ในทางทฤษฏีแล้ว เวลาบริษัทประกาศข่าวเพิ่มทุน ราคาหุ้นควรจะลงมากกว่าขึ้น เหตุเพราะ ประการแรก การเพิ่มทุนก่อให้เกิด Continue reading “การเพิ่มทุน กับ การเคลื่อนไหวของ ราคาหุ้นในกระดาน”
Joseph Piotroski’s High Book-Market Strategy
Piotroski เป็นกูรูหุ้นที่ลงทุนในแนว Value Investment แบบหนึ่ง กล่าวคือ เขาใช้ P/BV เป็นเกณฑ์คัดเลือกหุ้นหลัก และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นแนวที่อยู่ตรงข้ามกับ Zweig เลยก็ได้ เพราะเขากรองหุ้นด้วยอัตราส่วนการเงินเหมือนกัน แต่เน้นหุ้น Value แทนที่จะเป็น Growth
Continue reading “Joseph Piotroski’s High Book-Market Strategy”
Martin Zweig’ Conservative Growth
Martin Zweig เป็นนักการเงินที่ค่อนข้างร่ำรวย เขาใช้ชีวิตแบบหรูหรา ฟู่ฟ่า ในคฤหาสน์ส่วนตัวใจกลางแมนฮัตตัน และเพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยวัย 70 ปี
Zweig ลงทุนในแนว Conservative Growth Continue reading “Martin Zweig’ Conservative Growth”
Bogleheads Investment Philosophy
John C.Bogle ได้ชื่อว่าเป็น เจ้าพ่อ Index Funds เพราะเขาเป็นผู้ก่อตั้ง Vanguard Group ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนใน Index Funds ก่อนใคร และสร้างผลตอบแทนได้ดีมาก จนทำให้ Index Funds กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินยอดนิยม และต่อยอดมาเป็น ETF ในปัจจุบันด้วย
Debt Cycle
ตลาดหุ้นโดยรวมนั้นอาจจะผันผวนไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเราอาจจะมองว่าขึ้นอยู่กับความผันผวนของกำลังซื้อ ยอดส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐ ฯลฯ แต่ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อวัฏจักรเศรษฐกิจไม่น้อยเลย หรืออาจจะมากกว่าปัจจัยที่กล่าวมาเสียด้วยซ้ำ นั่นคือ Continue reading “Debt Cycle”
Dekisugi.net Android App
สมาชิกท่านใดที่ใช้แท็บเล็ตหรือมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android สามารถดาวน์โหลด Dekisugi.net App ได้ฟรีทาง Play Store แล้ววันนี้ โดยพิมพ์คำค้นหาว่า “Dekisugi.net”
** สำคัญ ** ในการอ่านบทความผ่าน App โปรดเลือกเมนูที่มุมขวาบนของจอ เพื่อทำการ Log in ก่อน โดยใช้ username และ password เดียวกันกับที่อ่านบทเว็บ
Dekisugi.net Android App ใช้งานได้ฟรีสำหรับท่านที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว โดยมีเนื้อหาเดียวกัน แต่เพิ่มช่องทางในการใช้งานให้มากขึ้น และมีไว้เป็นทางเลือกสำหรับบางท่านที่อาจประสบปัญหาการ Login ด้วยเบราเซอร์ เผื่อว่าเป็นคนที่ใช้ Android อยู่ด้วย จะได้มีช่องทางในการอ่านเพิ่มขึ้น ส่วนเวอร์ชั่น iOS จะตามมาในอีกสองเดือนข้างหน้า (ถ้ามี)
ฟันด์โฟลว์
ประเทศที่เลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั้น มีข้อดีคือช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะฟองสบู่แตกในระยะยาว อันเนื่องมาจากการตรึงค่าเงินไว้ในระดับที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่ข้อเสียของระบบนี้ก็คือ Continue reading “ฟันด์โฟลว์”
Fair Value ของ SET
เปิดปีใหม่มานี้ หุ้นลงแรงจริงๆ นะครับ จะว่าไป SET ก็เป็นขาลงติดต่อกันมาหลายเดือนนานแล้ว มาลองดูกันหน่อยว่า Fair Value ของ SET และหุ้นบางตัว ในเวลานี้ ควรจะเป็นเท่าไรดีถึงจะเหมาะสม Continue reading “Fair Value ของ SET”
0405: การออมเพื่อเกษียณต้องออมในหุ้นด้วยเสมอ
แนวคิดออมเงินเพื่อให้เกษียณได้อย่างสุขสบาย สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ได้เกิดคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิดนั้น ดูเหมือนจะต้องออมโดยมีเงินออมส่วนหนึ่งอยู่ในตลาดหุ้นด้วยเท่าน้ัน มิฉะนั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ผมจะลองคำนวณให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ
ผมจะลองสมมติตัวอย่างของ Typical Person คนหนึ่ง ที่จบปริญญาตรี แล้วก็ทำงานในองค์กรเอกชนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 22 ยัน 60 ปี และตำแหน่งสุดท้ายในองค์กรคือ mid-level manager นะครับ
