BGH

BGH เป็นหุ้นเติบโต ที่อาศัย M&A เป็นกลยุทธ์เติบโตที่สำคัญ และในเวลาเดียวกัน ตัวธุรกิจโรงพยาบาลเองก็เป็นธุรกิจที่มี organic growth ที่ดีอยู่แล้ว เนื่องจากเมกกะเทรนด์ผู้สูงอายุ ทำให้มันเข้านิยาม 7thLTG ของเราได้ไม่ยากนัก Continue reading “BGH”

CPALL revisited

ไตรมาส 1/57  CPALL สามารถรักษารายได้รวม (นับรวม MAKRO)  ให้เพิ่มขึ้นได้ราว 3% ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแย่ ซึ่งเฉพาะ CPALL เองนั้น มี Same-store Sales Growth (sss growth) ที่ติดลบ 1% แต่จริงๆ แล้วก็ยังเป็นบวกอยู่เล็กน้อย แต่ติดลบเนื่องจากมีการเปลี่ยนวิธีบันทึกรายได้ยอดขายบัตรเติมเงินใหม่ (เปลี่ยนจากบันทึกเป็นรายได้ กลายเป็นบันทึกเฉพาะค่าต๋ง) และการขยายสาขาจำนวนมากถึง 222 สาขาในไตรมาสเดียว ตลอดจน MAKRO ที่มี sss growth เป็นบวกค่อนข้างมากมา  ซึ่งในแง่นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้ตัดสินใจซื้อ MAKRO ไปด้วย สรุปแล้ว ในแง่ top line ไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วงนัก ถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวก็น่าจะกลับมาได้เหมือนเดิม 

ตัว CPALL เองนั้น ยังมี gross margin ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จากสินค้าไพรเวทแบรนด์ที่มีสัดส่วนในร้านเพิ่มขึ้น และสินค้ากลุ่มอาหารที่สร้างกำไรดีต่อเนื่อง แต่การที่มีตัวเลขกำไรสุทธิลดลงอย่างมากนั้น (-15%) ก็มาจากภาระหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินมาซื้อ MAKRO เป็นเหตุผลสำคัญ หากตัดภาระดอกเบี้ยออกไป CPALL อย่างเดียวก็ยังมี EBIT ลดลง (-7%) เนื่องจากต้องมีการตัดค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการด้วย

ในเมื่อ MAKRO ที่ซื้อมามีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีและดีขึ้น ความน่าเป็นห่วงจึงน่าจะอยู่ที่เรื่องหนี้สินเป็นหลักว่าทำอย่างไรจะลดหนี้สินลงให้ได้ ซึ่งในเวลานี้ CPALL มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ถึงสองแสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการลดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของหนี้ลงไปส่วนหนึ่งด้วยการ Refinancing หนี้ใหม่ จากหนี้เป็นดอลล่าร์ กลายเป็นหุ้นกู้และหนี้ธนาคารในประเทศ และยืดอายุของหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาวขึ้นด้วย (อายุเฉลี่ย 6-7 ปี)

แต่ในเรื่องของขนาดหนี้นั้น CPALL คงต้องลดมันลงด้วยกระแสเงินสดจากธุรกิจเป็นหลัก ซึ่ง ณ เวลานี้ บริษัทมี Debt/EBITDA ราว 7 เท่า (เท่ากับใช้เวลา 7 ปี ในการทำกำไรมาใช้หนี้ให้หมด สมมติว่าไม่ได้ขยายสาขาหรือจ่ายเงินปันผลเลย) จึงนับว่ายังเป็นหนี้ที่สูงอยู่  ดังนั้น ถ้าบริษัทจะขยายตัวด้วยการซื้อกิจการเพิ่มอีก ก็จะดูเป็นความเสี่ยงมากกว่า บริษัทน่าจะต้องเน้นการโตด้วยการขยายสาขาต่อไป ซึ่งถ้าทำแบบนั้นไปเรื่อยๆ ก็น่าจะค่อยๆ มีกำไรดีขึ้นเรื่อยๆ ได้ จากการที่ภาระดอกเบี้ยค่อยๆ ลดลงทุกปีและรายได้มีการเติบโต เป็นลักษณะของการค่อยๆ ปรับปรุงงบไปเรื่อยๆ มากกว่า บริษัทไม่จำเป็นต้องลดหนี้ลงทั้งหมดก็ได้ แต่ควรลดหนี้ลงมาให้ D/E ดูเป็นปกติ ซึ่งก็ยังนับว่าต้องใช้เวลาอีกพอสมควรเหมือนกัน

