม่ได้อยู่ในตำราการเงินการลงทุน เพราะทำให้ราคาหุ้นในตลาดทุนอยู่ในระดับสูง แทบจะตลอดเวลา เคยมีการวิจัยว่า ดัชนี S&P500 ในช่วงเวลาสิบกว่าปี ตั้งแต่ยุคของกรีนสแปน มีช่วงเวลาที่มันมีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน ซึ่งคำนวณด้วยทฤษฏีทางการเงิน เป็นช่วงสั้นๆ แค่ไม่เกินสามเดือนเท่านั้น นอกนั้นมันแพงกว่า Fair Value ของมันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หลักการลงทุนที่เคยสอนกันมาในอดีต ก็ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ในยุคนี้ เพราะเท่ากับว่า นักลงทุนจะลงทุนในหุ้นอะไรก็แทบไม่ได้เลย เพราะโอกาสที่จะซื้อหุ้นได้ในรอบสิบกว่าปี มีเพียงไม่เกินสามเดือนเท่านั้น เป็นต้น
ภาวะที่ตลาดสินทรัพย์เป็นฟองสบู่ เพราะนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายสุดขีดนี้ นอกจากจะทำให้หุ้นแพงถาวรแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่ฟองสบู่จะแตกได้บ่อยขึ้น เพราะ
เร่งให้เกิดการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวม ก่อให้เกิดการเอาสินเชื่อมาเก็งกำไรสินทรัพย์ รวมทั้งยังทำให้เกิดภาวะอุปทานล้น เพราะสินเชื่อถูกนำมาขยายกำลังการผลิตที่มากเกินไป เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนที่ต้องแลกมากับการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ Continue reading “กลยุทธ์หุ้นกับตลาดทุนในยุคนี้”
วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO)
ลักษณะธุรกิจของ OTO ดูน่าสนใจ เพราะทุกวันนี้บริการหลังการขายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการทำธุรกิจ และการ outsource คอลเซ็นเตอร์ ก็ช่วยประหยัดต้นทุน ตลอดจนทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถมี Call Center ให้ลูกค้าได้ โดยไม่ต้องลงทุนสูงนัก
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี แสดงให้เห็นถึงการที่ตลาดยังอยู่ใน growth phase และก็น่าจะยัง เป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ในอนาคตด้วย และปัจจุบัน OTO ก็สร้าง Top-line growth ได้สูงกว่าอุตสาหกรรม ซี่งเป็นสัญญาญที่ดีในแง่ของส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างการประหยัดต่อขนาดและข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน Continue reading “วันทูวัน คอนแทคส์ (OTO)”
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG)
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) เป็นเครือข่ายสถานพยาบาล 13 แห่ง เน้นเติบโตตามการขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมฝั่งตะวันออก ตั้งแต่สมุทรปราการไปจนจรดปราจีนบุรี มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ จุฬารัตน์ 3, 9, 11
จุดเด่นของหุ้นตัวนี้น่าจะเป็น แผนการเติบโตที่ต่อเนื่อง ทั้งแผนขยายรพ.เดิม และเพิ่มสาขาใหม่ จนถึงต้นปี 2017 เป็นอย่างน้อย ซึ่งปัจจุบันแม้ลูกค้าจะเติบโตต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดในการขยายตึก ทำให้ต้องปิดส่วนให้บริการไปบางส่วน เพื่อก่อสร้างส่วนขยาย การให้บริการในปัจจุบันจึงไม่เต็มที่ แต่เมื่อส่วนขยายทั้งหมดแล้วเสร็จ บริษัทก็จะมีศักยภาพในการให้บริการเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 40% จากปัจจุบัน
ปัจจุบันอัตราการใช้บริการรวม (ทุกสาขา) ยังไม่เต็ม คืออยู่ที่ 70% ขึ้นไป แต่จำนวนคนไข้เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อย 17% ตามเทรนด์สังคมสูงอายุ โดย CHG มีลูกค้าประกันสังคมราว 40% ของั้งหมด และรพ.ขนาดใหญ่สามแห่ง จัดว่าเป็นรพ.ระดับทุติยภูมิ ที่ให้บริการให้ค่อนข้างครบครัน
บริษัทมีฐานะการเงินที่ค่อนข้างแข็งแรง มีหนี้ต่ำมาก รายได้เติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 15% อัตราทำกำไรอยู่ในระดับสูงถึง 19% ( ณ ไตรมาสล่าสุด) กระแสเงินสดเป็นไปในทางเดียวกันกับกำไร นับได้ว่าเป็นบริษัทที่มีพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่า ไม่ควรให้มูลค่าธุรกิจกับ CHG ในระดับเดียวกับเครือรพ.ใหญ่ๆ ในตลาดหุ้น เพราะฐานลูกค้ามีกำลังซื้อต่างกัน และศักยภาพของบริษัทในการก้าวสู่ระดับสากลนั้นไม่เท่ากัน บริษัทสร้างเครือข่ายด้วยตนเองจากการขยายสาขาเพิ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและการประหยัดต่อขนาด ซึ่งทำได้ช้าและจำกัดกว่าวิธีซื้อกิจการ ตลอดจนการเปิดรพ.ใหม่ เงินจะจมนานกว่า เพราะต้องใช้เวลาในการสร้างชื่อเสียงนาน และเสี่ยงมากกว่าด้วย เว้นเสียแต่นักลงทุนจะมองบริษัทว่าเป็นเป้าหมายของการถูกควบรวมในอนาคต (ซึ่งนั้นเป็นเรื่องของการ Speculative ล้วนๆ หากไม่เกิดขึ้นก็เป็นความเสี่ยง)
สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA)
สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA) ให้บริการสปาและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ มีสาขากระจายอยู่ตามทำเลนักท่องเที่ยว หรือย่านใจกลางเมืองกทม. ภายใต้แบรนด์ Let’s Relax และ Rarinjinda Continue reading “สยามเวลเนสกรุ๊ป (SPA)”
บมจ. เอ็กโซติค ฟู้ด (XO)
XO ส่งออกน้ำจิ้มและเครื่องแกงสำเร็จรูปเป็นหลัก ตลาดหลักคือตลาดยุโรป (70%)
หลายปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกน้ำจิ้มและเครื่องแกงสำเร็จรูป มีการเติบโตที่สูง และยังสูงอยู่แม้ว่าส่งออกไทยจะตกลง หรือเงินยูโรจะอ่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดนี้มีโมเมนตัมที่ค่อนข้างดีทีเดียว Continue reading “บมจ. เอ็กโซติค ฟู้ด (XO)”