Market Commentary Aug 2021

เผลอแป๊บเดียวก็ใกล้เวลาที่จะต้องกลับมาสรุปผลงานของพอร์ต 7LTG ประจำปีกันอีกแล้ว วันที่ 25 กันยายนนี้ ก็จะครบปีที่ 12 ของการลงทุน

ต้องยอมรับว่า หลายปีที่ผ่านมา ผมมีมุมมองเกี่ยวกับตลาดหุ้นไทยที่เปลี่ยนแปลงไปมากเลยทีเดียว Outlook ของประเทศไทยในเวลานี้มันดูแตกต่างจากวันแรกที่ก่อตั้งพอร์ตนี้ขึ้นมาเมื่อ 12 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก ตอนนั้นทุกอย่างดูดีมาก และก็เป็นเช่นนั้นต่อมาอีกห้าปี หลังจากนั้นมันก็เริ่มดูแย่ลง ผมบอกตัวเองว่าจะให้เวลามันอีกห้าปี เพื่อว่ามันจะกลับมาน่าสนใจขึ้น  พอเข้าปีที่ 10 ก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น มุมมองของผมยิ่งแย่ลงกว่าเดิมอีก ทุกวันนี้ผมแทบไม่เห็นเหตุผลเลยว่าทำไมไทยถึงเป็นประเทศที่น่าลงทุน

ผมมองว่าปัญหาหลักของประเทศไทยตอนนี้คือ เรายังอยู่ในเศรษฐกิจแบบ old economy ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนเร็วมาก โลก Digital จะค่อยๆ กินโลกเก่าไปเรื่อยๆ มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาแก้นาน แต่ที่สำคัญ ผมมองไม่เห็นความกะตือรือร้อนใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง คนไทยเราเหมือนมีความภาคภูมิใจในตัวเองบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่า เราไม่ได้มีปัญหาอะไร

ทุกวันนี้ในพอร์ตหลักของผมยังมีหุ้นไทยอยู่ แต่ไม่คิดจะลงทุนเพิ่มแล้ว และมีแผนจะทยอยขายออกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ทุกวันนี้ผมเลิกสนใจหุ้น old economy แล้ว ดังนั้นจึงแทบไม่เหลือหุ้นไทยให้ผมสนใจ ถ้าหากจะต้องลงทุนจริงๆ ก็อาจจะเป็นหุ้นโรงพยาบาล สนามบิน ร้านอาหาร พลังงานทางเลือก เหลืออยู่แค่นี้ แต่ก็ไม่ได้ชอบหุ้นพวกนี้มาก แค่ neutral เฉยๆ ทุกวันนี้ผมได้เปลี่ยนการทุ่มเททรัพยากรไปให้กับการลงทุนต่างประเทศหมดแล้ว

ส่วนพอร์ตนี้จะยังลงทุนต่อไปก็เพียงเพราะต้องการทำตามความตั้งใจที่ได้ทำไว้ตั้งแต่แรกเท่านั้นเอง แต่ไม่ได้มีความเชื่อเหมือนแต่ก่อนแล้ว อีกประการหนึ่ง แม้ว่าอยากขาย แต่ช่วงเวลานี้ก็อาจจะไม่ใช่เวลาที่ดีที่จะขาย เพราะโควิดยังไม่จบ เลยต้องถือต่อไปก่อน ถึงแม้จะมองไม่ดี แต่ก็ไม่ถึงกับจำเป็นจะต้องรีบขายทันที เพราะมองว่าเป็นความไม่ดีแบบต้มกบมากกว่า อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลจริงๆ จึงอาจจะสุดโต่งไปหน่อย แต่ก็เป็นการพูดแบบตรงไปตรงมา ว่าไปตามเนื้อผ้า ต้องขออภัยทุกท่านด้วย และโปรดใช้วิจารญาณในการอ่าน