MINT revisited

7thLTG ใกล้ครบปีอีกแล้ว (25 กย นี้) ได้เวลารีวิวหุ้นในพอร์ตว่าทำธุรกิจกันไปถึงไหนแล้ว

สำหรับ MINT บริษัทนี้เมื่อตอนเริ่มต้น พอร์ตเมื่อหลายปีที่แล้ว เราเลือกบริษัทนี้เพราะอะไร  ทุกวันนี้บริษัทก็ยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ MINT เป็นบริษัทที่มีสัญญากับผู้ถือหุ้นว่าจะต้องนำส่งการเติบโตของกำไรในระยะยาวที่อัตรา 15-20% ต่อปี ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด โดยอาศัยการขยายสาขาธุรกิจร้านเชนร้านอาหาร และโรงแรม เป็นกลยุทธ์เติบโตหลัก (ซึ่งเป็นวิธีเติบโตที่ทำได้ง่ายที่สุดแล้ว) ในเวลาเดียวกันก็ต้องรักษาหรือเพิ่มมาร์จิ้นทางธุรกิจด้วย โดยพึ่งพาการขยายตัวที่ใช้เม็ดเงินลงทุนน้อยลง (asset-light, รับจ้างบริหาร, สร้างแบรนด์ที่เป็นของตัวเอง) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อปี 2007 MINT มีร้านอาหาร 676 สาขา มีห้องพัก 3, 076 ห้อง ตอนนี้มีร้านอาหาร 1, 568 สาขา และมีห้องพักกว่า 12, 270 ห้องพักแล้ว ต้องถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา และต่อเนื่องยาวนาน เป็นตัวอย่างของหุ้น Long-term Growth

แน่นอนว่า ระหว่างทาง ผลประกอบการของหุ้นตัวนี้ มีความผันผวนสูงมาก เนื่องจาก อยู่ในธุรกิจที่อิงกับการท่องเที่ยว ซึ่งผู้บริโภคมีความอ่อนไหวสูง และเพราะบริษัทมีนโยบายขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ทำให้ช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ผลประกอบจะออกมาแย่เป็นพิเศษ เพราะบริษัทไม่ได้ชะลอการลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่ถ้าหากเป็นนักลงทุนที่รอได้ การที่บริษัทลงทุนแบบต่อเนื่องน่าจะนำมาซึ่งการเติบโตที่สูงกว่าในระยะยาว ดังนั้นใครที่ลงทุนหุ้นตัวนี้ ก็ต้องไม่คาดหวังผลงานเป็นรายไตรมาส และใครที่อยากลงทุนแบบตูมเดียวกับหุ้นตัวนี้ก็น่าจะรอซื้อตอนที่การท่องเที่ยวย่ำแย่มากกว่าช่วงที่ดีๆ นะครับ 

เวลาที่โตไปเรื่อยๆ บริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร ไม่ใช่ขยายไปเรื่อยๆ กำไรบางลงเรื่อยๆ แบบนั้นก็ไปไม่รอด ทุกวันนี้บริษัทที่จำนวนห้องพักที่ไม่ใช่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเองกว่าครึ่งแล้ว เทียบกับปี 2008 ที่ยังไม่มีเลย โมเดลบริหารใช้เงินลงทุนน้อยกว่าโมเดลเป็นเจ้าของเอง อีกทั้งบริษัทยังมีโรงแรมนอกประเทศไทยมากขึ้นเป็น 54% แล้วเทียบกับแค่ 6% เมื่อปี 2008 เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศไทย  ถือได้ว่า มีการจัดการความเสี่ยงและหาวิธีปรับปรุงมาร์จิ้นไปด้วย ไม่ใช่รายได้โตอย่างเดียว

สรุปแล้วยังเป็นหุ้นที่ชอบอยู่เหมือนเดิมครับ เคยชอบยังไงก็ชอบอย่างงั้น

Story Brief: AUTO

บ้านเราเป็นประเทศที่ส่งออกรถยนต์มาก และตลาดในประเทศก็ค่อนข้างใหญ่ และมีการเติบโตในส่วนของรถสี่ล้อ อย่างไรก็ตาม โรงงานประกอบรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างประเทศล้วนๆ รวมทั้งซัพพลายเออร์ทางตรง (tier 1) ของโรงงานรถยนต์ก็เป็นคู่ค้าที่มาจากต่างประเทศด้วย ดังนั้นหุ้นรถยนต์ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นซัพพลายเออร์ลำดับที่สองที่ขายชิ้นส่วนให้กับ tier 1 มากกว่า (tier 2, 3) ทำให้กำไรอาจจะไม่สูงนัก แต่เติบโตไปตามตลาดรถยนต์ได้