เรื่องนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมมติฐานว่าต้องพยายามทำให้ realistic ที่สุด เริ่มต้นด้วยเงินเดือน Start ซึ่งผมตั้งไว้ที่ 10, 000 บาท ซึ่งน่าจะพอเป็นไปได้สำหรับ คนจบปริญญาตรี เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 และเกษียณเมื่ออายุ 60 ก็แสดงว่า Mr.Typical มีเวลาออมเงิน 38 ปีนะครับ
สมมติฐานต่อมาที่ยากคือ อัตราการขึ้นเงินเดือนตลอดช่วงวัยทำงาน ในช่วงชีวิตของคนเรามักขึ้นเงินเดือนเป็นขั้นๆ ไม่ใช่อัตราที่คงที่ทุกปี เช่นปีไหนในขีวิตที่ได้เลื่อนตำแหน่ง ก็อาจจะได้ขึ้นเยอะหน่อย แต่ปีอื่นๆ ก็คงขึ้นแบบทีละนิด ทำให้การใส่สมมติฐานค่อนข้างยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม ผมเลือกใช้วิธีใส่อัตราการขึ้นเงินเดือนแบบคงที่ที่ 6% ต่อปีดู แล้วเช็คดูว่า เงินเดือนสุดท้ายตอนที่เกษียณจะเป็นเท่าไร สมเหตุผลรึเปล่า ปรากฏว่า ตอน 60 Mr.Typical จะได้เงินเดือนประมาณ 91, 500 บาท ซึ่งก็ถือว่าสมเหตุผลสำหรับผู้จัดการ เมื่อผมลอง cross check ดูจากพวกแบบสำรวจเงินเดือนนะครับ
ตำราการเงินมักแนะนำว่า คนเราควรออมเงินหนึ่งในสามของรายได้ทุกเดือน ดังนั้น Mr.Typical ของเราก็จะกันเงินเดือนไว้ 1 ใน 3 ของทุกปีตลอดชีวิตเพื่อการออมเพื่อวัยเกษียณ ตามคำแนะนำทางการเงินเปี๊ยบ
ทีนี้ลองมาตั้งเป้าหมายสุดท้ายดูว่า เขาควรมีเงินเก็บเท่าไรเมื่อถึงปีเกษียณ ตามตำราเขาบอกว่า คนเราควรมี passive income เท่ากับ 50% ของเงินเดือนสุดท้าย นั่นก็คือประมาณ 45, 750 บาท จึงจะเกษียณได้อย่างมั่นคง ถ้าเช่นนั้น สมมติว่าเมื่อ Mr.Typical อายุครบ 60 เขาจะย้ายเงินออมทั้งหมดที่ได้ของเขา (ไม่ว่าเขาจะออมไว้ที่ไหนมาก่อน) เข้าพันธบัตรรัฐบาลให้หมด เพื่อความมั่นคงสูงสุด ในวัยที่ทำงานหนักไม่ไหวแล้ว แล้วก็รอรับดอกเบี้ยจากพันธบัตรให้ได้เท่ากับ 45, 750 บาทต่อเดือน พอดี
เป้าหมายนี้จะต้องมีการกำหนดสมมติฐานเรื่องอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรด้วย ซึ่งการคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในเวลานั้นคงเป็นเรื่องยากเกินคาดการณ์ แต่คิดว่าร้อยละ 3% ต่อปี น่าจะสมเหตุผมและอนุรักษ์มากพอ ลองคำนวณกลับเข้าไปจะได้ว่า เมื่ออายุ 60 ปี Mr.Typical จะต้องมีเงินออมประมาณ 18.3 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อพันธบัตร เขาจึงจะมี passive income 45750 บาทต่อเดือน ตามเป้าหมายที่ต้องการนี้ได้
ได้สมมติฐานทุกอย่างมาครบแล้ว ลองใช้ Excel คำนวณดูโดยใช้สูตร IRR จะพบว่า ในการออมเงิน 38 ปี ตามแผนนั้น Mr.Typical จะต้องทำผลตอบแทนของเงินออมเฉลี่ยให้ได้ 7.5% ต่อปี ถึงจะบรรลุเป้าหมายการเงินได้
ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ย 7.5% ต่อปีนี้ นับว่าไม่มีทางเป็นไปได้เลยสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะฉะนั้น แนวคิดเรื่องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการออมเงินส่วนหนึ่งไว้ในตลาดหุ้นด้วยเท่านั้น ถือเป็น a must สำหรับ typical person ทุกคนเลยครับ อาจไม่จำเป็นต้องออมไว้ในหุ้นทั้งหมด แต่อย่างน้อยจะต้องมีส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อให้เฉลี่ยผลตอบแทนของทั้งพอร์ตแล้วได้ 7.5% ต่อปี ตามเป้าหมาย
โปรดสังเกตว่า เวลาทดสอบสมมติฐาน ผมไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อเลย ซึ่งทำได้ครับ เพราะเป้าหมายที่เรากำหนดก็มองเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันด้วยเหมือนกัน (ได้ดอกเบี้ยเดือนละ 4 หมื่นกว่าบาทน่าจะพอใช้สำหรับมูลค่าเงินสมัยนี้) ในการวางแผนการออมจึงใช้เป็นค่าเงินปัจจุบันด้วยนะครับ ไม่ผิดครับ
ส่วนใครบังเอิญเริ่มต้นออมช้าหรือฐานเงินเดือนต่ำกว่า Mr.Typical ก็คงต้องเพิ่มสัดส่วนการออมต่อเดือนให้มากหน่อย ถ้าใครจะลอง plug-in สมมติฐานใหม่ให้ตรงกับของกรณีของตัวเองดู ก็ลองดาวน์โหลดไฟล์ Excel ของผมไปดูได้นะครับ
0437: 7thLTG Extended Version
7thLTG ช่วยให้นักลงทุนได้หุ้นดีๆ ที่ต้นทุนระดับเฉลี่ยเสมอ Continue reading “0437: 7thLTG Extended Version”