(ป.ล. สำหรับการปรับพอร์ตประจำปีที่จะถึงในวันที่ 25 กันยายนนี้ กำลังพิจารณาอยู่ โดยเบื้องต้นมองอยู่สองแนวทาง หนึ่งคือ ยังไม่มีปรับเปลี่ยนอะไร หรือ สอง อาจจะมีการทยอยขายออกปีละหนึ่งตัว โดยน่าจะเริ่มจากตัวที่ไม่ได้อยู่ใน buy list แล้ว แต่ยังค้างอยู่ในพอร์ตก่อน ยังไม่ได้ฟังธงว่าจะเป็นแนวทางไหน ขอเวลาตัดสินใจอีกสักสองสัปดาห์ แต่ที่แน่ๆ น่าจะมีการขายวอร์แรนต์ของ MINT ออกไป เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพอร์ตนี้ที่จะขายวอร์แรนต์ที่ได้มาทิ้งเสมอ ส่วนรายชื่อหุ้นที่จะซื้อเพิ่มในพอร์ตคิดว่าน่าจะยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในปีนี้ รอยืนยันอีกที ส่วนสถานะของพอร์ตจะโพสต์ให้ดูอีกครั้งหลังวันที่ 25 กันยาเหมือนเช่นเคย)

Sector Commentary 1Q18

รู้สึกเหมือนผมมั้ยครับว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำหนดกลยุทธ์การใช้ชีวิตหรือการลงทุนยากที่สุดช่วงหนึ่ง มีความรู้สึกเหมือนว่า เรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอะไรสักอย่าง ทั้งในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง คล้ายกับว่าหลังจากนี้ทุกอย่างจะพลิกโฉมไปมากพอสมควร แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง เพราะปัจจัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงมันเยอะจริงๆ Continue reading “Sector Commentary 1Q18”

Market Commentary 4Q17

เรากำลังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้นของดอกเบี้ยโลก ปีหน้าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่ในความเป็นจริง ตลาดกลับไม่ได้ Continue reading “Market Commentary 4Q17”

Market Outlook – Farewell 2016

จะจบปีอีกแล้ว ได้เวลาหันออกมามองสถานการณ์ตลาดทุนประจำปีกัน

แม้ว่าปีที่ผ่านหุ้นจะผันผวนรุนแรง แต่ SET index น่าจะจบปีนี้ด้วยผลตอบแทนที่เป็นบวกได้ไม่ยาก ถ้าปีนี้ใครเล่นหุ้นแล้วไม่ได้ตังค์ ก็น่าคิดเหมือนกันว่า ทำไมเราถึงเล่นหุ้นสู้ดัชนีซึ่งแค่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรเลยยังไม่ได้ หรือว่าจริงๆ แล้วเราเหมาะกับ Passive Investing มากกว่าหรือไม่อย่างไร?

screen-shot-2559-11-26-at-10-29-49-am

ในแง่กำไรของบริษัทจดทะเบียน แม้ภาพเศรษฐกิจจะดูไม่ดี แต่ดูตัวอย่างจากไตรมาส 2/59 บริษัทจดทะเบียนโดยรวมก็ยังสามารถทำกำไรสุทธิให้เพิ่มขึ้นได้ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นโดยที่รายได้ไม่ได้เพิ่ม ซึ่งก็เท่ากับว่าบริษัทจดทะเบียนใช้วิธีการลดต้นทุน เพื่อให้ยังทำกำไรมากขึ้นได้ แต่ตัวธุรกิจไม่ได้เติบโตขึ้น

ถ้าดูจากเศรษฐกิจจริง ตัวเลขจีดีพีไตรมาสล่าสุดโตได้เกิน 3% ซึ่งก็ถือว่าสูง โดยมาตรฐานของทฤษฏี New Normal (ที่บอกว่า ไทยเรากำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง จีดีพีจะลดการเติบโตลงเหลือแค่ปีละ 3% ถ้าไม่หาทางแก้ไข) ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายของภาครัฐคือเครื่องยนต์ตัวเดียวที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ เพราะรัฐใช้จ่ายและลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราที่สูงกว่าจีดีพีรวมเป็นอย่างมาก ช่วงนี้ถือว่าการใช้จ่ายของเอกชนเริ่มกลับมาดูปกติแล้ว (อันนี้ก็ยังแปลกใจอยู่เหมือนกัน เพราะโดยความรู้สึกเหมือนทุกคนจะไม่อยากใช้จ่าย ไม่ทราบว่าเป็นเพราะมาตรการกระตุ้นของรัฐเองด้วยรึเปล่าที่ทำให้การใช้จ่ายของเอกชนดูปกติดี) แต่สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่คือ การลงทุนของภาคเอกชน ไตรมาสล่าสุดยัง -0.3% ส่วนการส่งออกนั้น แม้ว่าจะไม่ดีเช่นกัน แต่การนำเข้าแย่กว่า เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศไม่ดี ทำให้การส่งออกสุทธิเป็นบวกได้