นอกจาก SAT และ STANLY ที่เคยกล่าวถึงไปแล้ว ขอกล่าวถึงหุ้นยานยนต์ตัวอื่นๆ แบบสั้นๆ

Continue reading “Story Brief: AUTO”

Story Brief: FASHION HOME PERS

หุ้นกลุ่ม CONSUMPTION (FASHION-HOME-PERS) กลุ่มนี้โดยรวมแล้ว ผมไม่แนะนำให้ลงทุนเลย เพราะส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หรืออาจถึงขั้นเป็นธุรกิจพระอาทิตย์ตกดิน (หมดยุค) อีกทั้งโอกาสจะกลับตัวก็มีน้อย เพราะมีสไตล์การบริหารงานแบบเก่า แค่รู้จักไว้เฉยๆ ว่าเขาทำอะไรก็พอ Continue reading “Story Brief: FASHION HOME PERS”

Story Brief: ETRON

ประเทศไทย เคยเป็นฐานการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) ที่สำคัญของโลกมาก่อน ถึงขนาดเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ (Re-export content สูง) แต่เนื่องจากตลาดนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ปัจจุบัน PCB เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัย ทำให้บริษัทในกลุ่มนี้ต้องดิ้นรนปรับตัวหาตลาดหรือสินค้าใหม่ๆ ในช่วงหนึ่งไทยกลายเป็นผู้ผลิตแผงวงจรฮารด์ดิสก์ แต่สุดท้ายฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มล้าสมัยอีก เพราะการเติบโตของตลาดแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนซึ่งใช้ Flash Storage มากกว่า โดยรวมหุ้นในกลุ่มนี้จึงมีอนาคตที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

CCET บริษัทสัญชาติไต้หวัน   Continue reading “Story Brief: ETRON”

Story Brief: AGRI & FOOD

 GFPT ธุรกิจคล้าย CPF อย่างมาก (FEED+FARM+FOOD) แต่เน้นที่ไก่เป็นหลัก มีการขยายกำลังการผลิตทุกปี แต่ค่อยเป็นค่อยไป

LEE ทำ FEED เป็นหลัก ธุรกิจทรงๆ ดูเหมือนผู้ถือหุ้นหลักจะโฟกัสการเติบโตที่ธุรกิจอื่นๆ ของตัวเองมากกว่า Continue reading “Story Brief: AGRI & FOOD”

Stock Commentary: หุ้นอื่นๆ (3)

หุ้นอื่นๆ ในชุดสุดท้ายนี้ จะเป็นหุ้นที่ผมตั้งขอสังเกตไว้ว่าเป็นหุ้น “แปลกๆ” บางตัวไม่รู้ว่าทำธุรกิจอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแน่ บางตัวขาดทุนเรื้อรังก็ยังไม่หายไปสักที หลายตัวมีธุรกรรมการเงินแปลกๆ อยู่เรื่อยๆ เช่น ออกวอแรนต์ซ้ำซาก เพิ่มทุนแบบ PP บ่อยๆ หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่เคยถูกทำแบ็คดอร์มาก่อน

บางคนมีความเชื่อว่าหุ้นพวกนี้ Continue reading “Stock Commentary: หุ้นอื่นๆ (3)”

Stock Commentary : TCAP

TCAP ในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ของธนาคารขนาดกลาง ที่พยายามเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการขยายขนาดของสินทรัพย์ เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด จะได้มีโครงสร้างต้นทุนที่แข่งขันกับธนาคารขนาดใหญ่ได้

TCAP หรือ ทุนธนชาตนั้น ถือหุ้น Continue reading “Stock Commentary : TCAP”

Sector Commentary : หุ้นดิจิตอลทีวี

นั่งนับดู หุ้นในตลาดหลักทรัพย์บ้านเรา ก็มีหุ้นที่เกี่ยวกับธุรกิจทีวีดิจิตอล เยอะมากเหมือนกัน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ระยะยาวยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่า ธุรกิจนี้จะทำเงินได้แค่ไหน เพราะ Continue reading “Sector Commentary : หุ้นดิจิตอลทีวี”