ถ้าดูจากดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกันยา พบว่า +0.6% ทำให้น่าจะมองได้ว่า เศรษฐกิจน่าจะยังอยู่ในโหมดขยายตัวได้ แต่เป็นตัวเลขที่น้อยมากๆ (ก็ยังดี อย่างน้อยก็ยังบวก) โดยรวมแล้ว ในแง่ของการเป็นนักลงทุน ภาวะเศรษฐกิจไทยภาคจริงในเวลานี้ผมชอบนะ เพราะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอยู่ แต่ขยายตัวอย่างเปราะบางมาก ไม่น่าจะมีฟองสบู่เกิดขึ้นง่ายๆ แถมยังพร้อมจะดีขึ้นได้อีก (มีอัพไซด์มาก) กลับเป็นภาพที่ดูน่าลงทุนมากกว่าเวลาที่เศรษฐกิจที่เฟื้องฟูมากๆ ซึ่งเสี่ยงวิกฤตได้มากกว่า และอัพไซด์ก็อาจจะน้อยกว่าด้วย ถ้าหากเราจะตั้งความหวังว่าปีหน้า บริษัทจดทะเบียนจะทำกำไรเพิ่มได้อีกสัก 10% ก็ดูไม่เหมือนการตั้งความหวังที่ดูเว่อเกินไปเลย  

ในแง่ Valuation ตอนนี้พีอีตลาดอยู่แถวๆ 17 เท่า ซึ่งในเศรษฐกิจแบบปกติอาจถือว่าสูง แต่ในยุคดอกเบี้ยต่ำยาว พีอี 17 เท่าถือว่า ไม่ถูกไม่แพง กำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ยังเพิ่มได้อยู่ ฉะนั้น ในแง่ Valuation ก็ไม่ได้เลวร้ายเช่นกัน

ปัจจัยที่ดูจะเป็นลบ จะเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกเป็นหลัก ประการแรกก็คือ เฟดอยู่ในยุคดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลยกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั้งหมด ปลายปีนี้ตลาดเชื่อหมดแล้วว่าเฟดขึ้นดอกเบี้ยหนึ่งครั้งแน่นอน ตรงนี้คงไม่มีผลอะไร แต่สิ่งที่ตลาดอยากรู้คือหลังจากปลายปีนี้ ดอกเบี้ยจะขึ้นต่อเร็วหรือช้าแค่ไหน ซึ่ง ณ เวลานี้ ยังตอบได้ยากอยู่ ปัจจัยที่ไม่แน่นอนมีเยอะมาก ยังไม่รู้ว่าปีหน้า เศรษฐกิจสหรัฐปีหน้าจะฟื้นเร็วหรือฟื้นช้า ทรัมป์อยากขึ้นดอกเบี้ยให้เร็วขึ้น แต่ก็ไม่รู้ว่าแค่พูดหาเสียงแล้วทำไม่ได้จริงหรือเปล่า ที่จริงปี 2559 เฟดก็ขึ้นดอกเบี้ย แต่เหตุการณ์กลับเป็นว่า ต่างชาติกลับเป็นผู้ซื้อสุทธิหลัก เพราะดอกเบี้ยขึ้นแต่ขึ้นช้ากว่าที่เฟดพูดไว้มาก ทำให้เงินไหลย้อนกลับมาเล่นตลาดหุ้นเกิดใหม่กันต่อ ปัจจัยนี้จึงเป็นปัจจัยที่ต้องค่อยๆ ติดตามพัฒนาการไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนความคิดไปด้วย เพราะถ้าดอกเบี้ยเฟดขึ้นเร็ว ก็ต้องมีผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยไม่มากก็น้อย แต่ถ้ากำไรบจ.ยังเพิ่มขึ้นได้ ก็อาจจะช่วยลดผลกระทบได้ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นเร็ว แถมกำไรยังลด อันนี้ก็ … (แต่ผมก็คิดว่า โอกาสที่จะเกิด scenario นี้ ไม่ได้มากนัก)

ปัจจัยอื่นที่เป็นเชิงลบก็คือ ปัญหาหนี้เสียในจีน ซึ่งดูรุนแรงมาก และเป็นเรื่องที่พูดกันมานานเป็นสิบปีแล้ว แต่ที่ผ่านมา จีนก็ยังเข้าไปอุ้มแล้วอุ้มอีก ทำให้ไม่จบสักที กลายเป็นแผลที่พร้อมจะปะทุออกมาได้ตลอดเวลา แต่ครั้นจะกลัวประเด็นนี้มากจนล้างพอร์ตหนี ก็ดูเกินกว่าเหตุ ที่ผ่านมาใครกลัวตรงนี้ไม่ยอมลงทุน ก็อาจไม่ได้ลงทุนอะไรเลยมาเป็นสิบปีแล้ว ปัญหาของการล้างพอร์ตเพื่อหนีวิกฤตก็คือ เราไม่เคยรู้ว่าวิกฤตจะระเบิดเมื่อไร บางทีก็อาจใช้เวลา 20 ปีกว่าจะระเบิดจริง เวลาที่หายไป ไม่ได้ลงทุน อาจเป็นต้นทุนที่หนักกว่าเสียอีก  

ปัจจัยลบอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ก็คงเป็น แผ่นดินไหว ก่อการร้าย โรคระบาด ซึ่งโลกยุคนี้ดูเหมือนเราจะต้องอยู่กับมันไปตลอดแล้ว เอาเข้าจริงๆ ปัจจัยพวกนี้ไม่ได้น่ากลัวเลย ตลาดหุ้นอาจจะตกแรง แต่มักจะกลับมาได้เร็วมากในอีกหนึ่งเดือนต่อมา เหมือนไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้น มันเริ่มจะชาชินกับข่าวทำนองนี้ไปหมดแล้ว

สรุปแล้ว ผมมองว่าตลาดหุ้นช่วงนี้อยู่ในสภาวะไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ ถ้าเป็นกลางๆ สำหรับผมก็คือต้องลงทุนต่อไป เพราะในระยะยาว หุ้นคือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงเรา คนเราจึงควร bias ข้างลงทุนหน่อยๆ เอาไว้เสมอ 

 

ปัญหาใหญ่ของจีน

จีนมีหนี้มากมายที่ไม่ได้อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ และไม่ได้เปิดเผย แต่มีคนประมาณจาก return on credit แล้ว เชื่อว่า น่าจะมี NPL นอกระบบอยู่มากถึง 22% ซึ่งเป็นระดับที่สถาบันการเงินอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่เพิ่มทุนมหาศาล ถ้าเรื่องนี้เป็นจริง ไม่รู้เหมือนกันว่า ทางการจีนจะช่วยอุ้มสถาบันการเงินต่อไปได้อีกนานแค่ไหน

(ที่มา : China’s debt avalanche is the biggest worry )

ตอนนี้จีนมีหนี้รวมทั้งหมดมากถึง 236% ของ GDP ส่วนใหญ่เป็นหนี้บริษัท และหนี้ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเศรษฐกิจจีนโตน้อยลงก็อาจส่งผลกระทบได้

รอเศรษฐกิจฟื้น

ช่วงนี้หุ้นไทยย่อลงมา และยังกลับไปที่จุดเดิมไม่ได้ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างอึมครึมพอสมควร

อันที่จริง ก่อนที่ดัชนีจะย่อลงมา ทุกคนก็ทราบดีว่า พีอี ตลาดไม่ได้ต่ำเลย และเศรษฐกิจไทยก็ดูไม่ดีนัก ภาวะแบบนี้ไม่ต้องมีไอคิวสูงก็รู้ว่าไม่น่าลงทุน แต่เหตุที่ทำให้ไม่มีใครสนใจ เป็นเพราะราคาหุ้นไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นไปตลอด ทิศทางของราคาหุ้นมีผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนสูงกว่าเรื่องปัจจัยพื้นฐานเสมอ ครั้งนี้จึงไม่ได้มีอะไรต่างจากดอยทุกครั้งที่ผ่านมา มันเป็นพฤติกรรมที่ hard-wired อยู่ในสมองของนักลงทุน จึงเปลี่ยนไม่ได้ Continue reading “รอเศรษฐกิจฟื้น”

Stock Commentary April 2015 (Youtube Edition)

คุยกันทั่วไปเกี่ยวกับมุมมองการลงทุนในช่วงนี้

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=ZKAm1lA1iU0]

https://youtube.com/watch?v=ZKAm1lA1iU0